Applications and Tools

อนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

คงต้องหยิบยกประเด็นที่นิตยสาร Wired Magazine เคยสร้างจุดเปลี่ยนความคิดในแวดวงผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ท ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ผู้ใช้งานเว็บบราวเซอร์ในการท่องเว็บไซต์บนโลกอินเตอร์เน็ทลดลงอย่างเห็นได้ชัดใน 5 ปีที่ผ่านมา¹ พฤติกรรมนำพาเหล่านี้ผู้เขียนขอแทน คำว่า “ผู้บริโภค” เป็น “ผู้เสพสื่อ” ซึ่งประเด็นที่เห็นได้ชัดคือ ผู้เสพสื่อ เหล่านี้ ได้ใช้เวลาในการเข้าอินเตอร์เน็ทสำหรับหาข้อมูล หรือ รับข่าวสาร ผ่านหน้าเว็บไซต์น้อยลง ในขณะที่การชม วีดีโอ ออนไลน์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ที่สำคัญ การชมวีดีโอ ฟังเพลง หรือแม้กระทั่งการรับข่าวสาร ผู้เสพสื่อเหล่านี้ ไม่ได้ทำกิจกรรมที่พูดมาข้างบนผ่าน เว็บบราวเซอร์โดยตรงเลย ส่วนใหญ่มักจะอ่านข่าวสารผ่าน แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน iPhone, BlackBerry , Android Platform หรือแท็บเล็ต เช่น  iPad, Samsung Galaxy Tab เป็นต้น จะมีก็เพียงส่วนน้อยที่เปิดผ่านหน้าเว็บบราวเซอร์ แต่ก็ไม่ได้เข้าไปชมหรือ อ่านเนื้อหาผ่านการเข้าที่อยู่ของเว็บไซต์โดยตรง ส่วนใหญ่การเข้าถึงเนื้อหา จะมาจากการอ้างถึงหรือการกดผ่านลิงค์ ที่ถูกแบ่งปัน และ ถูกแนะนำ ไว้โดยคนรู้จักผ่าน เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

อนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

 

ในทีนี้ผู้เขียนขออนุญาต ขยายความคำว่า “แอพพลิเคชั่น” ก่อนเพราะบางคนเข้าใจว่า เว็บบราวเซอร์ก็คือแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาไว้ท่องอินเตอร์เน็ท ซึ่งต้องขอทำความเข้าใจตรงกัน ดังที่ปรากฏในบทความ แอพพลิเคชั่น ในที่นี้ผู้เขียน หมายถึง โปรแกรม หรือ ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้แสดงผลเนื้อหา ข้อความ สื่อ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ผู้พัฒนา ตั้งใจพัฒนาขึ้น ให้ทำงานได้บนสมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต ไม่ว่าจะเป็นประเภทที่เรียกเก็บค่าบริการ หรือไม่เรียกเก็บค่าบริการ

63.33% จากที่ผู้เขียนได้ทดลองวิเคราะห์ออกมาจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ สมาร์ทโฟน ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน และ เป็นกลุ่มคนที่นั่งทำงานในบริษัทที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ ที่ต้องออนไลน์เข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ทตลอดเวลา มักจะทราบข่าวสารใหม่ และ รวดเร็ว ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook และ Twitter โดยอาศัยการอ่านข้อความบน TimeLine และการ Retweet ผ่าน Twitter ของเพื่อน คนรู้จัก หรือ คนดัง ที่ติดตามหรือ Followอยู่ ไปจนถึง การเข้าชมวีดีโอ หรือ ข่าวสาร ที่น่าสนใจผ่าน Wall บน Facebook ของเพื่อนที่มีอยู่ แนวโน้มที่วิเคราะห์ออกมาจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ทำให้ทราบถึงตัวเลข Traffic ของการเข้าเว็บไซต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเข้าถึงข้อมูลผ่านหน้าเว็บไซต์โดยตรง หรือ Direct Traffic นั้นมีการลดลง เมื่อเทียบกับ Referral Traffic ที่นับวันจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเหตุก็เพราะ พฤติกรรมการเสพสื่อผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ทำได้ง่ายและปัจจุบัน สามารถเข้าถึงสื่อได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านแอพพลิเคชั่นบน สมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต

ปัญหาการใช้งาน เว็บบราวเซอร์ ที่มีแนวโน้มน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และมีการคาดการณ์ว่าจะถูกลดความสำคัญลง ประกอบกับ เว็บไซต์ในปัจจุบันไม่สามารถสร้างรายได้มีจำนวนมากขึ้น เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดจากการเติบโตในท้องตลาดของ สมาร์ทโฟน ที่รองรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ หาให้มองในมุมมองของนักการตลาดออนไลน์ ปัญหาหลักที่ต้องแก้ไขให้ได้ก็คือทำยังไง จะทำให้เหล่าผู้เสพสื่อทั้งหลายกลับมาเข้าเว็บไซต์ หรือ เปลี่ยนแผนธุรกิจไปทำการตลาดผ่านสื่ออื่น เช่นป้ายโฆษณา หรือ โฆษณาตัวอักษร บนหน้าจอแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบนสมาร์ทโฟน ดีกว่า แต่หากให้มองในมุมมองของ ผู้พัฒนาเว็บ นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น และ อาชีพวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปัญหาที่น่าหนักใจที่สุด ก็คงจะเป็น การทำยังจะดึงคนให้กลับมาใช้งานเว็บบราวเซอร์ เพื่อท่องเว็บไซต์ ให้เหมือนเดิม ซึ่งถ้าให้มองในมุมมองของปัญหาตรงนี้ จะพบคำตอบที่ชัดเจนทันทีว่า ถ้าเปลี่ยนการใช้งานเว็บบราวเซอร์ ให้เกิดประสบการณ์ใหม่ให้แก่การท่องอินเตอร์เน็ท ก็คงจะสามารถเพิ่มแนวโน้มที่จะทำให้ผู้เสพสื่อทั้งหลายกลับเข้ามาอ่านเนื้อหาผ่านเว็บไซต์ได้เหมือนเดิม ซึ่งทางกลุ่มนักพัฒนาต่างหา วิธีการ และ แนวคิดมากมาย ที่จะทำให้เว็บบราวเซอร์ทีตนพัฒนา เป็น เอกภาพ ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประสบการณ์ที่น่าประทับใจของผู้ใช้งานเว็บบราวเซอร์ทั้ง ใหม่ และ เก่า

ในครั้งแรกค่ายเว็บบราวเซอร์ยอดนิยม มาตรฐานแบบเปิดอย่าง Mozilla Firefox ได้มีกลุ่มนักพัฒนาโปรแกรม ที่สร้าง ส่วนเสริม ของเว็บบราวเซอร์ หรือที่เรารู้จักกันว่า Add-on โดยใช้ชื่อว่า Yoono โดยเน้นให้เว็บบราวเซอร์อย่าง Firefox สามารถ ใช้งานบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่าง Facebook และ Twitter ได้ผ่านหน้าจอเว็บบราวเซอร์มาตรฐานของตัว Firefox แต่หารู้ไม่ว่า สิ่งหนึ่งที่ Firefox ลืมคิดไปก็คือ ผู้ใช้งานระดับ User โดยเฉพาะ Non-Technology นั้นไม่ต้องการขั้นตอนในการปรับแต่ง หรือ วิธีการติดตั้งส่วนเสริมใด ที่ดูซับซ้อน ไม่ว่าจะซับซ้อนมากน้อยเพียงใด ผู้ใช้เหล่านี้ไม่ต้องการปฏิบัติตามซักนิด แม้ว่าในมุมมองของนักพัฒนา ที่นิยมใช้  Add-on ของ Firefox นั้นจะมองว่าการติดตั้งส่วนเสริมติดตั้งง่ายพอกับการฉีกถุงมันฝรั่งทอดกรอบ

อนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

ระหว่างที่แต่ละกลุ่มต่างพัฒนา เว็บบราวเซอร์มาตรฐาน ของตน ทั้ง การปรับแต่งรุ่นของ Internet Explorer การบอกลาโลกของ Netscape Navigation และ เว็บบราวเซอร์หน้าใหม่ไม่ว่าจะเป็น Firefox, Opera, CometBird (ใช้ Engine เดียวกับ Firefox), Maxthon (ใช้ Engine เดียวกับ Internet Explorer), Safari อื่นๆ ดูจะมีเพียง Google Chrome เพียงตัวเดียวที่ดูจะมีเอกลักษณ์มากที่สุดในเวลานั้น ที่ภายหลัง Engine การพัฒนาของ Google Chrome ต่างถูกยกมาเป็น ฐานหลักในการพัฒนาเว็บบราวเซอร์ในยุคหลัง แม้กระทั่ง Internet Explorer 9 เองผู้เขียนก็คงต้องแอบยอมรับว่ามีส่วนติดต่อผู้ใช้งานคล้าย Google Chrome หลายจุด

อนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

อนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

การพัฒนาเว็บบราวเซอร์ ปรับแต่งเปลี่ยนรุ่น ทั้งสำเร็จ และ ล้มเหลวบ้าง จนมาถึงจุดหนึ่งที่ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นักพัฒนา และ นักวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้ กับ ส่วนติดต่อระบบการใช้งานหรือ GUI (Graphic User Interface) ได้มองเห็นสิ่งหนึ่งที่ตรงกัน นั่นคือ ผู้ใช้งานเว็บบราวเซอร์ หรือ ผู้เสพสื่อ มองเว็บบราวเซอร์ ที่เมื่อก่อนเป็นเครื่องมือสำหรับท่องอินเตอร์เน็ท ในปัจจุบันไม่ใช่พวกเขาเหล่านั้นมองว่าเว็บบราวเซอร์เป็นแค่เครื่องมือในการแสดงผล ข้อมูล หรือ สารสนเทศ จากแหล่งโดยตรงที่แอพพลิเคชั่น บน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือ หน้าจอเว็บไซต์ เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter ไม่สามารถแสดงผลได้ ทำให้เห็นว่าประการแรกผู้ใช้งานเว็บบราวเซอร์ไม่ชอบอะไรที่ต้องเสียเวลาโหลด ด้วยความสามารถในเรื่องของ แท็บหน้าต่างที่เว็บบราวเซอร์ในปัจจุบันมี ผู้ใช้ที่ต้องการดูเนื้อหา ไม่ต้องการเสียเวลานั่งรอ ขั้นตอนการโหลดหน้าเว็บไซต์  เพียงแค่คลิกปุ่มขวามือจากเมาส์ ที่ลิงค์ของเนื้อหาที่ถูกอ้างอิง แนะนำ หรือ คลิปวีดีโอ ที่ได้รับการแบ่งปันจากเพื่อน แล้วเลือกแสดงผลที่แท็บใหม่ ระหว่างที่หน้าแท็บใหม่กำลังแสดงผลให้รอ อยู่นั้นผู้ใช้ก็ยังรู้สึกไม่เสียเวลาในการรอเพราะยังสามารถ อ่านข้อความ และ แหล่งข้อมูลของเพื่อน หรือ คนรู้จักบนเครือข่ายต่อไปได้ จุดนี้บอกให้ทราบถึงแนวโน้ม ความนิยมในการติดต่อสื่อสารในยุค Web 3.0 ที่ผู้เสพสื่อ นิยมสื่อสารกันผ่านช่องทางการสื่อสารที่เรียกว่า Text Based นั่นคือ เราจะจำเป็นต้องเข้าอินเตอร์เน็ท ผ่านเว็บบราวเซอร์ก็ต่อเมื่อ มีคนที่เรารู้จัก เพื่อนของเรา ได้แนะนำเนื้อหาผ่าน Facebook wall และ ข้อความ Retweet ของคนที่ติดตามเท่านั้นเอง

เมื่อทุกข้อสรุปที่นักวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ นักพัฒนาโปรแกรม ได้พบที่เห็นมา ถึงการเสพสื่อ ที่ต้องมีคนป้อน ไม่ต้องการขั้นตอนที่ซับซ้อน และ ความสามารถของเว็บบราวเซอร์ นั้นมีข้อจำกัด หรือถ้าจะมีวิธีการปรับแต่ง ให้ทำได้ผู้เสพสื่อเหล่านั้นก็ไม่พอใจ หรือ ไม่สะดวกที่จะทำ แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต ในมือเท่านั้นที่ดูจะเป็นทางเลือกที่สะดวกสบาย และ พึงพอใจหรือ “ถูกจริต” กับกลุ่มผู้เสพสื่อ กลุ่มนักพัฒนาจึงตกลงหาหนทางแก้ปัญหากันและได้ข้อสรุปที่ว่า

ถ้าแอพพลิเคชั่นมันดีกว่าเว็บบราวเซอร์นัก เราก็เปลี่ยนเว็บบราวเซอร์ให้เป็นแอพพลิเคชั่นไปเลยแล้วกัน!

นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา เว็บบราวเซอร์ลูกผสม ที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงกลาง-ปลายปี 2010 ได้มีการพัฒนาเว็บบราวเซอร์ที่ชื่อว่า Flock ขึ้นมาบน แนวคิดนี้ ซึ่งเป็นคำถามที่ว่าทำไม Flock ถึงกล้าเรียกตัวเองว่าเป็น Social Web Browser ซึ่งก็ได้คำตอบจากกลุ่มนักพัฒนาว่า Flock ยึดถือสโลแกนทีว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ทุกที่ และ เครือข่ายสารบัญเนื้อหา (Social Bookmark) ทุกตัว รวมอยู่ที่เรา” ด้วยเอกลักษณ์พิเศษที่ เว็บบราวเซอร์ Flock ได้ทำการแยกส่วนหน้าจอที่เรียกว่า Side Bar เพิ่มขึ้นมา ส่วนดังกล่าวมีความสามารถเชื่อมต่อกับ API (Application Programming Interface) ของ YouTube, Facebook, Twitter, Flickr และ Digg ให้สามารถแสดงผลในหน้าจอการใช้งานหลักของ Flock อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งตั้งค่าการเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ ตัวอื่นได้ด้วยตนเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของผู้เสพสื่อหลายคน ด้วยความสามารถที่จะเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการโดยแทบจะไม่ต้องเปิดหน้าเว็บไซต์ เพื่อเสียเวลารอโหลดข้อมูลให้เสียเวลา ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนทางเลือกของนักท่องเน็ท และ กลุ่มผู้เสพ สื่อไม่ต้องเสียเวลาหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมา หรือ หลบหัวหน้างานในเวลาที่ต้องการเล่น Twitter อีกต่อไปเมื่อทุกสิ่งสามารถแสดงผลให้เห็นได้ในหน้าจอเดียวของ แม้ว่าจะจุดเปลี่ยนดังกล่าวจะเป็นไปในทิศทางที่ดีกับการปรากฏตัวของเว็บบราวเซอร์ Flock แต่ถ้าให้มองในมุมของผู้ใช้ในประเทศไทย แล้วถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายระดับหนึ่งของ Flock ที่ขาดการประชาสัมพันธ์ในเรื่องคุณสมบัติได้เท่าที่ควร ทำให้มีเพียงผู้ใช้งานเว็บบราวเซอร์ Flock เพียงบางกลุ่มในประเทศไทยเท่านั้นที่จะได้ทดลองใช้งาน และ สัมผัสประสบการณ์ใหม่กับ Social Web Browser ตัวนี้กัน

Flock browser

Flock browser

แนวคิด All-in-one ที่น่าสนใจของการจำรวม เครือข่ายสังคมออนไลน์ มา รวมเข้ากับเว็บบราวเซอร์ ให้การแสดงผลหน้าจอเว็บบราวเซอร์ดูเรียบง่าย รูปลักษณ์ที่เหมือนบราวเซอร์แบบดั้งเดิม และ ครบถ้วนในฟังก์ชั่นการทำงานสำหรับติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายออนไลน์ที่ง่ายในเข้าถึงเนื้อหาเหมือนคุณสมบัติของแอพพลิเคชั่น RockMelt เป็นอีกผลผลิตที่เกิดขึ้นในแนวคิดของการเป็น Social Web Browser เหมือนกับ Flock โดยการเปิดตัวของ RockMelt ใช้การประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบ Viral Marketing หรือการตลาดโดยการบอกต่อ ทำให้หลายคนที่ต้องการใช้งาน หรือ สงสัยในความพิเศษของบราวเซอร์ ตัวนี้ถึงขั้นที่ต้องบอกต่อกันไป ถ้าหากต้องให้ผู้เขียนต้องพูดถึงเรื่องการใช้งานเว็บบราวเซอร์ RockMelt แทบจะบอกได้ว่า ใครที่ได้สัมผัสบราวเซอร์ Flock มาบ้างแล้วคงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เว็บบราวเซอร์น้องใหม่อย่าง RockMelt นั้นแทบไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากการรวมเอาเครือข่ายสังคมออนไลน์มาผนวกเข้ากับเว็บบราวเซอร์ เหมือน Flock ที่สำคัญ RockMelt เหมาะจะเป็นเว็บบราวเซอร์ พิเศษที่ขึ้นตรงกับ Facebook เพียงเครือข่ายเดียวซะมากกว่า แม้ว่า RockMelt จะมีฟังก์ชั่นในการ Tweet ข้อความใน Twitter บริเวณตำแหน่งแถบขวามือให้ได้เห็นอยู่ก็ตาม หากให้มองในส่วนอื่นหน้าจอการทำงานของ RockMelt อาจจะถูกใจกลุ่มผู้ใช้บริการเครือข่ายผ่าน Facebook ในการติดต่อ หรือ ทำการตลาดออนไลน์ มากกว่า เพราะตัวบราวเซอร์ RockMelt ได้แทรกบริการ Facebook Chat ที่ทำให้เราสามารถ พูดคุย สนทนา กับเพื่อน หรือ คนรู้จักของเรา ของเราผ่านแถบซ้ายมือของ หน้าจอบราวเซอร์ หากมีรายชื่อผู้ติดต่อเป็นคู่ค้าที่ต้องสื่อสารผ่านช่องทาง Facebook Chat  เป็นประจำ ก็ถือว่าเป็นข้อดี และ สะดวกที่สุดในการ ติดต่อ สื่อสาร

อนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

อนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

แต่ถ้ามองในเรื่องของการตื่นตัวสำหรับเว็บบราวเซอร์ใหม่อย่าง RockMelt ในกลุ่มของผู้ใช้งานในประเทศไทย กรณีของ RockMelt นับว่าเป็นความประสบความสำเร็จมากกว่า Flock เพราะเทคนิคในการปล่อยให้ใช้งาน ได้เฉพาะกลุ่ม โดยอาศัยการ บอกต่อกันไป หรือการเชิญชวน แนะนำให้ใช้ (Invite) ใครที่สนใจ หรือ ต้องการใช้งาน ก็สามารถร้องขอผ่าน Facebook เพื่อกระจายข้อความให้เพื่อนของเราที่ใช้อยู่ส่ง ลิงค์ในการดาวน์โหลดกลับไปให้ นั่นก็คือกลยุทธการทำ Viral Marketing ซึ่งแน่นอนว่าการตลาดแนวนี้ถูกจริต ผู้เสพสื่ออย่างคนไทยที่สุด เช่นเดิม เพียงเพราะความรู้สึกเหมือนกับเป็นคนพิเศษที่ได้ใช้ก่อน และเป็นคนพิเศษอีกเช่นกันที่ ภูมิใจในการแบ่งปัน ให้แก่ผู้อื่นได้ใช้

อนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

อนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

เรื่องแบบนี้มันอยู่ที่ไอเดีย การนำเสนอรูปแบบเชิญชวนว่าจะมาแปลกแหวกแนวแค่ไหนไม่จำเป็นต้อง ลงทุน Production หรือทำการโฆษณา อะไรให้ล้ำลึกใหญ่โต ในเมื่อตอนนี้มีเว็บบราวเซอร์ลูกผสม ระหว่าง บราวเซอร์ดั้งเดิม กับ แอพพลิเคชั่น เกิดขึ้น และว่าในอนาคตคงจะมี บราวเซอร์ใหม่ ปรากฏขึ้นมาอีกมากมาย ซึ่งต้องอาศัยและสังเกต ท่าทีของกลุ่มผู้ใช้งานใหม่ ที่พร้อมใจจะเปลี่ยน หันมาใช้งานเว็บบราวเซอร์ในการท่องเน็ทดังเดิม จะเป็นการดีกับการสร้างรายได้ผ่านโฆษณาหน้าเว็บต่อเนื่องกันไป แต่คงต้องวัดผลหลังแนวโน้มในอนาคตของการเติบโตระหว่าง แท็บเล็ตกับคอมพิวเตอร์พกพาอย่างโน้ตบุ๊ก เพราะการจะทำให้พฤติกรรมผู้ใช้งานหันมาใช้งานเว็บบราวเซอร์ท่องเว็บเพิ่มขึ้นได้นั้น นักวิศวกรรมจำเป็นต้องลงขันเชียร์เทคโนโลยีโน้ตบุ๊ก อย่างถึงที่สุด ตลาดจะมีการแบ่งแยกชัดเจนถึงสองเทคโนโลยีนี้ในอนาคตที่ใกล้จะถึงนี้ต่อไปอนาคตของเว็บบราวเซอร์ เมื่อบราวเซอร์พันธ์ใหม่ทำตัวให้เป็นแอพฯ

อีกเรื่องคือต้องสังเกตว่า กลุ่มบราวเซอร์มาตรฐานหลัก ก็มีมาก่อนอย่าง Internet Explorer, Firefox, Opera และ Safari พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อรับมือกับ สงครามแย่งชิงความเป็นหนึ่งของเว็บบราวเซอร์ ซึ่งคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวที่สุดก็น่าจะเป็นบราวเซอร์ลูกผสมพันธ์ใหม่นี่เอง มาดูกันว่าความเก๋าเกมที่บราวเซอร์รุ่นเก๋ายังมีอยู่เดิม จะรับมือลูกเล่นกลยุทธการตลาดของบราวเซอร์รุ่นใหม่ที่ตรงใจผู้เสพสื่อได้หรือไม่ คงต้องใช้เวลาพิสูจน์กัน แต่สำหรับผู้เขียนนั้น เว็บบราวเซอร์ก็ยังคงเป็นเว็บบราวเซอร์ ไม่ว่าจะอยู่บน แพล็ตฟอร์มอะไร แพล็ตฟอร์มไหนก็ไม่ขาดบราวเซอร์ ต่อให้แต่งเติมการทำงานให้ สะดวกสบาย หรือ ก้าวล้ำนำสมัย ยังไง บราวเซอร์ก็มีหน้าที่เดียวอยู่ดีนั่นคือ แสดงผลข้อมูลหน้าเว็บไซต์ นี่แหละตรงกับคำนิยามที่ผู้เขียนรู้สึกเลยว่า “New Model, Original Part”

อ้างอิง

The State of Mobile Apps โดย Nielsen
http://blog.nielsen.com/nielsenwire/online_mobile/the-state-of-mobile-apps/
New Browser, RockMelt, Comes With Social Concept โดย Hitech Sphere
http://www.hitechsphere.com/2010/11/new-browser-rockmelt-comes-with-social-concept/
RockMelt Browser Comes Out from Behind Its Rock โดย Droidmike, PC Magazine
http://droidmike.com/2010/11/rockmelt-browser-comes-out-from-behind-its-rock-pc-magazine/
The Web Is Dead. Long Live the Internet โดย Chris Anderson และ Micheal Wolff
http://www.wired.com/magazine/2010/08/ff_webrip/all/1
Viral Marketing: How To Use Viral Content to Get People Talking About You โดย Zeke Camusio
http://www.toiletpaperentrepreneur.com/blog/viral-marketing-how-to-use-viral-content-to-get-people-talking-about-you

บทความนี้ถูกตีพิมพ์ที่ นิตยสาร Ecommerce Magazine
January No.145

Ecommerce Magazine

 

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน