Marketing to mobile

BlackBerry วิกฤติ “ล่ม” หรือ “ต้องรอด”

โลกของการสื่อสารได้เปลี่ยนแปลงไปเร็วมากในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะส่วนแบ่งของตลาดสมาร์ทโฟนที่เป็นส่วนที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด จากวันหนึ่งเป็นของ Nokia มานาน แต่หลังจากนั้นก็กลายมาเป็น BlackBerry ที่กลายเป็นหนึ่งกระแสที่ฮิตมากช่วงหนึ่ง

BlackBerry ล่มหรือรอด!

ตอนนี้ทุกสิ่งเปลี่ยนไป เมื่อวันที่ Apple และ Android ได้เข้ามากินส่วนแบ่งการตลาดด้วย Featured ที่โดดเด่นทำให้ขาใหญ่ที่เคยครองตลาดต้องสั่นสะเทือน และในช่วงนี้บริษัทที่ได้รับผลกระทบถึงขั้นย่ำแย่มากที่สุดคือ BlackBerry

บริษัท RIM ผู้นำด้านการสื่อสารจากแคนาดา ที่ได้ออกแบบสมาร์ทโฟน BlackBerry โทรศัพท์อุปกรณ์สื่อสารเอกลักษณ์ชนิดที่มีคีย์บอร์ดในตัว โดดเด่นในเรื่องของระบบความปลอดภัยในเรื่องของการเชื่อมต่ออีเมล จากนอกสถานที่ทำงานอย่างที่ครั้งหนึ่งที่ Microsoft เคยได้พัฒนาไว้โดยพัฒนามาต่อยอดจากอุปกรณ์ PDA อย่างระบบปฏิบัติการ Windows Mobile เป็นต้น

จนกระทั่งปี 2007 กับการเปิดตัวสมาร์ทโฟนที่เปลี่ยนโลกอย่าง iPhone โดยบริษัท Apple ก็ได้เปลี่ยนโลกธุรกิจสมาร์ทโฟนไปทันทีซึ่งตัวเครื่องสมาร์ทโฟน iPhone นั้นจะทำกำไรฟื้นฟูให้แก่บริษัท Apple ชนิดที่ว่าขายดีเป็นประวัติการณ์แล้ว ส่วนหนึ่งของโอกาสในเรื่องของประสบการณ์ผู้ใช้งานที่ยืนบนพื้นฐานของ หน้าจอ Touch Screen และ User Interface เรียบง่าย ยังเป็นจุดเกิดที่ดีให้แก่บริษัท Google กับการเปิดตัวระบบปฏิบัติการ Android ประกอบกับทาง Google ที่มีหมากในการเดินเกมด้านการตลาด ทำให้สมาร์ทโฟนทุกรุ่นที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android นั้นมีการกระจายตัว และขายดีกว่า iPhone ในเรื่องของความต่างของราคาอีกด้วย

BlackBerry ล่มหรือรอด!

อย่างไรก็ตามแม้ว่าสมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple บน iPhone และระบบปฏิบัติการ Android ของ Google จะมีการแข่งกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดให้มากขึ้นเท่าที่จะทำได้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ จากการแก่งแย่งชิงดีระหว่างสมาร์ทโฟน 2 เจ้านี้ก็คือผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเก่าที่แม้ว่าจะพยายามปรับตัวยังไง ก็ไม่อาจจะสร้าง Feature ใหม่ๆ ให้ออกมาดีเทียบเท่าได้ กลายเป็นว่าส่วนแบ่งทางด้านการตลาด และรายได้ก็มีอันลดลงอย่างต่อเนื่อง

เจ้าที่โดนผลกระทบมากที่สุด น่าจะหนีไม่พ้น RIM ผู้พัฒนาสมาร์ทโฟน BlackBerry ที่ตอนนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการรั้งท้ายในการแข่งขันด้านธุรกิจ การปรับตัวล่าช้าเกินไปจนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ดำเนินเทียบเท่าคู่แข่ง ซ้ำร้าย RIM ในสายตาของนักวิเคราะห์ด้านการตลาดนั้น ถูกวิจารณ์ตรงๆ ว่าเป็นองค์กรเดียวที่ยังยึดติดกับความสำเร็จเดิมๆ ตั้งแต่ตั้งบริษัทมา ระบบที่ยังคงใช้ปุ่มกด ไม่มีการสัมผัส แม้จะมีรุ่นที่มีการสัมผัสก็ไม่สามารถทำได้ดีเทียบเท่าระบบปฏิบัติการอื่น ซึ่งปัจจัยหลังก็ เจ้าที่ไม่น่าจะต่างกับปัญหานี้ก็คงหนีไม่พ้น Symbian ของ Nokia และ Windows Mobile ของ Microsoft

ปัญหาภายในของ RIM เองก็เป็นอีก Factor หนึ่งนอกจากตัวระบบปฏิบัติการแล้ว RIM ยังมีปัญหาอีกมากให้แก้ไข ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่นิยมการแข่งขัน ท้าทาย อยู่กับความสำเร็จเดิม อีกทั้งโครงสร้างของฝั่งบริหารไม่สร้างความเชื่อมั่นจากผู้ถือหุ้น และนักลงทุน ที่จะไว้ใจ และเชื่อใจว่ากลุ่มผู้บริหารเหล่านี้จะสามารถแย่งคืนส่วนแบ่งทางการตลาดที่โดนกินไปกลับมาได้

BlackBerry ล่มหรือรอด!

วิกฤติที่ย่ำแย่ของ RIM ในตอนนี้แง่ของผลประกอบการ ไปจนถึงความสามารถในการแข่งขันแย่งส่วนแบ่งการตลาด นักวิเคราะห์และนักลงทุนหลายรายเริ่มลงมติเห็นว่า RIM นั้นควรจะตัดสินใจขายกิจการไปซะ  เป็นทางเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ยิ่งถ้าบริษัท RIM ยังไม่สามารถกูหน้าในเรื่องของการแข่งขันในท้องตลาดได้ และทำการขายกิจการซึ่งถ้าหากว่าไม่สามารถหานายทุน หรือนักธุรกิจที่จะเข้ามาซื้อกิจการได้ ในระยะยาวเป็นไปได้ว่าธุรกิจหลักของบริษัท RIM มีโอกาสที่หดตัวเล็กลงไปตามเวลา จนกระทั่งถึงเวลาอวสานบอกลา BlackBerry ได้เลย

ทำให้ช่วง 1 ปีต่อจากนาทีนี้กับกลยุทะ์ด้านการบริหาร แผนธุรกิจของบริษัท RIM จะเป็นอะไรที่น่าจับตามองมากขึ้น เพราะมันคือสิ่งที่วัดผลได้ 2 อย่างคือ ถ้าหากกู้หน้ากลับมาได้ BlackBerry มีสิทธิที่จะผงาดขึ้นได้แน่นอน แต่ถ้าหากว่าไม่สำเร็จ เราก็คงจะต้องพร้อมใจกันบอกลาเจ้า BlackBerry ตัวนี้กันได้เลย

อุทธาหรณ์สอนใจเรื่องนี้อาจจะทำให้หลายคนรู้จากรณีของ RIM หรือ BlackBerry ว่าการพัฒนาสมาร์ทโฟนที่มีฟังก์ชันเก่าและไม่เข้าตาผู้บริโภคในสมัยนี้เลย ไม่สามารถตอบโจทย์ของไลฟ์สไตล์ ท่องเว็บ เกม แอพพลิเคชันแต่งภาพ หรือเพลย์มีเดียอื่นๆ ได้เหมือนกับที่สมาร์ทโฟนตัวพ่อ 2 เจ้าอย่าง iPhone และ Android ได้ก็อาจจะเป็นสัญญาอย่างที่ RIM โดนนั่นคือ จะมีผู้บริโภคหลายคน หันหลัง และไม่เหลียวมาแล อีกเลย

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน