Article for Mobile

#WhyWeCheckIn ทำไมต้อง Check-In?

ตอนนี้ถ้าหากว่า สมาร์ทโฟนรุ่นไหนไม่สามารถ Check-In ได้เจ้าสิ่งนั้นไม่ใช่สมาร์ทโฟน มันคือความจริงครับเครือข่ายสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเทรนด์ด้าน Location Based Service หรือ LBS อย่าง foursquare, Facebook Place และ Gowalla ไปจนถึงตัวอื่นๆ มีการใช้ Check-In เพื่อบอกพิกัดเป็นลูกเล่นเก็บคะแนน ทำให้กลุ่มผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเริ่มหันมาจับกลุ่ม Check-In กันมากขึ้นตั้งแต่ปี 2010 แต่เคยสงสัยไหมครับว่าสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่ต้อง Check-In ได้นั้น เราเช็คกันไปทำไม หากให้ตัดส่วนของการตามล่า Badge ไปแล้วเหตุจูงใจอื่นๆ ของเราคืออะไรกันแน่ เอาเป็นว่าลองมาตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับประโยชน์ของการ Check-In เบาสมองกันดูครับว่า “ทำไมต้อง Check-In”

ทำไมต้อง Check-In

ทำไมต้อง Check-In

1. เพื่อใช้พิกัด Latitude และ Longitude ให้คุ้มค่า

2. ถ้าคุณไม่ Check-In ซะหน่อย คนอื่นอาจจะคิดว่าคุณยังคง Chat ผ่าน IRC32, ICQ อยู่

3. เพื่อสะสมเข็ดกลัด Badge เพื่อเอาไปแลกของ

4. เพื่อบริหารนิ้วมิให้อยู่ในภาวะว่างเว้น

5. ถ้าไม่ Check-In ก็คงจะเข้าพักไม่ได้ (เกี่ยวเปล่าวะ)

6. ให้บรรดาแฟนคลับของเราทั้งหลายตามตัวได้ถูก

7. ให้เจ้านายรู้ว่าที่ไม่เห็นหัว เพราะมัวแต่ไปพบลูกค้า (Check-In ออฟฟิศลูกค้า เข้าพบหรือไม่อีกเรื่อง)

8. ให้รัฐมนตรีกระทรวง ICT รู้ว่า foursquare นี้ดีมีประโยชน์ และจัดสรรงบประมาณสนับสนุน

9. เพื่อบริหารสมองด้วยการบวกเลขแต้มที่ได้

10. ให้รู้ว่าชีวิตนี้อยู่บ้านบ่อยแค่ไหน

11. ให้โลกรู้ว่าข้านี้กินแต่อาหารดีๆ

12. ให้รู้ว่าเราไม่ได้กินร้านอาหารแค่ร้านเดียว เปลี่ยนได้หลายๆร้าน หลายๆวาระ

13. ให้เพื่อนๆ ได้เข้ามาแสดงความอิจฉา

14. ทำให้ผอม เพราะระหว่างที่ Check-In อาหารก็เย็นชืดจนไม่อร่อยกินไม่หมด

15. ให้ร้านตามสั้งแถวบ้านได้ขึ้นไปอยู่บน Internet กับเขาบ้าง

16. เพราะชอบกินไก่ ไอ้คำว่า Check-In ดูๆ ไปมันก็คล้ายกับคำว่า Chicken

17. ให้รู้กันไปเลยว่าปาร์ตี้อยู่ ไม่ว่าง!

18. ให้เพื่อนรู้ว่าจะมารวมตัวกินเหล้าที่บ้านเราไม่ได้ (เพราะเราไม่อยู่บ้าน)

19. จริงๆ แล้วมันเป็นเคล็ดให้เดินทางปลอดภัย

20. ทำให้ไม่ต้องไปทำงาน เพราะมัวแต่ Check-In แล้วเดินตกถนน หรือโดนรถชน

21. เพื่อให้เธอคนนั้นรู้ว่าฉันยังคงรัก และรอเธออยู่ตรงนี้

22. ช่วยให้เรา Check-In ที่วัดใกล้บ้านได้ทั้งๆ ที่ตัวเราอยู่ที่บ้าน ทำให้ดูเป็นคนมีศีลธรรม

23. สำหรับหนุ่มๆ ทำให้เราเป็นคนกร้านโลกได้ง่ายขึ้น ด้านการ Check-In หลากหลายสถานที่

24. สำหรับสาวๆ ก็สามารถทำให้เราเป็นผู้หญิงกร้านโลกได้เช่นกัน

25. เพิ่มทางเลือกกิจกรรมในวันหยุดด้วยการไล่ Check-In ตามสถานที่ต่างๆ แทนที่จะต้องเสียเงิน และเวลาไปทำอย่างอื่น

26. ให้รู้ว่ามีใครอยู่ที่ร้านอาหารใกล้ๆ จะได้ไปตามให้เขาเลี้ยงข้าวได้

27. Check-In ระหว่างรถติด ซึ่งไม่ใช่ปลายทางจริงๆ จะทำให้แฟนเราลดอาการงอนได้

28. สับขาหลอกเจ้าหนี้

29. ช่วยให้เราเป็นเจ้าที่ได้โดยไม่ต้องตายเสียก่อน

30. [เพิ่งเพิ่ม] ช่วยให้ทราบว่าสถานที่หนึ่งมีหลายชื่อเรียก Esplanade, Esplanard, เอสพลานาด, เอสพลานาร์ด

31. สามารถเขียนใน Resume ตอนสมัครงานได้ว่ามีประสบการณ์ในการเดินทางสูง

32. ช่วยให้มีแฟนง่ายขึ้น เพราะเราสามารถที่จะเดินชนคนที่จะมาเป็นเนื้อคู่ของเราขณะก้มหน้าก้มตา Check-In ได้อย่างไม่ผิดปรกติ

33.อีกวิธีหนึ่ง ถ้าเขา Check-In อยู่แถวนั้นอยู่แล้ว เนียน Add Friend ไปขอคำแนะนำสถานที่แล้วค่อยจีบซะ

34. ช่วยกระจายความเจริญให้เท่าเทียม เพราะแม้ว่าจะเป็นสถานที่ไกลปืนเที่ยง ก็ยังคงมีจุดให้ Check-In

35. อย่างน้อยเวลาเราเกษียณไปแม้จะไม่มีเงินซื้อบ้านของตัวเอง แต่ก็ยังมีที่เป็นของเรา (Mayor)

36. ทำให้เราเลี่ยงจะไม่ไปอยู่ในที่ที่เดียวกับคนที่เราไม่ชอบหน้า

37. ให้คนอื่นได้ทราบว่าตรงตำแหน่ง Check-In นี้น้ำยังไม่ท่วม

38. ทำให้เราสัมผัสถึงประสบการณ์การเป็นฑูตวัฒนธรรมแนะนำแห่งหนตำบลต่างๆ ให้โลกได้รู้จัก

39. ให้รู้ว่าเมืองไทยมีอะไรมากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นเตียงของคนๆ นั้น รังรักของคนๆ นี้ และสี่แยกไฟแดงของพี่คนนู้น

40. ช่วยสอนให้เด็กในยุคหลังได้รู้สัจธรรมที่ว่าทุกตารางนิ้วบนโลกใบนี้ล้วนมีเจ้าของหมดแล้ว

41. ทำให้ลดความยึดมั่นถือมั่น และเกิดความรู้สึกปล่อยวาง เพราะแม้แต่บ้านของเรายังสามารถจะกลายเป็นจุด Check-In ของคนอื่นได้โดยง่าย

42. สุดท้ายแล้วทำให้เรารู้ว่า ไม่จำเป็นเสมอไป ที่อะไรๆ เมื่อมีเข้าแล้วก็ต้องมีออก เพราะไม่เคยเห็นมีใครพกสมาร์ทโฟนที่ Check-In แล้ว Check-Out ให้เห็นสักคน

สำหรับเพื่อนๆ ที่มีไอเดียเกี่ยวกับคำถามที่ว่า ทำไมเราต้อง Check-In ลองทวิตเหตุผลผ่าน #WhyWeCheckIn กันได้เลยครับ

ขอขอบคุณ น้องรณ และ ทีมงาน i3 TechGuide ทุกคนครับสำหรับไอเดียดีๆ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน