Future

เว็บตายแล้ว! คำถามที่ยังรอบทสรุป?

เกือบ 20 ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีทั้งหลายล้วนเข้ามามีบทบาทกับ ชีวิตประจำวันของผู้คนเกือบทั่วโลก สิ่งที่จะชี้ให้เราเห็นได้ชัดก็คงหนีไม่พ้นเทคโนโลยีในเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ท ซึ่งเดิมที หากพูดถึงระบบอินเตอร์เน็ท เมื่อก่อนก็คงจะเป็นเพียงการติดต่อสื่อสารกันผ่านระบบเครือข่าย จากการทหาร แล้วก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบมาใช้ในองค์กร และสุดท้ายก็ได้กลายเป็นระบบเครือข่าย ที่โยงใยไปทั่วโลก และ เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และไม่สามารถมี นวัฒนกรรมอื่นใด ที่จะมาล้มระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ทนี้ได้

 The Web is Dead. Love Live the Internet

โลกออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ทเป็นเสมือน ที่รองรับและทดแทนความต้องการในชีวิตจริงของคนหลากหลายชนชั้น ในสิ่งที่เป็นไม่ได้ ในสิ่งที่ไม่สามารถจะมีครอบครอง เป็นเสมือนใจกลาง สำหรับมนุษย์ทุกชนชั้นที่เป็นอิสระเสรี ในการนำเสนอและแสดงออก และ ยังพังกำแพงของการสื่อสารให้ คน ทุกคน สามารถสื่อสารดันได้โดยไร้ซึ่งขอบเขต อีกทั้งหลายสิ่งในอินเตอร์เน็ท มีทั้งฟรี ปราศจากการควบคุม และ ข้อผูกมัด จากส่วนกลางหรือ หน่วยควบคุมใด อินเตอร์เน็ทยังเปรียบเสมือนขุมทองสำหรับผู้ที่แสวงหาโชค ใช้โอกาสในการกอบโกยผลกำไรมากมายได้หลากหลายวิธี ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจการซื้อขาย การเปิดร้านค้าออนไลน์ แม้กระทั่งระบบแอพลิเคชั่นที่เคยมีราคาสูง หรือ ซื้อยกชุดและเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนรุ่นในแต่ละครั้ง ยังถูกยกไปไว้เป็นบริการผ่านเว็บ หรือ การประมวลผลบนกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) และ ในอนาคตอันใกล้ระบบปฏิบัติการ (Operation System) ทั้งหลายล้วนจะถูกจับไปอยู่บน Cloud Computing เช่นกันซึ่งข้อมูลจะถูกกระจายไปตามอินเตอร์เน็ท ก็คงจะมีอีกหลายสิ่งที่ล้วนอยู่บนอินเตอร์เน็ท โฆษณาหลากหลายรูปแบบในการนำเสนอผ่าน แบนเนอร์ที่ติดตามเว็บไซต์ ไม่เว้นแม้แต่เครื่องมือค้นหา และ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่เราใช้งานกันอยู่แทบทุกวัน ล้วนทำงานและถูกพัฒนาเพื่อรองรับระบบอินเตอร์เน็ททั้งสิ้น ทุกสิ่งที่ผู้ขียนอธิบายขึ้นมานั้นมีใจความที่ตั้งใจจะนำเสนอจริงๆ คือ การมีอินเตอร์เน็ท ไม่ว่าจะทุกระบบ หรือ ทุกสิ่งบนอินเตอร์เน็ทจะทำงานได้ ล้วนต้องทำงานผ่านโปรแกรมเล็กที่เรารู้จักในชื่อว่า “เว็บบราวเซอร์ (Web Browser)”

ไม่ว่าทุกวันนี้เราจะใช้เว็บบราวเซอร์ท่องอินเตอร์เน็ทกันอยู่ทุกวันก็ตาม แต่เวลาที่ผ่านไป ย่อมทำให้ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง แนวโน้ม 10 ปีให้หลังในโลกอินเตอร์เน็ท อินเตอร์เน็ทกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 2 ของการพัฒนา ไม่ว่าจะโดยกลุ่มคนที่ใช้งาน หรือ ตัวมันเองที่เปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้ที่ใช้มันนำเสนอ จากเดิมที่เราใช้อินเตอร์เน็ทในการสื่อสารกัน หรือ เปิดเว็บไซต์เพื่อค้นหาข้อมูลมากมายบนบราวเซอร์ที่ติดตั้งบน เครื่องคอมพิวเตอร์ Desktop หรือ Laptop เครื่องโปรดของคุณนั้น ทุกวันนี้ “เรา” หมายถึง ผม คุณ และ  คนส่วนใหญ่ เริ่มใช้อินเตอร์เน็ทในการสื่อสารผ่าน แอพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์ม Push (Push Platform) โดยใช้งานบนอุปกรณ์พกพา จำพวก สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต ที่ทุกวันนี้เป็นที่นิยม กันอย่างถ้วนหน้า และมีหลากหลายค่ายเริ่มพัฒนา ออกมาให้เป็นผู้ใช้ สามารถเลือกใช้กันได้ตามใจชอบ

 

 The Web is Dead. Love Live the Internet

การเปลี่ยนแปงครั้งนี้ มีผลกระทบมาจากหลายปัจจัยเนื่องมาจาก พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่หันมาใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น เพราะสะดวก ประกอบกับชีวิตที่เร่งรีบ และ ราคาที่ถูกลงของสมาร์ทโฟนในแต่ละรุ่นในตลาด พฤติกรรมการบริโภคข้อมูลผ่านฟีด Rss Feed หรือ บริการ Service ที่นำเนื้อหาจากแหล่งต่างจากเว็บ ถูกนำมาแสดงผ่านแอพลิเคชั่น และ ยอดของผู้ใช้ที่อ่านเนื้อหาผ่านแอพลิเคชั่นนั้นก็เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากตามยอดขายของสมาร์ทโฟน ในอีกไม่นาน เราอาจจะไม่เห็นการนำเสนอเว็บไซต์แบบเปิด ที่เรารู้จักกันดี อีกต่อไป เพราะเว็บไซต์เหล่านั้นก็คงจะอยู่นิ่ง แบบนั้นโดยขาดซึ่ง เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม มาช่วยขับเคลื่อน ประเด็นดังกล่าวได้ถูกยกมา ถกกันโดยบุคคลสองคน คือ คริส แอนเดอร์สัน และ ไมเคิล วูลฟ์ จากนิตยสาร Wired Magazine ฉบับเดือนกันยายน 2010 ในหัวข้อที่ โต้เถียงกันนั้นคือหัวข้อ

The Web is Dead. Long Live the Internet

แปลแล้วจะได้ใจความว่า “เว็บตายแล้ว แต่อินเตอร์เน็ทยังคงอยู่ต่อไป” ซึ่งเป็น Scope ที่ทั้งสองคนได้ร่วมกันเขียนและอภิปรายโต้แย้งเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะเป็นกุญแจชี้นำไปถึงอนาคต ของอินเตอร์เน็ท และ เว็บไซต์ โดยหากใครที่ได้อ่านแล้ว จะเห็นว่าภาพรวมที่ทั้งคู่สรุปให้นั้น ทั้งคุ่มีควมเห็นเดียวที่ตรง ว่า แอพลิเคชั่น บนสมาร์ทโฟนจะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นหารค้นหาผ่าน เครื่องมือค้นหาอย่าง Google, Yahoo, Bing และบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ชื่อดังอย่าง Facebook, Twitter และ Youtube ทุกสิ่งจะถูกเรียกดูผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ไม่ใช่บนเว็บไซต์ และ เว็บบราวเซอร์แน่นอน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เรากำลังเล่นอินเตอร์เน็ท แต่เราไม่ได้เข้าเว็บเลย

ทั้งหมดที่พูดไปสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของเรื่องนี้ไม่ได้เกิดจากปัจจัยในเรื่องของสมาร์ทโฟนเท่านั้น ผู้ใช้บริการเองที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนและมีจำนวนมากขึ้น เพราะในปัจจบัน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีแนวโน้มที่จะใช้งานแอพลิเคชั่นเป็นหลักและมีใช้อินเตอร์เน็ทเป็นแค่เส้นทางในการรองรับ ตัวอย่างเช่น Push Mail บนแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนอย่าง BlackBerry หรือ iPhone ผู้ใช้บัญชี อีเมล์นั้น ต้องการความสะดวกสบายในการเข้าเช็คอีเมล ในขณะที่ไม่ได้อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ นายทุนที่ให้บริการอินเตอร์เน็ทและแอพลิเคชั่น จึงเปิดบริการสำหรับการดึงอีเมล ซึ่งผู้ใช้ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเปิดบริการ ตามที่ผู้พัฒนาแอพลิเคชั่นนั้นกำหนดระดับราคา ซึ่งผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเหล่านั้นก็ยินยอมแต่โดยดี ไม่ใช่เพราะว่าไม่อยากออนไลน์ผ่านเว้บบราวเซอร์โดยตรง แต่เป็นเพราะการเชื่อมต่อผ่านแอพลิเคชั่นนั้นได้รับการพัฒนาหน้าจอการใช้ และฟังก์ชั่นมากมาย ให้ง่ายต่อการใช้งานเฉพาะทาง และ สะดวกรวดเร็ว ง่ายกว่าเสียเวลารอโหลดผ่านเว็บบราวเซอร์ และ สิ่งที่เห็นพูดมาทั้งหมดก็ยังถูกจริตผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนจำนวนมากทั่วโลก ซึ่ง คริส แอนเดอร์สัน ได้อ้างอิงผลการวิจัย จาก มอร์แกน สแตนลี่ย์ (Morgan Stanley) ซึ่งแนวโน้มของผลวิจัยชี้ว่า อีก 5 ปีข้างหน้าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ทผ่านทาง แอพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพาหรือสมาร์ทโฟนจะมีปริมาณมากกว่าผู้ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของอินเตอร์เน็ท ที่จะมีแนวโน้มจากเว็บระบบเปิด จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบปิด ที่ผูกขาดผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะ สิ่งเหล่านี้เป็นมาตรฐานหลักในวงจรระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Cycle of Capitalism) ถ้าพูดให้ชัดก็คือ เมื่อมีเทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมใหม่ ที่ได้พัฒนาขึ้นมาหรือถูกคิดค้นขึ้นมา  เทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังกล่าวจะได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในระยะหนึ่งในช่วงเริ่มต้น จนกว่าผู้คิดค้น นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยี นั้นจะเริ่มแสวงหาวิธีที่จะผูกขาดการเป็นเจ้าของบริการดังกล่าว เพื่อสร้างกำไร และ รายได้ จากบริการนั้น ซึ่งหากใครที่เป็นเจ้าของหรือผูกขาดกับเทคโนโลยีดังกล่าวได้แล้ว จะสามารถออกกฏเกณฑ์ในการจัดการ และ คุมมาตรฐานของบริการ ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เช่นกรณี บริการของ Apple อย่าง Apple App Store สามารถลบบริการ แอพลิเคชั่นที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ออกไป หากถามว่าดีไหม คงตอบว่าดี แต่ คงไม่ดีสำหรับผู้ใช้บริการแอพลิเคชั่น ดังกล่าว ซึ่งแน่นอนว่ามีหลายกลุ่ม หลายบริษัทแน่นอน สิทธิขาดในการ กำหนดกฏเกณฑ์ ของบริการ ที่พูดว่า จะเห็นได้ชัดจากตัวอย่างของ กรณีของ Apple นี้เอง

จริงอยู่ที่วิธีการของ การให้บริการเนื้อหาผ่าน บริการบนแอพลิเคชั่น หรือที่เราเห็นว่าเป็นระบบปิด นั้นจะดูเป็นการผูกขาด กับ ค่าบริการและ อุปกรณ์สมาร์ทโฟนของผู้ให้บริการมากเกินไป แต่หากได้พิจารณาดูแล้วจะมองเห็นแนวโน้มของเทรนด์ ของการอ่านเนื้อหาผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เป็นต้องยอมรับโดยดีว่า ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน นิยม ใช้งานระบบ, แอพลิเคชั่น บน แฟล็คฟอร์ม ที่เข้าใจง่าย มีคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือในเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของบริการ ซึ่งหากต้องแลกกับ ค่าใช้จ่ายเพียงน้อยนิดในการซื้อบริการมาใช้งาน ให้สะดวกสบาย ก็คงจะไม่ใช่เรื่อง เดือดร้อนอะไรมาก ในกลุ่มของผู้มีกำลังซื้อสมาร์ทโฟน และถ้ามองกลับกันระบบเว็บแบบเปิด หรือ เว็บไซต์ที่ให้ บริการข้อมูล แม้ว่าจะมีข้อดีในเรื่องของ เครื่องมือในการพัมนาเว็บ ที่ทั้งฟรี และ มีจำนวนมากมายบนอินเตอร์เน็ทแล้ว หากมีความซ้ำซ้อนของ จำนวนเนื้อหา และ ที่มากเกินความจำเป็นและปราศจากการทำให้เข้าถึงได้ง่ายจากเครื่องมือค้นหาแล้ว อาจจะเป็นผลเสีย เพราะผู้ที่อ่านเนื้อหาจากเว็บ จะเกิดความสับสนว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาจริงนั้นมาจากไหน และ สินค้าที่กระจายตามเว็บไซต์ขายของมากมาย ย่อม มีมากเกินจะถามหาราคาจริง จากผู้ให้บริการ ดังนั้น สู้ให้ผู้บริการสินค้านั้น สร้างแอพลิเคชั่น สำหรับเปรียบเทียบราคาหรือ แคตาล็อกสินค้า ผ่านแอพลิเคชั่นบน สมาร์ทโฟนให้เลือกดูกันจะง่ายซะกว่าและยังเชื่อถือในที่มาของราคาได้อีกด้วย

 The Web is Dead. Love Live the Internet

และหากพูดถึงผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ จากการผูกขาด เนื้อหาผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน หรือ ระบบปิด บนโลกอินเตอร์เน็ท ก็คงจะเป็นกลุ่มผู้สร้างสรรค์ เนื้อหา (Content) ที่หันไปให้บริการข่าวผ่าน บริการ ที่ส่งข้อมูลลงแอพลิเคชั่น ที่เริ่มไปผลักดันการสร้างเนื้อหาผ่านแอพลิเคชั่นมากขึ้น และกลุ่มนี้เองที่เป็นผู้ทำให้ ความนิยมในการอ่านเนื้อหาบนเว็บลดลง ไมเคิล วูล์ฟ ได้เสริมต่อว่า บรรดาสื่อทั้งหลาย บนโลกออนไลน์และออฟไลน์ต่างไม่พอใจ ที่สื่อออนไลน์อย่างเว็บ นั้นไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่บรรดาสื่อเพราะจำนวน เนื้อหา บล๊อค ที่ถูก รังสรร ขึ้นมากมายจากผู้สร้างเนื้อหาที่ปัจจุบัน จะเป็นใครจากองค์กรไหนก็ได้ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าไปค้นหาและรับข้อมูลได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ไมเคิล ยังกล่าวประชดไปถึงกรณี ของ Facebook ที่พยายามจะโค่น Google ยักษ์ใหญ่บนโลกออนไลน์ซึ่งให้บริการเว็บระบบเปิด และ ทิ้งประโยคประชดประชันอีกประโยคว่า

“เว็บไซต์ถูกพัฒนาโดยนักพัฒนาหรือวิศวกรคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่ผู้เขียนบทความ ดังนั้นไม่มีใครสนหรอกว่า โครงสร้างภาษา HTML ที่แสดงผลบนบราวเซอร์ มันทำงานยังไงและ ไม่แปลกใจเลยว่า HTML บนบราวเซอร์นั้นจะกายเป็นสื่อที่สามารถขายโฆษณาได้ แย่ ที่สุด”

โดยอ้างอิง มุมมองจากผู้ประสบปัญหา ในรายได้ของเว็บจากนักโฆษณาออนไลน์และปัญหาจากตัวเว็บเองฝั่งหนึ่ง โดยส่วนใหญ่เกิดมาจากพฤติกรรมผู้บริโภค โดยปัญหาของนักโฆษณาออนไลนืประสบกันเป็นเรื่องของการที่ไม่สามารถชักจูงให้ผู้บริโภคมาสนใจแบนเนอร์โฆษณาหน้าเว็บได้ สอดคล้องกับกรณีศึกษาของ comScore ที่ได้วิจัยเมื่อปี 2009 ว่ามีผู้ใช้งานเพียง 16% เท่านั้นที่จะมีความสนใจและคลิกแบนเนอร์โฆษณา ซึ่งแนวทางการแก้ไขที่จะเห็นผลได้ชัดที่สุดคือทำอย่างไรให้หน้าเว็บมีพื้นที่สำหรับการขายโฆษณาให้มากเท่าที่จะทำได้ ซึ่งปัจจุบัน นอกจากเว็บตลาด ที่มีแบนเนอร์ที่มากมายลายตา และ Adsense ของ Google เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง และ อาชีพนักการตลาดออนไลน์ถือว่าเป็นของใหม่ ยังมีความไม่แน่นอน บางหลักสูตรยังไม่มีเปิดสอนอย่างจริงจัง และ เหล่านักการตลาดออนไลน์ เอเจนซี่ เช่นในประเทศไทย นี้เอง เอเจนซี่ หรือ นักการตลาดออนไลน์ ยังเคย “เคยตัว” (ขอใช้คำนี้) เคยตัวกับสื่อในรูปแบบเดิม แน่นอนสิ่งที่ตามมาคือปัญหาเกี่ยวกับ มีเดีย แบนเนอร์ หรือ อื่นๆ หลายๆ สิ่งบนหน้าเว็บ นั้น “ย่ำอยู่กับที่” และแทบไม่มี “นวัตกรรมแนวคิดนอกกรอบใหม่ๆ” โผล่มาเลยจากหัวของเอเจนซี่เลย นอกจากอาศัย กระแส ของเทรนด์ต่างประเทศมาผลักดันเท่านั้น เช่น AR Technology (Augmented Reality) หรือ Social Media ในการทำ การตลาด เป็นต้น

นอกจากนั้น ผู้ใช้งาน หรือ ผู้ใช้บริการเองก็มีส่วนทำให้ มูลค่าของ คีย์เวิร์คของโฆษณาบนเว็บไซต์ ลดลง สังเกตุง่ายๆ เวลาที่คุณจะค้นหาข้อมูลใดๆ คุณจะไม่ค่อยเข้าไปเป็นแฟนขาประจำบนเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเท่าไหร แต่จะเข้าไปค้นหาผ่าน เครื่องมือค้นหาหรือ Search Engine ซะมากกว่า ซึ่งจากผลการวิเคราะห์แล้ว 60% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ท มีพฤติกรรมแบบนั้น ทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนบนเว็บสำหรับบรรดาสปอนเซอร์ต่างๆที่ให้การสนับสนุน

เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เว็บไซต์ นั้น แม้จะเป็นสื่อที่มีผู้เข้าใช้ มากมายแค่ไหน ในท้ายที่สุดก็ไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้สร้างสรรเนื้อหาบนเว็บนั้น ส่งผลให้บรรดาผู้ให้บริการที่หากินกับ เนื้อหาออนไลน์ ต่างๆจากเว็บเหล่านั้น เริ่มหารูปแบบธุรกิจใหม่ ที่จะต่อยอดทดแทน รอยต่อ ระหว่างผู้สร้างสรรเนื้อหา หรือ Web Content , นักการตลาด และ ผู้ใช้บริการ  ซึ่งนานมากว่า 20 ปี และคำตอบที่เห็นได้ชัดก็คือ แอพลิเคชั่น หรือ ระบบปิด บนสมาร์ทโฟนนั่นเอง

ผู้อ่านที่อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะสงสัยว่า การกระจายข้อมูลผ่านแอพลิเคชั่น หรือ ระบบแบบปิด จะสามารถสร้างผลกำไร มากกว่าเว็บ ระบบเปิดแบบเดิม ได้ยังไง?

มองไปที่ สตีฟ จ๊อบบ์ (iOS) และ มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ด (Facebook) เป็นตัวอย่างที่ยืนยันความสำเร็จของระบบแบบปิด ที่สามารถสร้างรายได้ ตามรูปแบบธุรกิจแบบ Walled Garden ซึ่งมองธุรกิจหรือแพล็ตฟอร์มดังกล่าวเป็นอย่างสวนดอกไม้ ผู้ที่ใช้บริการสวนดอกไม้ สามารถเข้ามาปลูกดอกไม้ อื่นๆและทำการค้าได้ผ่าน สวนแห่งนี้ หากเจ้าของสวนไม่พอใจก็สามารถถอนหุ้นหรือธุรกิจที่ไม่ต้องการออกไปได้ ตามหลักทุนนิยม ยิ่งในส่วนของ App Store และ Facebook นั้นให้บริการแก่ผู้เข้ามาใช้ ปรับแต่งสินค้า เกม หรือ อื่นๆ ปรับแต่งราคาให้เป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภค และขายบริการเหล่านั้น หรือ แอพลิเคชั่นเหล่านั้นผ่าน Facebook หรือ App Store นั่นเอง ซึ่งระบบปิดดังกล่าวมีรูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถใช้งานได้ง่าย เชื่อถือได้ และ ปลอดภัย ที่สำคัญแอพลิเคชั่นเหล่านี้เลือกใช้ได้สะดวกสบายผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ทำให้เป็นสัญญาณที่ดี ในจำนวนผู้ใช้บริการรูปแบบนี้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้กระแสของผู้ใช้งานแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน หรือระบบปิด จะมากขึ้น และ นายทุนหลายเจ้าหันมาลงขันพัฒนาแอพลิเคชั่นแทน พัมนาเนื้อหาบนเว็บแบบเดิม ทุกสิ่งที่ว่ามานี้จะเกิดผลกระทบต่อให้แก่เว็บไซต์ ต่างๆ หรือจะทำให้เว็บตายจริงหรือไม่นั้น?

คำตอบที่ผู้เขียนคิดไว้ คงต้องยืนยันว่า ยังไม่ใช่ตอนนี้ ยังมีฐานการใช้งานเว็บอยู่ผ่าน Facebook แม้จะมีบางส่วนเริ่มหันไปเล่นผ่านสมาร์ทโฟนบนแอพลิเคชั่นก็ตาม และ บริษัทต่างๆในปัจจุบันนี้ ยังใช้งานเว็บเป็นช่องทางในการให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ อีกทั้งการก้าวเข้ามาของเว็บเทคโนโลยีอย่าง HTML5 ที่อาจจะเป็นทางเลือกทางหนึ่งที่ผู้พัฒนาเว็บ ยังมีความหวังในการใช้งาน HTML5 ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการพัฒนาและแสดงผลได้พอกับ แอพลิเคชั่นบนแท็บเล็ต อย่าง iPad ชื่นชอบ ก็แค่ทำเว็บให้ใช้งานง่าย สะอาดตา มีระบบรองรับ ใกล้เคียงแอพลิเคชั่น เพียงเท่านี้ก็สามารถเปลี่ยนให้ผู้ใช้บริการหันมาใช้งานเว็บได้มากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยี อย่าง Augmented Reality (AR) ยังสามารถเติมเต็มประสบการร์ผ่านเว็บให้แก่ผู้เข้าชม ที่พอจะมีแรงดึงดูด เหล่าผู้ใช้งานเว็บยังคงอยู่คู่กับโลก อินเตอร์เน็ท และเนื้อหาผ่านเว็บไซต์นั้น ยัง ง่ายต่อการนำเนื้อหาขึ้นผ่านระบบ โดยไม่ต้องผ่าน คนกลาง หรือ แอพลิเคชั่น ตัวกลางใดๆ เลย

ปัจจุบันเราอาจจะเห็นว่า แนวโน้มการเติบโตของเว็บไซต์ หรือ ระบบ เปิดดั้งเดิมนั้นคงไม่ได้ หวือหวาเท่าเมื่อ 10 ปีก่อน แต่สำหรับประเทศไทย นั้นคงจะใช้เวลาอีกนานกว่าที่เว็บจะตายไปจริง เพราะแนวโน้มผู้ใช้สมาร์ทโฟน ยังน้อยมากกว่าผู้ใช้งานเว็บบราวเซอร์ บนอินเตอร์เน็ท อาจจะเป็นเพราะ ความไม่แน่นอนและ ยืดหยุ่นได้ตลอดเวลาของผู้ให้บริการเครือข่าย อีกทั้งราคาของแท็บเล็ตและ สมาร์ทโฟน ยังสูงหากเทียบสัดส่วนกับค่าครองชีพของคนไทย เว็บไซต์ยังเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ทที่บ้านเพราะ บริการ ADSL ของประเทศไทยยังมีราคาที่ถูกกว่า หากเทียบกับบริการ เครือข่ายไร้สายบนสมาร์ทโฟนทำให้ กลุ่มผู้อ่านเนื้อหาขากเว็บยังคงอยู่ มากมายในประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ อนาคตของมาตรฐานเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือยุคที่สามได้ถูกเปิดใช้งานอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และ ราคาที่ถูกลงของสมาร์ทโฟน วันนั้นเราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในไม่ช้า และ เราอาจจะได้คำตอบว่า เว็บตายแล้ว จริงเหรอ?


ข้อมูลอ้างอิง และ ขอขอบคุณ ผู้เรียบเรียง : Wired Magazine

http://www.wired.com/magazine/2010/08/ff_webrip/all/1
http://www.wired.com/magazine/2010/08/ff_webrip_debate/
falcon_mach_v สรนาถ รัตนโรจน์มงคล
น้องเอ้ Patcharanun 
http://www.facebook.com/patcharanun.in

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน