Product Innovations

เจาะประเด็นโลกอินเทอร์เน็ต กฏหมาย SOPA / PIPA

คงเป็นประเด็นร้อนที่หลายสื่อบนโลกอินเทอร์เน็ตต้องออกโรงกันแบบจริงจังในเรื่องของกฏหมาย SOPA / PIPA หรือ Stop Online Piracy Act และ Protect Intellectual Property Act หรือให้แปลตามตรงก็คือกฏหมายป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ และกฏหมายการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา ที่ทางสหรัฐฯ อเมริกากำลังเริ่มจะ Kick Off เปิดให้ใช้กฏหมายทั้ง2 ตัวนี้แล้ว ซึ่งในวันที่ 18 มกราคม 2012 เว็บไซต์ Wikipedia ได้ประเดิมการประท้วงกฏหมายไม่เห็นด้วยกับ SOPA / PIPAผ่านการออกมาประกาศงดให้บริการของเว็บไซต์ Wikipedia นาน 24 ชั่วโมง ซึ่งในภายหลังก็ได้มีเว็บไซต์ Google, Microsoft และเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตมากกว่า 7,000 เว็บไซต์ได้ทำการประกาศข้อความ ถึงการไม่เห็นด้วยกับกฏหมาย SOPA / PIPA ครั้งใหญ่ที่สุดจนน่าจะจดจำเป็นประวัติศาสตร์โลกก็เป็นได้ แล้วทำไมพวกเขาถึงต้องประท้วง?

การประท้วงกฏหมาย SOPA / PIPA ของ Google

 

ทำไมต้องประท้วง?

ทำไมหลายเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Wikipedia, Google, Microsoft และอีกหลายเว็บไซต์ ถึงได้ทำการประท้วงกฏหมาย SOPA / PIPA นั่นก็เพราะว่าเนื้อหาภายในร่างกฏหมายที่สหรัฐฯได้ร่างไว้นั้น มีเจตจำนงค์ที่จะจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจะทำการตัดสิทธิ์หรือปราบปรามเว็บไซต์ที่มีการเผยแพร่เนื้อหา หรือ คอนเท็นต์ ที่ถูกนำไปใช้บนเว็บไซต์ที่อยู่นอกเหนืออำนาจของการบังคับคดีของสหรัฐฯ อเมริกา หรือการเผยแพร่คอนเท็นต์ที่ผิดลิขสิทธิ์นั่นเอง ประเด็นดังกล่าวแต่แรกกลุ่มที่ไม่ยอมรับนั้นคือ Google ที่มีอาการไม่เห็นด้วยกับกฏหมาย SOPA / PIPA มาตั้งแต่แรก ซึ่งในภายหลังก็ได้คาดแถบข้อความสีดำ ประท้วงไม่เห็นด้วยกับ SOPA / PIPA แต่กลายเป็นว่า Wikipedia เปิดประเด็นที่เห็นก่อนรายอื่น โดยตามมาติดๆ คือเว็บไซต์อื่นๆ มากมาย ทั้ง Microsoft, WordPress ก็เช่นกัน

Wikipedia กับการประท้วงงดให้บริการ 24 ชม.

สิ่งที่ทาง Google และ Wikipedia ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรกนั้น คือการปราบปรามเว็บไซต์ที่เผยแพร่ เนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เด็ดขาดเกินไปเพราะว่าในกฏหมายของ SOPA / PIPA นั้นภายในร่างกฏหมายมีบทลงโทษเกี่ยวกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เนื้อหาของสหรัฐฯ จะถูกระงับการเข้าถึงหรือบล็อคหน้าเว็บไซต์ ให้เข้าดูไม่ได้ ซ้ำยังมีการเซ็นเซอร์ (Censor) เว็บไซต์ห้ามให้เผยแพร่บนโลกอินเทอร์เน็ตอีก

ในเมื่อไม่สามารถเข้าไปดูหน้าเว็บไซต์ได้ อีกทั้งยังโดนเซ็นเซอร์ ผลกระทบทุกอย่างก็จะมีผลต่อการค้นหาจากเครื่องมือค้นหา และการโฆษณา Advertising Service ในบริการต่างๆ อย่าง Affiliate Program ของ Amazon หรือ Adwords, Adsense ของ Google ด้วย เป็นที่มาของคำว่าไม่ชัดเจน ไม่มีความเป็นธรรม อีกทั้งเว็บไซต์ทั้งหลายให้ความเห็นตรงกันว่า กฏหมาย SOPA / PIPA นี้เป็นการปิดกั้นความคิดเห็นที่เสรี และการต่อยอดความคิด นวัตกรรมใหม่ๆ บนโลกออนไลน์ เว็บทั้งหมดจึงพร้อมใจดับไฟ หรือ Blackout บางส่วนให้เกิดความดำมืด แทนสัญลักษณ์ของความไม่โปร่งใส และไม่เป็นธรรมพอ

เว็บไซต์หลายๆ เว็บมีการทำ BlackOut หน้าเว็บสีดำประท้วง

ช่องโหว่ และเครื่องมือ

เป็นไปได้ว่า ประเด็นหนึ่งที่หลายเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ไม่เห็นด้วยกับกฏหมาย SOPA / PIPA นั้นอาจจะเกิดจากการมองเห็นช่องโหว่ที่กฏหมายตัวนี้จะกลายเป็นเครื่องมือ ของเว็บไซต์ที่มีธุรกิจเป็นเชิงคู่แข่งกัน ซึ่งถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพลี่ยงพล้ำก็เป็นอัน สูญเสียธุรกิจได้อย่างง่ายดาย Google กับการ Take Action เกี่ยวกับกฏหมาย SOPA / PIPA จนกระทั่งล่าสุด Google เว็บไซต์ยักษ์ใหญ่บนโลกอินเทอร์เน็ต ที่ไม่เห็นด้วยอยู่แล้วตามที่กล่าวมาก็ได้สร้างช่องทางที่สามารถเป็นกระบอกเสียง แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในสหรัฐฯ อเมริกา ให้มีส่วนร่วมส่งคำร้องให้ยุติการร่างกฏหมาย SOPA / PIPA ผ่านหน้าเว็บไซต์แล้ว ที่เว็บไซต์ https://www.google.com/landing/takeaction/

ประเด็นการประท้วงกฏหมาย SOPA / PIPA กับเหตุผลในหลายแง่มุมที่กล่าวมา ดูแล้วสะท้อนปัญหาอะไรซักอย่างของประเทศไทยเหมือนกันนะครับ ดราม่ากับ สหรัฐฯ เรื่องกฎหมายๆ เหมือนกันเลย แต่ถ้าเป็นเมืองนอกเค้าก็คงแค่ต้องใส่หน้า Occupy หรือประท้วงดับไฟแค่นี้แหละครับ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน