Concept

Private Cloud Computing วันที่ทุกคนมีกลุ่มเมฆส่วนตัว

สถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีหรือคอมพิวเตอร์ ได้ให้ความต้อนรับเกี่ยวกับเทคโนโลยีกลุ่มเมฆ หรือ Cloud Computing มาซักระยะหนึ่งแล้ว และมีแนวโน้มที่คาดว่าจะเป็นที่น่าสนใจในหลายองค์กรในประเทศไทย ที่สำคัญ เพราะเทคโนโลยีกลุ่มเมฆหรือ Cloud Computing นั้นเป็นประเด็นหลัก ทำให้เหล่าบรรดาผู้บริหารด้าน IT หรือกลุ่มผู้ดูแลเทคโนโลยีองค์กรเกิดการเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน ปรับพื้นฐานด้านเทคโนโลยีให้เป็นไปตามรูปแบบสถาปัตยกรรมกลุ่มเมฆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตหันไปใช้เทคโนโลยีกลุ่มเมฆ ติดตั้งระบบใหม่ หรือหันไปใช้บริการด้าน Cloud Computing และบางรายเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเป็นปรับเปลี่ยนการลงทุนโดยตั้งตัวเป็นผู้ให้ บริการด้าน Cloud Computing เองเลยก็มี

Private Cloud Computing

 

เป็นแนวโน้มของเทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่ทำให้เห็นว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้านั้น จะมีกลุ่มจากรัฐบาลและเอกชนซื้อบริการจากผู้ให้บริการด้าน Cloud Computing กันมากขึ้น ซึ่งในส่วนของผู้ให้บริการด้าน Cloud Computing Service นั้น ต้องหันมาปรับเปลี่ยนการดูแลฐานข้อมูลลูกค้าและเพิ่มนโยบายความเป็นส่วนตัว เพราะผู้ให้บริการด้าน Cloud Computing นั้นจะต้องเก็บข้อมูลความลับของลูกค้า เทคนิควิธีในการประมวลผล ไปจนถึงกระบวนการจัดเก็บข้อมูล

 

เพราะหากว่าจะเป็นผู้ให้บริการด้านนี้แล้วถ้าความปลอดภัยไม่เป็นที่ยอมรับ ก็จะเกิดปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของบริการขึ้นมา หรือหากข้อมูลสำคัญของผู้ใช้บริการถูกกระจายออกไปจากรอยรั่วของระบบ ยิ่งจะส่งผลต่อธุรกิจของผู้ใช้บริการไม่มากก็น้อย ที่สำคัญ บางครั้งรูปแบบบริการก็ไม่ยืดหยุ่นพอที่จะให้ผู้ใช้งานปรับแต่ง ออกแบบ หรือสร้างแก้ไขระบบเพิ่มเติมได้จากบริการ Cloud Computing ที่เป็นแบบ Public เพราะหากปล่อยให้ผู้ใช้บางรายปรับแต่งแก้ไขไปแล้ว ก็จะเกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอีกรายที่อยู่ในเครือข่ายบริการเดียวกัน

Concept of Cloud Computing

แนวคิด Private Cloud Computing เป็นรูปแบบลักษณะหนึ่งในประเภทของ Cloud Computing ซึ่งแตกต่างกับ Public Cloud เพราะเป็นการทำงานและให้บริการบน Computer Servers มีระบบเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทำงานผ่านเครือข่าย Networks ที่เป็นของผู้ใช้ บริการ Cloud Service เอง หรือเปิดให้ใช้เฉพาะผู้ใช้บริการรายนั้นส่วนตัว จึงเรียกว่า Private Cloud โดยที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้ควบคุมและจัดการระบบเอง ซึ่งผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้ง Setup และ Support เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและความต้องการในเรื่องปรับแต่ง แก้ไขระบบของผู้ใช้บริการ

แนวคิด Private Cloud Computing นี้เกิดจากการนำโครงสร้างรูปแบบธุรกิจของแต่ละองค์กร, รูปแบบบริการด้าน Cloud Computing มาเข้ากระบวนการด้านเวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization) หมายความว่า แทนที่องค์กรที่ให้บริการต่างๆ จะนำเงินทุนไปลงทุนกับนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรม หรือแอพพลิเคชั่นที่ทำงานผ่านเครือข่าย ก็หันมาใช้งานผ่านระบบประมวลผลกลาง หรือ Data Center โดยจำลองสภาพแวดล้อม (Environment) ของการพัฒนาให้เรียกใช้งานทรัพยากรเสมือนแทน โดยมีการประมวลผลข้อมูลผ่านศูนย์กลางการประมวลผล Data Center ที่ออกแบบการประมวลผลในรูป Cluster หรือ Grid Technology ขนาดเล็ก

และถ้าหากองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบเทคโนโลยีขององค์กรเป็นแบบ Private Cloud แต่ไม่อยากใช้บริการจากบริษัทที่ให้บริการด้าน Cloud Computing ก็สามารถออกแบบและสร้างระบบ Private Cloud ได้เอง เพียงแค่มี Personal Computer หรือ Server Computer ขนาดเล็ก ทำการเชื่อมต่อระบบการทำงานของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเข้าด้วยกันบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ตความเร็วสูง ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการกระจายการทำงานไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในการประมวลผล ซึ่งจะประมวลผลได้เทียบเท่าหรือสูงกว่า Super Computer อีกทั้งยังเหมาะสมกับการประมวลผลข้อมูลที่มีความซับซ้อน ซึ่งหากใครที่คุ้นเคยกับเทคนิคที่กล่าวข้างต้นนั้น จะทราบว่ามันคือการออกแบบระบบแบบ Cluster Computing หรือ Grid Computing

Diagram Private Cloud Computing

ซึ่งหากองค์กรใดที่ต้องการออกแบบ Private Cloud ภายในองค์กรของตนเองนั้น ก็เลือกใช้ว่าองค์กรใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Platform Technology) แบบไหน เช่น หากต้องการออกแบบ Cluster Computing คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบต้องเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นรูปแบบเดียว กัน และอยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่จำกัด ในส่วนของรูปแบบ Grid Computing นั้น การทำงานหลักๆ ก็คล้าย Cluster Computing แต่จะเชื่อมต่อได้ทุก แพลตฟอร์ม โดยที่ไม่สนใจว่าแพลตฟอร์มที่ต่างกันนั้นจะอยู่ห่างกันแค่ไหน ดูแล้วจะเห็นว่ารูปแบบหลักการนั้นใกล้เคียงกับ Cloud Computing

จะเห็นว่าเมื่อองค์กรขนาดใหญ่หรือธุรกิจขนาดใหญ่ต่างมีความต้องการในเรื่อง การบริหารจัดการข้อมูลองค์กรและธุรกิจในจำนวนที่มากขึ้น และต้องการความมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งการบริหารจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จำพวกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการ ใช้งานที่ต่างแพลตฟอร์ม เวอร์ชั่น หรือซอฟต์แวร์ที่ซื้อจากบริษัทที่มีแฟลตฟอร์มในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จำเป็น ต้องใช้ต่างกัน จะทำให้การบริหารจัดการองค์กรเป็นไปได้ Private Cloud จึงเป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหาขั้นต้น ทำให้การบริหารจัดการหรือการขยายระบบเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีด้านนี้จะทำให้อะไรหลายอย่างดูง่ายขึ้น สำหรับองค์กรด้าน IT และ เป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับผู้ใช้บริการ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Cloud Virtual Private Server Service ที่เราเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์เสมือน จะเริ่มผุดขึ้นมาบ้างแล้วในธุรกิจ Hosting ในบ้านเราหลายเจ้า

ปัญหาของ Private Cloud, Public Cloud หรือ Hybrid Cloud (ลูกผสม) ก็ยังมีอยู่ สำหรับผู้ใช้บริการ Private Cloud หรือ Cloud Service ใดๆ หากได้ใช้บริการ Private Cloud ของผู้ให้บริการใดไปแล้วจะเกิดการบังคับผูกขาดกับผู้ให้บริการ และส่วนของผู้ให้บริการเองปัญหาที่ยังมีอยู่ ที่ผู้ใช้ปรับแต่งระบบอาจจะเกิดปัญหาในการเรียกใช้ ทรัพยากร และยังต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริการของตัวผู้ให้บริการเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ใช้อย่างเรา และผู้ให้โอกาสอย่างภาครัฐและเอกชน

บทความใน นิตยสาร E-Commerce Magazine [January No.133 ปี 2510]

E-Commerce Magazine

บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ต จำกัด
42/38 ซอย โชคชัยร่วมมิตร ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงจอมพล เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ
10900

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน