SEOSEO Case StudiesSEO for MarketingSocial Media Marketing

เจาะลึก Algorithm ของ Google ตอนที่ 1 (ปี 2000-2005)

ในแต่ละปี Google มีการปรับเปลี่ยนลำดับขั้นตอนวิธีการทำงาน หรือ Algorithm ในการค้นหาข้อมูลมากกว่า 500 ถึง 600 ครั้ง มาดูกันว่า Algorithm ไหนที่เปลี่ยนบ้าง
ผลการค้นค้นหาในแต่ละปี มีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปตาม ลำดับขั้นตอนการดึงข้อมูล จาก Algorithm ที่ถูกออกแบบมาตลอดเวลา การปรับแต้งเว็บไซต์ให้ติดหน้าการค้นหาหน้าแรกของ Google จึงกลายเป็นเทรนด์ที่จำเป็นที่นักการตลาดจะต้องคอยรับรู้ว่า Algorithm ของ Google ณ เวลานั้นๆ ได้ให้ความสำคัญกับส่วนไหนแล้วบ้าง

Google กับการเปลี่ยน Algorithm
Google กับการเปลี่ยน Algorithm

ปี 2000 เดือนธันวาคม
Google ได้ออก Feature ที่เรียกว่า Google Toolbar ขึ้นมาเพื่อเป็นการการันตีให้กับเหล่านักการตลาดให้รู้ว่าเทรนด์ของการทำ SEO นั้นเป้นสิ่งจำเป็นแล้ว ภายใต้มาตรฐานของ Google ที่ทาง Google ได้ให้ความสำคัญกับ Toolbar Pagerank (TBPR) เพื่อเป็นการบอกให้เหล่า Webmaster ได้ทราบว่าตอนนี้คุณภาพหน้า Page ของตัวเองอยุ่ใน Rank ที่เท่าไหร ซึ่ง Rank ดังกล่าวคือความน่าเชื่อถือของตัวเว็บไซต์ ถ้ามีความน่าเชื่อถือมากก็มีโอกาสติดอันดับแรกๆ ครับ
อ้างอิง: http://googlepress.blogspot.com/2000/12/google-launches-google-toolbar.html

ปี 2002 เดือนกันยายน
Algorithm ตัวแรกชื่อว่า “Boston” เป็นเครื่องเล่นให้กับเหล่า Webmaster ได้ลองสนุกกับการทำให้ Google เข้ามาเก็บ Index หน้าเว็บไซต์ให้ได้มากที่สุด โอกาสที่ติดก็จะสูงที่สุดโดยข้อมุลที่ถูกเก็บนั้นจะผ่าน SERPs ทันทีก่อนจะเปลี่ยนชื่อ Algorithm “Boston” ผ่าน Infographic ที่เรียกว่า Do The Google Dance แม้ว่าจะเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นกับเหล่านักพัฒนาเว็บ หรือ Webmaster ทั้งหลายได้ลองเอาจริงเอาจังกับ SEO กัน คล้ายกับเป้นสัญญาณบอกเตือนให้ Webmaster ทั่วโลกได้เตรียมตัวปั่น SEO กัน

infographic: Do The Google Dance
infographic: Do The Google Dance

ปี 2003 เดือนกุมภาพันธ์

Algorithm “Boston” ได้ เปลี่ยนเป็น Google Dance เต็มตัว โดย Algorithm นั้นจะทำการเก็บ Index ผ่าน Factor หลักๆ ดังนี้

  • Link Text
  • Navigational Structure
  • Page Title
  • Links from different sites

ซึ่ง Ranking ของ Index จะมีการปรับเปลี่ยนในทุกๆ เดือนเรียกว่าขั้นตอน “Refresh” เหมือนเป็นการล้าง High Score ของเกมก็ว่าได้ รายละเอียดที่ไม่ค่อยเคลียร์ตามที่เห็น ก็เลยได้พับโครงการนี้ไปแล้วเริ่มพัฒนาปรับ Algorithm กันใหม่

ปี 2003 เดือนเมษายน
Google ได้เปลี่ยน Algorithm จาก Google Dance เป็น “Cassandra” หรือ “Dance with Cassandra” โดยเน้นหนักในเรื่องของ Link-Quality ซึ่งก็ทำให้หลายคนในยุคนั้นหาวิธีสร้าง Co-Owned Domains หลายเว็บลิงค์กลับไปยังเว็บต้นทางของตัวเองให้เกิด Link Quality ตั้งแต่ Sub Folder และ Sub domain แต่สุดท้าย Cassandra ก็โดนโจมตีหนักในแง่ของการโกง SEO ด้วย Hidden Text และ Hidden Link ซ่อนตาม Page ต่างๆ
อ้างอิง: http://econsultancy.com/us/forums/other-topics/google-update-cassandra-is-here

ปี 2003 เดือนพฤษภาคม
Algorithm ตัวใหม่ที่ชื่อว่า Dominic ได้เปิดตัวออกมา พร้อมกับความไม่ชัดเจน โดยเฉพาะ Google Bots ที่ชื่อ “Freshbots” และ “Deepcrawler” ที่คอยวิ่งไล่หาข้อมุลตามเว็บ แต่การทำงานเอาเข้าจริงๆ กลับเป็นการรวบรวม Backlink แค่นั้นเอง
อ้างอิง: http://www.webmasterworld.com/forum3/13088-1-30.htm?highlight=dominic#msg160172

ปี 2003 เดือนมิถุนายน
Google ได้ออก Algorithm ใหม่ชื่อว่า Esmerelda ใช้ Process คล้ายๆ กับ Google Dance มีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
อ้างอิง: http://www.kuro5hin.org/story/2003/6/23/201523/090

ปี 2003 เดือนกรกฏาคม
Algorithm ชื่อว่า Fritz เน้นในเรื่องของการเก้บ Index ที่เปลี่ยนบ่อยตามความถี่ของเนื้อหา
อ้างอิง: http://www.mattcutts.com/blog/explaining-algorithm-updates-and-data-refreshes/

ปี 2003 เดือนกันยายน
Google ได้เปิดสงครามการสร้างพื้นที่เกี่ยวกับ Search Engine แข่งกับ Live และ Yahoo ที่หันมาเอาดีในการสร้างกฏเกณฑ์ให้เหล่า Webmaster Algorithm ตัวนี้คือ Supplemental หรือ Supplemental Index ที่มาของการใช้ Bord, Extract อย่าง Contextual ก็เริ่มที่ยุคนี้
อ้างอิง: http://searchenginewatch.com/article/2067049/Search-Engine-Size-Wars-Googles-Supplemental-Results

ปี 2003 เดือนพฤศจิกายน
Algorithm ที่ชื่อว่า Florida ปรากฏขึ้น เว้บไซต์ไหนที่มี Ranking ต่ำๆ จะไม่ถูกดึงมาปรากฏบนหน้า Result เป็นยุคที่โหดร้ายสำหรับ เจ้าของกิจการเริ่มต้น ที่ต้องขยันกันหา Ranking Score จากการฝาก Link ต่างๆ ที่มาของ Spam บน Comments นั้นก็มาจากยุคนี้เช่นกัน และก็ถือว่า Back Link เองก็น่าจะเกิดไอเดียหนักๆ จาก Algorithm ตัวนี้
อ้างอิง: http://searchenginewatch.com/article/2066309/What-Happened-To-My-Site-On-Google

ปี 2004 เดือนมกราคม
Algorithm ใหม่ชื่อว่า Austin ถูกออกแบบมาเพื่อทำการ Clean Up ส่วนบกพร่องต่างๆ จาก Florida โดยเน้นที่ On-Page โครงสร้างบนหน้าเว็บไซต์เป็นหลัก อย่าง Title Tag, Meta Tag Description, Keyword Description โดยใช้ Keyword มาช่วยในเรื่อง Page Relevancy ความชัดเจนของหน้าเว็บไซต์ให้ติดอันดับ
อ้างอิง: http://www.search-marketing.info/newsletter/articles/austin-florida.htm

ปี 2004 เดือนกุมภาพันธ์
Google ได้เปลี่ยนแปลงการเก็บ Index ของหน้า Page ใหม่ โดยเพิ่มส่วนของ Massive index expansion, Latent Semantic Indexing (LSI) เน้นเรื่องของการ อ้างถึง เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องหรือ Link ที่เป็น Neighborhoods และ Synonyms ของเว็บไซต์นั้นๆ หลังจากนั้นในเดือนสิงหาคม Google ก็ได้ประกาศเป็น Google IPO ส่วนแบ่งตลาดหุ้น 19 ล้านเหรียบญ
อ้างอิง: http://www.webpronews.com/googles-brandy-update-exposed-2004-02

เหตุการณ์การเปลี่ยน Algorithm ยังคงดำเนินต่อมา ซึ่งในปี 2005 การเปลี่ยนแปลงนั้นยังคงต่อเนื่อง ซึ่งที่เพิ่มขึ้นมานั้นคือ

Google_Algorithm_Changes-2012_preview
Google_Algorithm_Changes-2012_preview

ปี 2005 เดือนมกราคม

มีการเพิ่ม Nofollow Link มาใช้กับการให้คะแนนหน้า Page ของเว็บไซต์ พร้อมทั้งเปลี่ยน Algorithm ใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ชื่อว่า Allegra พร้อมทั้งเพิ่มเงื่อนไขของการติดหน้า Snadbox ของเว็บไซต์ใหม่ๆ ที่ไม่มี Ranking ในระยะ 5-6 เดือน เพื่อเป็นโอกาสใหม่ๆ ให้แก่เว็บไซต์ที่ Ranking ต่ำๆได้มีโอกาสที่จะติดผลลัพธ์อยู่บ้าง
อ้างอิง: http://searchenginewatch.com/article/2047678/Googles-Feb.-2005-Update

ปี 2005 เดือนพฤษภาคม
ทีมงานของ Google ที่เริ่มมีจำนวนมหาศาลได้ออกแบบ Algorithm ที่ชื่อว่า Bourbon ขึ้นมา เน้นในเรื่องของ Duplicate Content และ Non-www ของ URLs ขึ้นมาเป็นข้อกำหนดที่ไม่เหมาะสมกับการทำ SEO
อ้างอิง: http://battellemedia.com/archives/2005/06/google_update_bourbon
อ้างอิง: http://www.seroundtable.com/archives/002130.html

ปี 2005 เดือนมิถุนายน
ข้อกำหนดที่เพิ่มมาของ Google คือเส้นทางให้ Bot หรือ Spider ที่ทาง Google ออกแบบให้มัน วิ่งไปตามชั้นของข้อมูลได้รู้เส้นทางของเว็บไซต์ XML Sitemaps กลายเป็นหนึ่งวิธีการที่ช่วยเหลือไม่ให้ Bot วิ่งหายไปจากเว็บไซต์ของเรา (http://searchenginewatch.com/article/2061916/New-Google-Sitemaps-Web-Page-Feed-Program) ต่อเนื่องมาอีกไม่นาน Google เริ่มเพิ่ม Policy ในการ ค้นหาตัวบุคคลที่ปรากฏบนเนื้อหาของเว็บไซต์อย่าง Personalized Search (http://searchenginewatch.com/article/2061728/Google-Relaunches-Personal-Search-This-Time-It-Really-Is-Personal และ http://googleblog.blogspot.com/2005/06/search-gets-personal.html)
การปรับแต่งถูกพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงเดือนกันยายน ทาง Google ก็ได้ระบุชื่อของ Algorithm ตัวใหม่ขึ้นมาว่า Gilligan

ปี 2005 เดือนตุลาคม
Google มีการเพิ่ม Google Maps เพื่อรองรับการค้นหาผ่าน Local Business ในขั้นทดลองเริ่มต้น และมีการวางแผนว่าจะมีการอนุญาตให้เหล่า Webmaster ได้มีโอกาสทำ Local SEO (http://www.google.com/press/pressrel/local_merge.html) ไม่นานนักก็ได้ Algorithm ที่ชื่อว่า Jagger พร้อมกับประเด็นของ Low-Quality Links และ Links Farm ไปจนถึง Paid Links
อ้างอิง: http://www.webmasterworld.com/forum30/32004.htm

ปี 2005 เดือนธันวาคม
Big Daddy คือ Algorithm ใหม่ที่ทาง Google ออกแบบขึ้นมา เน้นเรื่องของ Redirects 301/302 เป็นหลัก
อ้างอิง: http://www.mattcutts.com/blog/indexing-timeline/

จนกระทั่งปี 2006 Big Daddy ก็ถูกยกเลิกไปในเดือนมิถุนายน
เป็นยังไงบ้างครับ ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง Algorithm ของ Google ตลอดครึ่งปีแรกที่เราเริ่มรู้จักกันมา ในตอนต่อไปจะพาไปเล่าถึงการเปลี่ยน Algorithm กันต่อตั้งแต่ปี 2006 ถึงปัจจุบันครับ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน