FeaturedInbound MarketingMarketing StrategyMobile Technology

กลยุทธ์สำหรับ Startup กับ Mobile Monetize สร้างรายได้แอพตีตลาดเอเชีย

พอดีผมได้มีโอกาสร่วมประชุมสัมมนาระดับเอเชียไม่นานมานี้ เลยพอจะสรุปเทรนด์ของธุรกิจออนไลน์ และ Mobile ในทวีปเอเชียอย่างญี่ปุ่นไต้หวัน จีน อินเดีย เกาหลี อินโดนีเซีย และประเทศไทยมาบ้างข้อมูลคร่าวๆ ที่พบคือ เรื่องน่าแปลกใจที่ว่า ทุกประเทศที่พูดมานั้น ตอนนี้กำลังเจาะจงในการตีตลาดของแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ตามเทรนด์และกระแสของการบริโภคเนื้อหาผ่านสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์จำพวกนี้มากขึ้น

หากว่าให้ลองพิจารณาจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลคร่าวๆ นั้น บางส่วนที่มาจากผลสำรวจของ KPCB (Kleiner Perkins Caufield Byers)  ซึ่งเป็นข้อมูลเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2013 ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการเจาะตลาดของ Mobile ข้อมูลที่ได้มานั้นแสดงถึงอัตราการเติบโตของตลาด Mobile หรือแอพพลิเคชั่นส่วนนี้สูงขึ้นมากจากปี 2012 หากแยกเป็นประเทศนั้น จะได้ข้อมูลการเติบโตของแนวโน้มในการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นในเอเชีย ดังนี้

[AdSense-A]

201312181003a532

ประเทศจีน นับว่าเป็นประเทศที่มีประชากรสูงที่สุดในทวีปเอเชีย ในปี 2013 นี้มียอดสถิติ Mobile Subscribe สูงถึง 354 ล้านคน ตีเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 อัตราการเติบโตเทียบเท่าจากปี 2012 นั้นสูงถึงร้อยละ 31 ตามมาคือ ประเทศญี่ปุ่นกับความนิยมในแอพพลิเคชั่น สถิติการ Subscribe อยู่ที่ 94 ล้านคนตีเป็นสัดส่วนได้ร้อยละ 76 เติบโตจากปี 2012 ที่ร้อยละ 15 สำหรับประเทศเกาหลี สัดส่วนร้อยละ 67 นั้นเป็นจำนวนผู้ Subscribe ที่ 38ล้าน ยอดเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 18เปอร์เซ็นต์ โดยแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมคือ Google Android เพราะแบรนด์โทรศัพท์ดังอย่าง Samsung นั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในเรื่องของส่วนลด แตกต่างกับประเทศจีน ที่ผลตอบรับของ Apple iPhone5C นั้นประสบความสำเร็จมาก
ในส่วนประเทศต่างๆ อย่างไต้หวัน ไทย อินโดนีเซีย นั้นอยู่ที่ร้อยละ 37, 21 และร้อยละ 11 ตามลำดับ แบ่งเป็นยอด Subscribe ที่ 12 ล้านคน, 18 ล้านคน และ 36 ล้านคน โดยประเทศไทยและอินโดนีเซีย นั้นมียอดสถิติการเติบโตจากปีก่อนๆ อยู่ที่ ร้อยละ 30 และ 34 ส่วนไต้หวัน อัตราการเติบโตของสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นสูงถึง 60เปอร์เซ็นต์ ส่วนในประเทศอินเดียการเปิดกว้างในเรื่องของแอพพลิเคชั่น และสมาร์ทโฟนนั้น เริ่มได้รับการยอดรับจากรัฐบาล ยอด Subscribe ของประเทศอินเดียนั้นอยู่ในจำนวนที่สูงขึ้นจากเดิมเป็น 67 ล้านคน คิดสัดส่วนร้อยละ 6 แต่อัตราการเติบโตกลับพุ่งสูงถึงร้อยละ 52 ที่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างที่สุด
จากสถิติที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น จะทำให้เราเห็นแล้วว่า หลายๆ ประเทศในเอเชียเริ่มหันมาลงทุนกับตลาดของแอพพลิเคชั่น และเริ่มให้เงินทุนแก่เหล่านักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมากขึ้น เนื่องจากสถิติของผู้ใช้สมาร์ทโฟน นั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้น และได้ทำการคาดการณ์ยาวไปถึง 2016 หรือการวางแผนคาดการณ์ต่อเนื่องไปอีก 3 ปีข้างหน้าทันที ประกอบกับ บริการต่างๆ จากเครือข่ายสังคมออนไลน์หลายๆ ตัวเริ่มให้บริการโฆษณาสำหรับโปรโมตแอพพลิเคชั่นในรูปแบบของ CPI (Cost Per Install, CPA = Cost Per Action) หรือการเล่นโฆษณาในรูปแบบ Media ที่ลงทุนกับการติดตั้งตัวแอพพลิเคชั่นก่อนจึงจะมีการเสียเงิน ซึ่งได้ผลลัพธ์ดีกว่าและประหยัดเงินดีกว่า CPC (Cost Per Click) หรือการเสียเงินตามจำนวนคลิกป้ายโฆษณามากขึ้นอย่าง Twitter ที่มีการปล่อยภาพหลุดส่วนของ CPA Advertising Network ออกมาให้เหล่านักพัฒนาได้เห็นแม้กระทั่ง Facebook เองที่มีรูปแบบ Model การตลาดอย่าง Facebook App Install Advertising อยู่แล้ว ก็ยังต้องเพิ่มส่วนเสริมใหม่ของโฆษณาลงไปอย่าง Video Ads หรือ Video Creative ให้ผู้ที่เห็นโฆษณาสามารถกดดู Video โฆษณานำเสนอของตัวแอพพลิเคชั่นได้ก่อนจะตัดสินใจได้อีก

โดยการเพิ่มส่วนของช่องทางการใช้ Video Creative ผ่าน Mobile App Ad บนเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook  นั้นก็เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนการติดตั้ง และยังเป็นการช่วยให้โฆษณา หรือ Ads ที่แสดงผลอยู่บนหน้า News Feed ของ Facebook นั้นดูน่าสนใจขึ้น ผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่กำลังใช้งานแอพพลิเคชั่นของเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเจ้า Facebook Mobile ก็จะมีโอกาสที่กดปุ่ม Play เพื่อรับชม Video โฆษณาของแอพพลิเคชั่นที่ทำการโปรโมตผ่าน Facebook App Install Ads ตัวนี้ ก่อนที่จะติดตั้งแอพพลิเคชั่นลงเครื่องของตัวเองอีกที เนื่องจาก Video Creative Ads นั้นตอนนี้มีแนวโน้มที่สามารถสร้างรายได้แก่นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น ในอเมริกาจะให้ความสนใจในตัวของ Video มากกว่า Display Ads Network แต่อีกไม่นานแนวโน้มส่วนนี้อยากจะเข้ามาได้รับความนิยมในเอเชียก็ได้

201312181004c53d

ส่วนการโปรโมตแอพพลิเคชั่นในปัจจุบันของเอเชียนั้น ในตอนนี้เทรนด์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ CPA ปกติของ Facebook ตามมาด้วย CPC และการรีวิวผ่าน Blog และเว็บไซต์ต่างๆ แล้วค่อยเชื่อมโยง Link กลับมาให้ติดตั้งเจ้าแอพพลิเคชั่นเหล่านั้นอีกที จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้ว แผนการเหล่านี้มักจะเป็นการโปรโมตให้แอพพลิเคชั่นของเรานั้นได้มีโอกาสถูกดาวน์โหลดติดตั้งมากขึ้น แต่ก็จะมีปัญหามากมายตามมาอีก เช่น แอพพลิเคชั่นที่เราพัฒนานั้นฟรี เสียเงิน หรือเก็บเงินแบบ In-App Purchase ไปจนถึงแอพพลิเคชั่นของเรานั้นมันคุ้มค่าที่จะใช้งาน และเข้าตานายทุนหรือเปล่า ทั้งหมดนั้นคือ เรื่องของการท้าทายล้วนๆ ที่นักพัฒนา และ Startup ใหม่ๆ จะต้องเผชิญในอนาคต

กลยุทธ์การรุกตลาด เอเชียสำหรับ Startup กับการสร้างรายได้ผ่านแอพพลิเคชั่น

หากเราลองเจาะกลุ่มของแพลตฟอร์มดูก่อนในตลาดของสมาร์ทโฟน แพลตฟอร์มเป็นเรื่องสำคัญ และตอนนี้ในหลายๆ สื่อยังบอกถึงสถิติสำคัญที่ตรงกันทุกสถาบันว่า iOS ของ Apple นั้นยังเป็นแพลตฟอร์มที่ยังแซงหน้า Android ของ Google อยู่ในแง่ของการสร้างรายได้ผ่านโฆษณา ทั้งจากโฆษณาบนแอพพลิเคชั่น หรือบนเว็บฯMobile เบราว์เซอร์อย่าง Opera หรือ Chrome ที่ตอนนี้ iOS รายได้จากโฆษณาของ Opera และป้ายโฆษณาจากแอพพลิเคชั่นนั้น ไตรมาสที่ 3 ปี 2013 แพลตฟอร์มของ iPhone หรือ iOS นั้นยังคงสร้างรายได้อยู่ที่ 49.5เปอร์เซ็นต์ส่วน Android นั้นก็ตามหลังมาติดๆ ที่ 27.7เปอร์เซ็นต์

จะเห็นว่าตอนนี้ เราจะได้พื้นที่ที่เราจะทำการวิเคราะห์เพื่อทำการลงทุนกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้แล้ว 2 ที่ใหญ่ๆ ให้เราเลือกใช้ตามความถนัด และเหมาะสมกับพฤติกรรมของแพลตฟอร์มทั้ง 2 ก่อน คำถามต่อมาคือ  แอพพลิเคชั่นที่ต้องพัฒนานั้น ควรเป็นแอพพลิเคชั่นฟรี เสียเงิน หรือ In-App Purchase คำตอบของผมส่วนตัวแล้ว สำหรับ Startup อย่างเพิ่งคิดอะไรยิ่งใหญ่เกินไปกว่านั้น แนะนำว่าให้พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลดได้ฟรีไปก่อน แล้วใช้วิธีสร้างรายได้จากป้ายโฆษณาแลกเปลี่ยน Traffic ยอดคนใช้งาน หรือสร้างรายได้จากจำนวนคนเข้าดาวน์โหลดที่มีจำนวนมาก แล้วนำไปเสนอนายทุน หรือ VC จะดีกว่า

กลยุทธ์การวางแผนทำการตลาดบนแอพพลิเคชั่นแบบ Free-Application

แอพพลิเคชั่นแบบฟรีจะทำรายได้ได้หรือไม่? แน่นอนว่านี่เป็นคำถามแรกที่ผมหรือนักพัฒนากำลังเข้าสู่การเป็น Startup หลายๆ คนนั้นคาใจ การวางแผนธุรกิจ หรือการวางแผนการตลาดของแอพพลิเคชั่นให้เราสามารถสร้างรายได้จากแอพพลิเคชั่น ทั้งจากป้ายโฆษณา หรือยอด Traffic ของการดาวน์โหลดนั้นมีข้อดี และข้อเสียอยู่ให้เราศึกษา สิ่งที่ท้าทาย Startup และนักพัฒนานั้นคือ การสร้างรายได้จากแอพพลิเคชั่นของตัวเองให้กลายเป็นเงินจำนวนมหาศาลจากการโฆษณานั้นจะทำยังไง แน่นอนทุกสิ่งต้องมีการลงทุนครับ ลงทุนเหลือบางสิ่งเพื่อให้ได้บางสิ่ง ขั้นแรกนั้นคุณต้องมีการวิเคราะห์ว่า แนวโน้มของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นนั้น ถ้าเป็นแอพพลิเคชั่นฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายพวกเขาต้องการแอพพลิเคชั่นแบบไหนกันแน่ ฟังก์ชั่นการใช้งานที่น่าสนใจ UX (User Experience) หรือรูปแบบหน้าตาของแอพพลิเคชั่น UI (User Interface) ที่สบายตาสวยงาม

ตัวเลือกพื้นฐานของการสร้างรายได้หรือ Mobile Monetize นั้นแนะนำให้มอง และวางแผนตามนี้ครับ

  • รายได้จากโฆษณา หรือ Mobile Ads Network ให้ตีว่ารายได้ที่เราจะได้นั้นคือ รายได้ต่อคลิก(Click)หรือรายได้ต่อการมองเห็น (Impression)เป็นหลัก และทำยังไงที่ผู้ใช้หรือผู้บริโภค มีโอกาสที่จะคลิกโฆษณาของเรา หรือเห็นโฆษณาของเรา
  • รายได้จาก Freemium Model เป็นการนำเสนอรูปแบบของแอพพลิเคชั่นของเราให้ใช้งานได้จริง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในฟังก์ชั่นที่ผู้ใช้งานพึงพอใจ ถึงประทับใจ แล้วค่อยหารายได้จาก Feature ใหม่ หรือคุณลักษณะใหม่ของแอพพลิเคชั่นของเรา โดยการให้ซื้อคุณลักษณะ หรือ Feature ตัวใหม่นี้เพิ่ม
  • รายได้จาก In-App Purchases แน่นอนว่ารูปแบบ Model นี้เจาะจงในเรื่องของเกม หรือแอพพลิเคชั่นประเภทที่ต้องใช้เงินเพื่อสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ใช้งาน โดยรายได้นั้นมาจากความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้ใช้งาน

รูปแบบรายได้จากป้ายโฆษณา

เมื่อลองวิเคราะห์การสร้างรายได้จากการวางแผนทั้ง 3 แล้ว เราจะพบว่า รูปแบบแรก อย่างการโฆษณานั้น ให้เราวิเคราะห์ไปเลยว่ากลุ่มคนที่จะทำการสร้างรายได้จาก CPC/CPM หรือ CPI (CPA) นั้นต้องเห็นป้ายโฆษณาของเราในตำแหน่งที่ชัดเจน และป้ายโฆษณาของเรานั้นต้องน่าสนใจ ดังนั้น เราต้องมีการวางแผน Media Planner สำหรับแอพพลิเคชั่นของเราว่า โฆษณาของแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ที่มาจาก Display Network ที่เราวางไว้กับแอพพลิเคชั่นของเรานั้น อยู่ในตำแหน่งที่น่าสนใจ และมีคุณสมบัติ หรือประเภทของแอพพลิเคชั่นนั้นตรงกับประเภทของแอพพลิเคชั่นของเราหรือเปล่า

201312181051afe9

2013121810027816

แต่ก่อนอื่นต้องทำให้แอพพลิเคชั่นของเราดังก่อนนะครับ แนะนำว่าให้ทำแอพพลิเคชั่นง่ายๆ เช่น แชร์รูปภาพ Instagram แอพพลิเคชั่นประเภทให้ข้อมูลสถานที่สำคัญ เช่น คู่มือท่องเที่ยว หรือแอพพลิเคชั่นโดนใจวัยรุ่น SnapChat  ที่ส่งรูปให้กันพอกดดูก็ลบภาพนั้นทันที เหมาะสำหรับคนชอบหนีเที่ยวนั่นเองครับ

เรื่องของการออกแบบหน้าจอของแอพพลิเคชั่นจึงมีผลมากสำหรับการสร้างรายได้ จากโฆษณา การออกแบบส่วนมากมักจะวางตัวป้ายโฆษณาที่ใกล้เคียงกับรูปลักษณ์ของตัวแอพพลิเคชั่น เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับเนื้อหา ระหว่าง Content ในแอพพลิเคชั่นของเรากับ Content ที่ปรากฏในโฆษณานั่นเองครับ อัตราการคลิกก็จะมีจำนวนมากขึ้น ทำให้แอพพลิเคชั่นของเราสร้างรายได้จากโฆษณาได้

หมายเหตุ : สำหรับการตีตลาดเอเชียในย่านที่ผมทำงานอยู่ใน แถวชิดลม Feature ของ App Store ในแพลตฟอร์ม iOS จะมีการค้นหา Nearly Popular หรือเป็นการค้นหาว่า ผู้คนที่อยู่ใกล้ๆ ละแวกที่เราอยู่นั้น นิยมดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นอะไรกัน สิ่งที่ผมเจอคือ แอพพลิเคชั่นภาษาจีนมากมายปรากฏขึ้น จะเห็นว่าสอดคล้องกับยอดความนิยมของเจ้าสมาร์ทโฟน iPhone5C  ในประเทศจีน  ส่วนแอพพลิเคชั่นภาษาจีนทั้งหลายนั้นคือ แอพพลิเคชันง่ายๆ อย่าง ไกด์บุ๊กเที่ยวประเทศไทยพิกัดสถานที่ของโรงแรม และร้านอาหารในกรุงเทพฯ ไปจนถึงแผนที่การเดินทางรถไฟฟ้า BTS และ MRT ในรูปแบบภาษาจีน (เริ่มเห็นแนวทางการหาเงินกับแอพพลิเคชั่นแนวนี้หรือยังครับ?)

รูปแบบรายได้จากแอพพลิเคชั่นประเภท Freemium

สังเกตง่ายๆ เลยจะเห็นว่าเจ้าแอพพลิเคชั่นที่จะสร้างรายได้จาก Feature หรือคุณลักษณะเพิ่มเติมเหล่านี้นั้นจะมาจากแอพพลิเคชั่นประเภทกล้องถ่ายรูป มีแอพพลิเคชั่นตัวหนึ่งที่ชื่อ Camera+ ผมเสียเงินในการซื้อ Feature หรือส่วนเสริมไปแล้วมากกว่า 5.99 เหรียญ เพราะความชอบในระบบ Filter ของมัน เหตุผลง่ายๆ แค่นั้นเอง ลักษณะของการสร้างรายได้แบบนี้จะได้รายได้เป็นก้อนใหญ่ๆ ครั้งเดียว แต่ต้องมาจากการเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยม นั่นคือคุณต้องมั่นใจว่าแอพพลิเคชั่นของคุณนั้น ในส่วนที่เป็นฟังก์ชั่นที่ไม่เสียเงิน หรือฟรี ต้องดีจริงๆ แบบชนิดที่ว่าโดนใจผู้ใช้งานนั่นเอง

201312181011e2d7

I Love Analog คือรายได้หลัก Feature ใหม่ ของแอพฯ Camera+

หมายเหตุ : สังเกตดูสิว่าเจ้าแอพพลิเคชั่นแชตยอดฮิตอย่าง Line นั้น ได้รายได้แบบ Freemium หรือเปล่า? คำตอบคือ จะเป็น In-App Purchase ก็ใช่ หรือจะ Freemium ก็ใช่  แต่ Freemium จะตรงกว่า เพราะหลายคนใช้งานจนได้รับความนิยม แล้วค่าใช้จ่ายของการซื้อสติกเกอร์ในแอพพลิเคชั่น Line ก็ตามมา ทั้งๆ ที่ราคานั้น แพงกว่าแอพพลิเคชั่น ราคา 0.99 เหรียญ หรือ 30 บาท หลายแอพพลิเคชั่น แต่หลายคนก็ยอมที่จะซื้อเพราะความน่ารัก และความคิดที่ว่าต้องมีสติกเกอร์ตัวนี้ให้ได้

20131218105100d5

ข้อห้ามในการวางแผนพัฒนาแอพพลิเคชั่น และหารายได้แบบ Freemium: แอพพลิเคชั่นที่พัฒนา และพร้อมจะหารายได้จากรูปแบบนี้ ต้องปราศจากป้ายโฆษณา แสดงว่าหากเราเลือกที่จะสร้างรายได้จาก Freemium แอพพลิเคชั่นแล้ว ความคิดที่จะหารายได้จากป้ายโฆษณาแบบ CPC, CPI หรือ CPM นั้นไม่ควร เพราะจะเป็นการสร้างความน่ารำคาญให้กับผู้ใช้งานแทน

รูปแบบรายได้จาก In-App Purchase

บอกตรงๆ ว่ามันคือแอพพลิเคชั่นประเภท เกม หรือนัดเดทหาคู่เท่านั้นที่จะ เห็นตัวอย่างนี้ชัดเจนที่สุด หลายคนเล่นเกมยอดฮิตมากมาย พอเลเวลหรือระดับการเล่นเกมเริ่มไม่ทันเพื่อนๆ ก็จะต้องมีการซื้อไอเทมมาใช้ ส่วนมากแล้วจะเห็นว่า แพลตฟอร์ม Android จะทำอะไรแบบนี้ได้ดีกว่า การทำแอพพลิเคชั่นแบบเสียเงิน (เพราะความเป็นจริงนั้นทำไม่ได้) เกมออนไลน์ ที่โผล่เข้ามามากมายในสมาร์ทโฟนล้วนสร้างรายได้จาก In-App Purchase ได้เกือบทั้งหมด แม้ว่าจะเป็น Casual Game หรือเกมฆ่าเวลาเล็กๆ เล่นสนุกๆ ก็ตาม ส่วนแอพพลิเคชั่นนัดหาคู่นั้นมีมากมาย มันจะมีการเสียเงินผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อซื้อ Powered ให้เกิดบางสิ่งเกี่ยวกับผู้ใช้งาน เช่น Badoo จะมีการซื้อ Powered เพื่อให้หน้าของเราไปอยู่บนตำแหน่งที่โดดเด่นบนแอพพลิเคชั่น โอกาสที่หลายคนจะเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับเราก็จะมีมากขึ้นกว่าเดิม

วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับ Freemium นั้นคือ การติดตั้ง เครื่องมือวิเคราะห์ Apps Analytics เพื่อ Track ดูว่าอัตราการเปิดใช้งานแอพพลิเคชั่นมีเท่าไร หรืออัตราการเลือกกดใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ในแอพพลิเคชั่นของเรานั้นมากน้อยแค่ไหน จะเป็นการบอกพฤติกรรมของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นของเราโดยรวมได้อย่างชัดเจนที่สุด ทำให้เราสามารถที่จะวิเคราะห์ประวัติของผู้ใช้งาน ประวัติการซื้อส่วนเสริมที่ชอบใจ เพื่อที่เราจะได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของแอพพลิเคชั่นของเราเมื่อมีการ  Update ให้ถูกใจกลุ่มผู้ใช้งานเหล่านี้ เพื่อที่จะมีโอกาสซื้อ Feature หรือคุณลักษณะใหม่ๆ ของเราต่อไปในอนาคต

2013121810431f51

หมายเหตุ : แอพพลิเคชั่นที่จะสร้างรายได้จาก In-App Purchase นั้นต้องใช้การวางแผนการตลาดรายได้นี้เป็นเวลานาน และต้องเป็นกระบวนการที่ต้องวางแผนรูปแบบรายได้นี้ก่อนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น นั่นคือหากตั้งใจจะทำรายได้จาก In-App Purchase สิ่งที่ต้องทำเป็นสิ่งแรกคือ การวางแผนสร้างรายได้ จากใคร จากอะไร และเพื่ออะไร ก่อนที่จะวางแผนกระบวน   การอื่นๆ ในขั้นตอนต่อไป

เครื่องมือและองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้เกิดยอดการดาวน์โหลดที่มากขึ้น

การทำ ASO หรือ App Store Optimization

สิ่งแรกเริ่มที่ต้องวางแผนเป็นสิ่งหลักในแผนการตลาดสำหรับแอพพลิเคชั่นของเราคือ การทำ ASO หรือ App Store Optimization ซึ่งบริการเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีไว้เพื่อง่ายต่อการค้นหาแอพพลิเคชั่นของเรา การทำ ASO นั้นไม่ใช่เรื่องยากมากนักแต่ต้องมีการศึกษาเทคนิคเล็กน้อย บริษัทต่างประเทศอย่าง AppLift นั้นเป็นบริษัทหนึ่งที่น่าสนใจมากในการใช้บริการปั่นอันดับของแอพพลิเคชั่นของเราให้เกิดการดาวน์โหลดมากขึ้น

Traffic Source เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

ส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่นอกเหนือ App Store ทั้งหมด นั้นคือจำนวนการดาวน์โหลดที่ต้องมาจากหลายๆ แหล่งที่มา หรือหลายๆ Source เช่น เว็บไซต์, Blog, การสแกน QR Code จากป้ายโปสเตอร์ หรือจากข้อความ SMS เป็นต้น ซึ่งเจ้า Traffic Source เหล่านี้มีให้เลือกใช้ทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย ที่น่าสนใจนอกเหนือจากการเขียน Blog หรือเว็บไซต์รีวิวแล้ว ก็น่าจะเป็นเรื่องของการทำ Cross Promotionผ่านแอพพลิเคชั่นตัวอื่นๆ ส่วนใหญ่สามารถทำได้ง่าย และใช้ SDK หรือชุดพัฒนาเพียงชุดเดียว ทำการตกลงกับแอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน SDK ชุดเดียวกันนี้มาช่วยโปรโมตให้กันและกัน บริการนี้มากจาก AppLift หรือ Tapjoy ถ้าส่วนของการเสียค่าใช้จ่ายก็หนีไม่พ้น Facebook App Install ที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้เน้นในเรื่องการวางรูปแบบการทำการตลาดของแอพพลิเคชั่นของเราแบบ CPI (Cost Per Install) จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ ARPU (Average Revenue Per User) ให้กับเราได้ว่า ค่าใช้จ่ายต่อหัวผู้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของเรานั้นเฉลี่ยแล้วเท่าไร

เราต้องซื้อโฆษณา CPM, CPC ร่วมกับ CPI ด้วยไหม?

การซื้อการมองเห็น หรือคลิกป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่ทำให้คุณได้ Traffic Sources ที่สูง แต่อาจจะต้องจัดการแคมเปญการตลาดของคุณให้ดีกว่าการทำ CPI เล็กน้อย ROI ที่ได้นั้น ส่วนมากขึ้นอยู่กับช่วงเวลา และประเภทอย่าง Placement Inventory ของแอพพลิเคชั่นที่เราจะทำการเล่นโฆษณาเสียส่วนใหญ่ ทำให้การเสียค่าใช้จ่ายนั้น เพราะการสร้าง Awareness ที่ดีได้มากกว่าการใช้งาน แต่ก็อย่างที่บอก การใช้งาน CPC และ CPM จำเป็นต้องเล่นอยู่ดีเพื่อ ประสิทธิภาพของ CPI ที่เราเล่นไป ถือว่าเป็นการช่วยเหลือกัน

201312181051cb59

จะเห็นว่า วิธีการที่กล่าวมาข้างต้นในการสร้างรายได้ และการวางแผนการตลาดประกอบกับสถิติของแนวโน้มผู้ใช้งาน Mobile แอพพลิเคชั่นในเอเชียที่ยกมาให้นั้น เริ่มเป็นช่องทางที่ Startup สามารถนำไปพัฒนาแอพพลิเคชั่นของตัวเองให้ตอบโจทย์กลุ่มใช้งานกลุ่มนี้ได้ดีขึ้น อีกทั้งการวางแผนของการตลาดผ่านช่องทางนี้ เพื่อรายได้ของเรา อยากให้แบ่ง Segment หรือแผนในการสร้างรายได้ของเราให้ชัดเจนตั้งแต่แรกจะดีที่สุด เพื่อความเป็นที่หนึ่ง และเข้าเล่นในตลาดส่วนนี้ได้อย่างสมบูรณ์ครับ

บทความของผมตัวนี้ถูกตีพิมพ์ที่

Front Cover DEC [outline]

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน