Knowledge

A Semantic Legion สารสนเทศบนโลกนี้เริ่มมีนัย

ช่วงของรอยต่อ หรือ ช่วงเวลาคาบเกี่ยวของการเปลี่ยนแปลงบนโลกออนไลน์ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยฟันเฟืองอันล้ำสมัยของเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเวลาที่พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องเตรียมพร้อมเพื่อปรับตัวกับ สื่อ สารสนเทศ และรูปแบบธุรกิจที่กำลังปรับรูปแบบของตัวมันเอง วิธีการดำเนินงาน คุณลักษณะแปลกตา การนำเสนอวิธีใช้งานล้วนแต่ต้องอาศัยความเข้าใจ ระดับหนึ่งในการศึกษา บางครั้งสิ่งที่ปรากฏผ่านรอยต่อระหว่างยุคของเทคโนโลยีนั้นก็ใหม่เกินไป จนต้องรอให้ผู้ใช้งานรุ่นต่อไปที่ไม่ต้องทำใจกับการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเก่ามาสิ่งใหม่ เข้ามาใช้ และปล่อยให้สิ่งเก่าเป็นเพียงข้อมูลอ้างอิงที่พร้อมจะถูกบัญญัติไปกับผู้ใช้งานรุ่นเก่า และบางที สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในช่วงคาบเกี่ยวที่พูดถึงนี้บางสิ่งก็ง่ายต่อการรับรู้ซะจนถูกพวกเรากลืนไปจนลืมไปจนไม่ทันรู้ตัวว่า สิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ นวัตกรรมใหม่ มันอยู่กับเราได้ซักพักแล้ว ใช้งานมันไปแล้ว แต่กลับไม่ทันรู้สึกว่ามันใหม่ก็มี

Semantic Web เว็บเชิงความหมาย

 

Semantic Web เว็บเชิงความหมาย

เทคโนโลยีเว็บเป็นตัวแปรหนึ่งที่ ณ ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงของรอยต่อแห่งยุคของโลกเทคโนโลยี ข้อมูล สารสนเทศบนเว็บไซต์มากมายที่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบไปมา ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนมาถึงปัจจุบันนี้ เนื้อหาหรือ คอนเท็นท์ ที่ปรากฏอย่างแพร่หลายในตอนนี้ พวกเรากลับไม่ได้รับรู้เลยว่า รูปแบบหรือ โมเดลในการนำเสนอข้อมูล สารสนเทศของเทคโนโลยีเว็บนั้นเปลี่ยนไป สารสนเทศที่ปรากฏตลอดยุคของ Web 2.0 จนมาถึง Web 3.0 นี้ถูกยึดตามข้อมูลที่ปรากฏบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Network เป็นส่วนใหญ่ และก็เพราะเครือข่ายสังคมที่ได้รับนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนี่เองที่ทำให้ ข้อมูล สารสนเทศ ที่จะถูกไปทำให้ปรากฏบนเว็บไซต์ในรูปแบบของคอนเท็นท์นั้นเปลี่ยนไป จะเห็นว่าสารสนเทศ หรือข้อมูลปัจจุบันในตอนนี้ เป็นข้อมูลที่ถูกอ้างอิงอย่างมีนัย โดยข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกนำมาจากรูปแบบโมเดลของผู้ใช้ตามลักษณะพื้นฐาน อย่าง Profile Modeling ผ่านเทคโนโลยีเว็บเชิงความหมาย หรือ Semantic Web

สารสนเทศบนโลกนี้เริ่มมีนัย

ซึ่งกระบวนการทำงานภายในของการนำเสนอเนื้อหาในเชิงที่มีความหมายต่อกัน เรียกกระบวนการนี้ว่าออนโทโลยี (Ontology) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้กลายเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีเว็บ และเครื่องมือค้นหาได้เริ่มปรับปรุงกันมาได้พักใหญ่แล้ว เพียงแค่รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของมันถูกนำเสนอในเชิงที่นิ่ง และเงียบ อีกทั้งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องใช้การเรียนรู้มากมาย ทำให้ผู้ใช้แทบไม่ได้รู้สึกแตกต่างของการเปลี่ยนแปลง และเสียเวลายุ่งยากในการเรียนรู้อะไรมากนัก

Semantic Web หรือเว็บเชิงความหมาย นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่สำหรับปัจจุบัน และสามารถต่อยอดได้กว้างในอนาคต Semantic Web อาศัยการนำเสนอโครงสร้างการอธิบายข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือระบบที่ประมวลผลอยู่นั้นรับรู้ และเข้าใจในแง่ของความหมายได้มากขึ้น คำสั่งที่ใช้ใน Semantic Web นั้นเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลต่อได้ ที่สำคัญยังสามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกันเพื่อทำให้การค้นหาง่ายขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันจะถูกแทรกไปใช้กับเครื่องมือค้นหาชื่อดังอย่าง Google, Yahoo ที่ปรากฏบน Facebook และ Bing ส่วนประกอบที่สำคัญของการทำงานภายในของ Semantic Web นั้นคือรูปแบบโมเดลแนวคิดที่เรียกว่า ออนโทโลยี (Ontology)

ตีกรอบเพื่อจำกัดองค์ความรู้ด้วย Ontology

หากให้ผู้เขียนอธิบายการทำงานเชิงลึกของออนโทโลยี (Ontology) นั้นเกรงว่าผู้อ่านจะต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจ อีกทั้งเนื้อหาที่กล่าวไว้ก่อนหน้านั้นก็เข้าข่ายย่อยยากประมาณหนึ่ง ก็เลยต้องขอนิยามให้เข้าใจง่ายที่สุดว่า ออนโทโลยี (Ontology) นั้นเป็นการตีกรอบแนวคิดในการอธิบายข้อมูลในขอบเขต หรือโดเมน (Domain) หนึ่งๆ สำหรับแก้ปัญหา ความซับซ้อนกำกวมของข้อมูลให้สามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลร่วมกันได้มีความสามารถในการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Share) และสามารถนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ (Reuse) และมีความสามารถในการถ่ายทอดคุณสมบัติ การนำออนโทโลยีมาใช้งานจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแชร์ข้อมูล และแยกองค์ความรู้ออกจากฐานข้อมูล

เมื่อข้อมูล และสารสนเทศทุกตัวมีความหมาย อนาคตเทคโนโลยีเว็บกำลังเปลี่ยนไป

เมื่อได้ทราบการทำงานของเว็บเชิงความหมาย อย่าง Semantic Web และทราบแนวคิดการทำงานภายในผ่านออนโทโลยี (Ontology) แล้วจะเห็นว่า ทิศทางของเว็บที่ปรากฏตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงยุคของการแบ่งปันจากผู้ใช้ อย่าง Web 2.0 และเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่าง Social Network ทำให้เกิดข้อมูลที่เกินความจำเป็นหรือ Information Overload ที่บางครั้งเมื่อเราทำการค้นหาแล้ว กลับได้ข้อมูลที่ไม่ได้ตรงตามความต้องการ หรือความหมายของเราเท่าใดนัก หากให้ย้อยกลับไปตั้งแต่ยุคเริ่มต้อนของเว็บไซต์จะพบว่า ยุคแรกของเทคโนโลยีเว็บ ได้ก่อกำเนิดขึ้นนั้นพฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์เพื่อรับสารสนเทศ หรือข้อมูลนั้นมักจะได้รับองค์ความรู้เชิง Explicit Knowledge หรือองค์ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของการจัดเก็บ ที่พร้อมจะให้สืบส้น โดยถูกวิเคราะห์แปลงรูปจากเอกสาร และบันทึกโดยส่วนมากจะเกิดจากเจ้าของเว็บไซต์เองที่จัดทำ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยุคแรกจึงต้องเชื่อถือ และใช้ข้อมูลที่มีอยู่มาเรียนรู้

ในยุคต่อมาช่วงของ Web 2.0 เกิดขึ้น Blog, Facebook, Twitter และ Wiki ที่ปรากฏมากมายต่างผุดขึ้นอย่างต่อเนื่องกลายเป็นการกระจายองค์ความรู้ในรูปแบบ Tacit Knowledge นั่นคือองค์ความรู้เฉพาะเรื่อง และเฉพาะบุคคล ได้ทำการบันทึกและแบ่งปันในแง่ของเนื้อหาและคุณภาพ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ข้อมูลสารสนเทศในยุคนี้ถือว่า มีการยืดหยุ่นและ ใช้ตัดสินใจได้ระดับหนึ่ง จนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน ข้อมูลเนื้อหาจากเว็บที่มีอยู่ดั้งเดิม และ ข้อมูลจาก Blog ที่ปรากฏขึ้นมาใหม่โดยผู้ใช้ด้วยกันมีจำนวนที่มาก ในแง่คุณภาพคงไม่เป็นปัญหามากนัก แต่ในแง่ของความซ้ำซ้อนของข้อมูลมีผลต่อความรวดเร็วในการแสดงผล และปัญหาอื่นที่เกิดจากข้อมูลที่นับวันจะเททับกันเป็นกองจำนวนมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตนี้

เทคโนโลยีแนวคิดของ Semantic หรือการจัดการเชิงความหมายจึงถูกนำเข้ามาใช้จัดระเบียบของข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ให้เป็นหมวดหมู่มากขึ้น เพื่อง่ายแก่การถูกดึงออกมาใช้ ซึ่งการเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปของ หมวดหมู่ประเภทเดียวกันโดยอ้างถึงความหมาย ผ่าน Semantic Web นี้จะทำให้อนาคตของเทคโนโลยีเว็บในยุคถัดไปจะเป็นการการจัดการเนื้อหา หรือคอนเท็นท์ในเชิงความหมายมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่มีความฉลาด (Intelligent Agents) มาช่วยในการประกอบกิจกรรมและสืบค้นข้อมูลของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น ดังภาพที่ปรากฏ

สำหรับ การทำงานถ้าหากว่ายังมองไม่เห็นภาพให้ลองเข้าไปใช้บริการของ Eventpro ดูครับที่

http://www.eventpro.in.th

หลักการทำงานในการค้นหานั้นใช้หลักในการแปลประโยค เช่น พิมพ์ว่า “วันนี้ที่สยาม” หรือ “พรุ่งนี้ที่สยาม” จะได้ข้อมุลงาน Event ของ วันนี้ที่ Siam Paragon หรือ งาน Event ที่จะจัดวันพรุ่งนี้ที่ Siam Discovery ก็ได้ ลองไปเล่นดูกันได้ครับ

สนับสนุนโดย

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน