Concept

3G ยุคที่ 3ของมาตรฐานโทรศัพท์มือถือ

3G มาตรฐานที่3 ของเทคโนโลยี มือถือทุกวันนี้คำว่า 3G (3rd Generation Mobile Network) หรือเทคโนโลยีการสื่อสารยุคที่ 3 เริ่มกลายเป็นคำที่เราจะได้ยินบ่อยขึ้น บ่อยขึ้นเรื่อยๆ แต่หลายๆคนที่ยังไม่คุ้นหูกับมัน ก็อาจจะงงว่า 3G มันคืออะไร แล้วมันใช่อันเดียวกับ Wifi หรือ WiMAX ที่เค้ากำลังเล่นกันโครมๆหรือเปล่า? เราก็น่าจะอธิบายสั้นๆให้เข้าใจง่ายๆได้ว่า 3G คือเทตโนโลยีต่อยอดของโทรศัพท์มือถือ (Mobile)

ที่สามารถเปลี่ยน เจ้า มือถือของเรานั้น สามารถใช้ Internet Broad Band ในการรับส่งข้อมูล หรือ Information ทางด้านภาพและเสียง (Media) ใช้ได้กับเครื่องลูกข่ายก็ได้ และทั้งนี้ อุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานแบบเต็มรูปแบบนี้ได้ ก็ต้องเป็นมือถือประเภท Smart Phone หรือ PDAหากกลับมามองที่ WiMAX นั้นจะเห็นว่า WiMAX เป็น เทคโนโลยีต่อยอดของ Wifi ซึ่งเป็นการ ปรับปรุงมาตรฐานหรือ เป็นการพัฒนาการใช้งาน Internet Broad Band ไร้สาย ที่จะให้บริการเฉพาะจุดที่เราได้ยินคุ้นหูว่า Hot Spot ของทางฝั่งคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ โดยเราจะใช้ อุปกรณ์รองรับหลักๆ คือ Laptop หรือ เครื่อง Computer ชนิดพกพาหลากหลาย ที่เราหิ้วไปมานั่นแหละ

WiMAX Techonology

ดังนั้น 3G ก็น่าจะเป็น เทคโนโลยีทางเลือกของการใช้ Internet Broad Band ไร้สายในกรณีที่เาไม่อยากหิ้ว Laptop หรือ  Notebook ไปไหนมาไหนเพราะความขี้เกียจหรือ เมื่อยแขน หรือลืมเครื่อง computer ก็หยิบ มือถือของเรามา เช็ครอบหนัง หรือ เล่นเกม ออนไลน์กับเพื่อนๆใน Community ก็เอาเป็นว่าทางเลือกด้าน Mobile ก็เป็นอีกทางที่เรา จะเข้าถึงเทคโนโลยี 3G ได้ชัดเจนที่สุด

อาจจะมองได้ว่า ความสะดวกรวดเร็ว ในการเชื่อมต่อ บวกกับ ไลฟ์สไตล์ในยุคนี้ที่ดู โมเดิร์น คุณอาจจะเปลี่ยนลุคตัวเองให้กลายเป็น หนุ่มสาว ยุด Digital Mobile ได้ไม่ยากอีกต่างหาก นี่แหละคือข้อดีของ 3G ที่จะเข้ามาเป้นปัจจัย หนึ่งของ เราๆ

Video Call 3G

มาดูๆแล้ว ฟังก์ชันมาแรงสุดฮอตของ เทคโนโลยี 3G ที่น่าจะดูเข้าท่าที่สุดในอนาคตที่จะเกิดขึ้นน่าจะเป็น Video Call Mobile ที่เราจะเห็นหน้าคู่สนทนาเหมือน Live Chat หากเราไม่นับ TV Phone และไอ้มาตรฐานของเจ้า 3G ที่เราควรจะรู้ก็คือ

3G ใช้มาตรฐาน 2 มาจรฐานได้แก่ GSM (Global System for Mobile Communication) และ WCDMA (Wide code Division Multiple Access) ซึ่งทั้ง 2 มาตรฐานนี้ถูกใช้กันแพร่หลายใน ประเทศแถบ ยุโรป และ อเมริกา

นำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่นสำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+

HSDPA นั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )
HSUPA จะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps
HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbps

สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้า

ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้

คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ True
คลื่นความถี่ ( band ) 2100 จะถูกพัฒนาโดย AIS
คลื่นความถี่ ( band ) 1900 ยังไม่แน่ชัดว่าจะถูกปล่อยออกโดยบริษัทไหน


ในท้ายที่สุด ความสมบูรณ์แบบในการรองรับธุรกิจ Non-Voice ของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA ในประเทศที่มี ศักยภาพ มักช่วยผลักดันให้เกิดห่วงโซ่ธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ แม้จะมีความพยายามในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศที่จะผลัก ดันให้เกิดการประสานผลประโยชน์อย่างลงตัวระหว่างผู้ให้บริการเครือข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G/2.5G/2.75G กับผู้ประกอบการสื่อข้อมูลต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้

แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายในตระกูล GSM และ CDMA เอง ที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้บริการ จึงทำให้เกิดการขาดช่วงของความสมดุลในการผสานผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ FOMA ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA และประสบความสำเร็จในการดึงศักยภาพของเครือข่าย W-CDMA ให้เกื้อหนุนต่อความลงตัวสำหรับการร่วมมือในธุรกิจ Non-Voice ในประเทศญี่ปุ่นอย่างงดงาม ต่อเนื่องด้วยความคืบหน้าในการสานต่อโครงสร้างธุรกิจ Non-Voice ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศ

จึงสรุปได้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะเป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Non-Voice ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้

 

อ้างอิง: www.vichakarn.com , www.wikipedia.com, www.thaigaming.com

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน