ชุดข้อมูลแบบ tuple() เป็นชุดข้อมูลที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับ list() สามารถเก็บข้อมูลภายในหลายจำนวนในตัวแปรชุดเดียวกัน โดยมีอ้างถึงข้อมูลผ่านการเรียก Index ของชุดข้อมูลภายใน
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร แบบ tuple()
รูปแบบการ ใช้งาน tuple()
avengerTeam =("iron man", "captain america","hulk","black widow") print (avengerTeam, end="")
ทำการ Run กด F5 ดู
ตัวอย่างการเรียก Print ค่าใน tuple()
หากว่าเราต้องการเรียกใช้ข้อมูลภายในให้ปรากฏขึ้นมาแค่ตัวเดียวก็ให้ระบุค่า index ลงไปใน [n] ตั้งแต่จำนวน 0,1,2..n เป็นต้น
avengerTeam =("iron man", "captain america","hulk","black widow") print ("ตัวละครตัวที่ 3 ของทีมคือ:", avengerTeam[2])
ตัวอย่างเมื่อ run คำสั่งภาษา Python
ความแตกต่างระหว่าง tuple() และ list()
tuple() จะเป็นชุดข้อมูลที่เก็บตัวแปรภายในที่เป็นค่าคงที่ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง และเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถเพิ่มหรือลบได้หลังจากเพิ่มเข้าไป เพื่อช่วยในการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่า การใช้ tuple() จะต้องรู้ตำแหน่ง index ที่แน่นอนก่อนการประกาศ
ข้อดีของภาษา Python คือหากต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของตัวแปรแบบ tuple() ไปเป็น list() สามารถใช้คำสั่งแปลงค่าได้ดังนี้
ตัวอย่างในการแปลง tuple() เป็น list() เพื่อจะได้แก้ไข และเพิ่มเติมข้อมูล สำหรับเปลี่ยนแปลงได้คือคำสั่ง
avengerTeam =("iron man", "captain america","hulk","black widow") avengerList = list(avengerTeam) print (avengerList,end="")
ทำการ run โปรแกรมของเรา
ตัวอย่างการแปลงข้อมูลจาก tuple() เป็น list()
ซึ่งเมื่อข้อมูลเป็น list() แล้วเราสามารถใชคำสั่ง list.append() เพิ่มข้อมูลเข้าไปในชุดข้อมูลได้ ดังตัวอย่างเพิ่ม “thor” เข้าไป
avengerTeam =("iron man", "captain america","hulk","black widow") avengerList = list(avengerTeam) avengerList.append("thor") print ("Avenger Member:", avengerList)
ลองรันคำสั่งดูสักหน่อย
ตัวอย่างการ run ข้อมูลของ list() ที่แปลงจาก tuple() และมีการเพิ่มสมาชิกข้อมูลเข้ามา