Marketing to mobile

Motorola วิสัยทัศน์ที่ผิดพลาด กรณีศึกษาที่เยี่ยมยอด

หลายคนในเวลานี้อาจจะตื่นตะลึงกับแทบเล็ต Android ที่กำลังเป็นที่จับตาของทั่วโลกอย่าง Motorola Xoom จากบริษัทสัญชาติอเมริกาอย่าง Motorola ไปบ้างแล้ว ซึ่งต้องถือว่า Motorola Xoom นี้น่าจะเป็นคู่แข่งของ Galaxy Tab2 และ iPad2 ได้อย่างสูสีตัวหนึ่งเลยทีเดียว แต่จะมีใครรู้บ้างว่ากว่า Motorola จะมีโปรดักด์ที่ทรงประสิทธิภาพอย่าง Motorola Xoom ตัวนี้นั้น บริษัทที่เคยเป็นผู้นำอันดับต้นในตลาดโลกอย่าง Motorola เคยเดินทางผิดพลาดมาก่อนถึง 2 ครั้ง ที่สำคัญความผิดพลาดของ Motorola  ทั้ง 2 ครั้งนั้นได้ถูกบรรจุให้เป็นกรณีศึกษาแห่งประวิติศาสตร์ของโลกเทคโนโลยีเลยทีเดียวMotorola วิสัยทัศน์ที่ผิดพลาด กรณีศึกษาที่เยี่ยมยอด

StarTAC โทรศัพท์อัจฉริยะที่ปรากฏตัวขึ้นเมื่อปี 1996 ถือว่าเป็นนวัตกรรมของ Motorola ที่ได้รับคำชมในเรื่องรูปลักษณ์ ถูกยกให้เป็นนวัตกรรมที่ออกแบบได้ยอดเยี่ยมแห่งประวัติศาสตร์ และติดอันดับ 6 ใน 50 แกดเจ็ตสุดยอดในรอบ 50 ปีของนิตยสาร PCWorld อีกทั้งยังถูกยกให้เป็นผู้บุกเบิกตลาดโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก (Analog) ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่งในเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ระบบดิจิทัล (Digital) กำลังถูกนำมาใช้ในการสื่อสารอยู่ไม่มาก

Motorola Xoom แทบเลตของ Motorola

Motorola ยังคงยึดถือแนวทางของตนต่อ ยังคงผลักดันระบบอนาล็อกของตนให้ดูเหนือกว่าระบบดิจิทัล โดยเน้นย้ำว่าผู้ใช้งานโทรศัพท์ระบบอนาล็อก 43 ล้านคนทั่วโลก จะไม่มีข้อผิดพลาดเกิดระหว่างการสื่อสารได้แน่นอน ซึ่งเป็นมุมมองที่ชี้ให้เห็นถีงความเชื่อมั่นในศักยภาพของทีมออกแบบระบบ, วิศวกรระบบ ที่สร้างนวัตกรรมสำหรับยกคุณภาพของการใช้งานให้แก่ผู้บริโภคของระบบอนาล็อกได้ดีขึ้นกว่าระบบดิจิทัล ที่เริ่มมีหลายค่ายในตอนนั้นหันมาใช้กันเพราะต้นทุนในการพัฒนาระบบไม่สูงมากนัก

โทรศัพทืมือถือ ระบบอนาลอก StarTAC ของ Motorola

ความเชื่อมั่นดังกล่าวทำให้ Motorola ตัดสินใจลงทุนหลายล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 2 ปี ในการออกแบบโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ เน้นไปที่รูปทรงที่ปราดเปรียว มีสไตล์รองรับระบบอนาล็อกได้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับสูงที่มีกำลังซื้อ และมีรสนิยม โดยสถิติของเครื่องโทรศัพท์ของ Motorola บางรุ่นในตอนนั้นมีราคาสูงถึง 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ทำลายสถิติในการสร้างยอดขายได้สูงถึง 60 ล้านเครื่อง
แต่แล้ว สิ่งที่ไม่แน่นอนที่สุดในโลกเทคโนโลยี นั่นคือคำว่า “เทรนด์” ได้เปลี่ยนไป ทุกค่ายที่ผลิตเครื่องโทรศัพท์มือถือในตลาดโทรศัพท์มือถือทั่วโลกได้พร้อมใจจับมือเดินหน้าเข้าสู่ระบบดิจิทัลNokia และ Ericsson หลายเป็นโทรศัพท์มือถือที่คลองตลาดในยุคการติดต่อสื่อสารผ่านระบบดิจิทัล ด้วยระบบเครือข่ายที่แม่นยำ และต้นทุนในการวางระบบที่ไม่สูงเท่าระบบอนาล็อก เป็นเหตุให้ Motorola สูญเสียตำแหน่งผู้นำตลาดโทรศัพท์มือถือ และยอดขายตกลงมากในระยะเวลาอันสั้น กลายเป็นกรณีศึกษาที่หลายบริษัทต้องศึกษาในเรื่องของวิสัยทัศน์ในด้านการตลาด และเทคโนโลยี ซึ่งกรณีศึกษาดังกล่าวนี้ทำให้โปรดักด์สุดหรูอย่าง Motorola StarTAC กลายเป็นนวัตกรรมรำลึก ส่งท้ายปิดฉากระบบอนาล็อกไปทันที
ในปี 2003 ทาง Motorola ได้ออกมาสู้ศึกใหญ่อีกครั้งด้วยโปรดักด์อีกตัวที่ ถือว่ายังสามารถตีตลาดกลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง ถึงระดับสูงอย่าง Motorola RAZR โดยหันมาใช้ระบบดิจิทัล ตามกระแสอย่างเต็มตัว และยังคงการออกแบบรูปลักษณ์ที่ยังโดดเด่นอยู่เช่นเดิม สามารถสร้างยอดขายได้สูงในรอบประวัติการณ์ แต่ก็ไม่ได้กินระยะเวลายาวนานนักในระยะเวลาอันนั้น Motorola สูญเสียยอดขายในตลาดโทรศัพท์มือถืออีกครั้งให้กับ นวัตกรรมโทรศัพท์มือถือค่ายใหม่อย่าง อุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟนอย่าง BlackBerry ของบริษัท RIM และ iPhone ของ Apple อีกทั้งยอดขายยังคงตกฮวบลงอย่างต่อเนื่องเพราะคู่แข่งหน้าเก่าอย่าง Nokia, Ericsson, น้องใหม่อย่าง Samsung และค่ายอื่น ต่างพากันปรับตัวกันเพื่อรับมือกับเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงในตลาดอย่างรวดเร็วในยุคของสมาร์ทโฟนที่เน้นระบบปฏิบัติการเป็นใหญ่ Motorola กลายเป็นกรณีศึกษาในเครื่องวิสัยทัศน์ทางด้านการตลาดอีกครั้งกับกรณีนี้
Motorola RAZR
กรณีศึกษาด้านวิสัยทัศน์ที่กลายเป็นหนังภาคต่อของ Motorola ถือว่าเป็นกรณีศึกษาที่หลายบริษัทควรศึกษาไว้ ไม่ได้จำเป็นต้องเจาะจงแค่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ หรือ เทคโนโลยี วิสัยทัศน์ และความมั่นใจมีไว้เป็นข้อดีแต่บางครั้งความมั่นใจควรจะไม่ต้องเต็ม 100% อาจจะต้องเผื่อสำหรับสิ่งที่เรียกว่า “เทรนด์” สำหรับเปลี่ยนซัก 20% ก็พอแล้ว
ออกตัวช้ามา 2 ยุคแล้วสำหรับ Motorola คราวนี้บริษัทสัญชาติอเมริกาลองวิ่งออกตัวไล่เลี่ยกับคนอื่นในตลาดแทบเล็ต โดยมีพี่เลี้ยงมาจากแผ่นดินใหญ่ ก็หวังว่าคงจะไม่มีกรณีศึกษาภาคต่อเป็นภาคที่ 3 ก็แล้วกัน
อ้างอิง:
BusinessWeek, “How Motorola lost its way”,4 May 1998
US News,“10 Great Companies that Lost Their Edge” Website http://www.usnews.com, 2010
Wikipedia
คิด,TCDC
i3 Technology

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน