Marketing Ideas

Interest War เมื่อสิ่งที่คุณสนใจคือกลไกของการตลาด

เป็นระยะเวลาไม่นานนักที่ Pinterest เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดฮิตโดยเฉพาะเหล่า Influencer และ Brand ดังหลายเจ้าเริ่มเข้าไปปักหมุด อีกทั้งผู้ใช้งานทั่วไปอย่างพวกเราก็นิยมใช้บริการเพราะความสวยงาม ง่าย และเป็นอะไรที่บ่งบอกไลฟ์สไตล์ผ่านความ “สนใจ” ของเราต่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ในตอนนี้เหล่าทางเลือกของบริการ Share your Interests นั้นก็ปรากฏขึ้นมามากมาย ทั้งที่เคยสร้างมาก่อน, Re-Branding และ Re-Engine ก็ได้โผล่ขึ้นมานำเสนอทั่วทุกมุมโลก ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งการแบ่งปันสิ่งที่คุณสนใจ

แชร์ สิ่ง ที่ เรา (กู) สนใจ

การตลาดผ่าน Socail Media Marketing อย่าง Pinterest กับกลุ่มผู้ใช้งานในประเทศไทยนั้นได้พิสูจน์ให้คนไทย และหลายแบรนด์ในประเทศไทย และทั่วโลกได้ทราบแล้วว่า ผู้หญิง คือกลุ่มที่มีอิทธิพลกับบริการ แชร์สิ่งที่สนใจ และเป็น กุญแจสำคัญแก่แบรนด์สินค้าเสื้อผ้า กระเป๋า และเครื่องสำอางค์ มากมายให้ได้รับรู้สัญญาณว่า นี่แหละคือขุมทรัพย์ที่น่าแสวงหา และน่าลงทุน เพราะสัดส่วนของผู้หญิงที่ใช้บริการ Pinterest นั้นอยู่ที่ 87% โดยที่ผู้ชายกลับมีกลุ่มที่ใช้งานอยู่ที่ประมาณ 13% เท่านั้น การเติบโตของ Pinterest นั้นส่งผลให้หลายผู้ให้บริการ Social Bookmark ต้องร้อนๆ หนาวๆ กันเป็นการใหม่บางรายถึงกลับต้องเปลี่ยน UI หรือหน้าเว็บให้มีรูปแบบที่คล้ายคลึง และใกล้เคียงกันกับ Pinterest ซึ่งไม่รู้ว่าเพราะอะไร ที่ UI ดังกล่าวจึงได้รับความนิยม และนั่นก็เป็นคำถามสำคัญที่ทำให้ผมสงสัย

เพราะว่าเพียงระยะเวลาไม่นานต่อมา บริการมากมายที่ใกล้เคียง Pinterest ทั้งฟังก์ชัน และการนำเสนอจะแตกต่าง หรือเหมือนกันมากแค่ไหน ซึ่งก็คงไม่สำคัญเท่าไรนัก ที่สำคัญคือไม่ว่าจะมีบริการใหม่เกิดก่อนเกิดหลัง โดนด่าว่าเลียนแบบ หรือถูกเลียนแบบหรือไม่ยังไง บริการ แชร์สิ่งที่สนใจก็ยังคงมีกลุ่มคน เข้าไปใช้บริการ และสร้าง Community กันอย่างหนาแน่น ให้เห็นอยู่หลายเว็บไซต์

Friendsheet “The Best Photo Browser for Facebook”

Friendsheet กับ Facebook

แน่นอนว่าคอนเซ็ปของ Friendsheet นั้นจะเน้นที่ Photo for Facebook เพื่อให้ไว้ช้สำหรับแชร์ก็ตาม แต่ถ้าดูในเรื่องของ UI และ UX (User Experience) แล้วล่ะก็สร้างประสบการณ์การใช้งานได้ไม่ต่างกับ Pinterest เลยครับ การใช้งานหลักๆ ของ Friendsheet หลังจากทำการเชื่อมต่อกับ Facebook ของเราไปแล้วนั้น

ทำการเชื่อมต่อกับ Facebook

หน้า Wall เพื่อนมาเต็ม Freindsheet เหมือน Pinterest

หน้าจะที่ปรากฏจะคล้ายคลึงกับ Pinterest เลยครับเพียงแค่คอนเท็นต์ที่ปรากฏ ขึ้นบน Friendsheet นั้นจะเป็น Photo ที่เกิดจากเพื่อน หรือ Fan Page ของเราทำการแชร์ไว้ให้เราได้เห็น ซึ่งบริการของ Friendsheet นั้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์คือ เหล่า Admin Fan Page ของแบรนด์สินค้าที่น่าจะได้โอกาสทำ Viral Marketing ไปอย่างเนียนๆ ผ่านการนำเสนอบน UI สวยๆ แบบ Pinterest ซึ่งมีผลต่อการถูกคลิกมากขึ้น และแชร์มากขึ้นครับ

เป็นภาพ Wall ของเพื่อนๆใน facebook ทุกคน

ตามไป ลองเล่นดูกันที่ Friendsheet

Garretz: “The Social Community”

Garretz:

อีกหนึ่งบริการที่ยึดหลักของการแชร์สิ่งที่สนใจ ที่ใกล้เคียงกับ Pinterest ครับ เพียงแค่เริ่มต้นอาจจะสงสัยนิดหน่อย เหมือนที่ผมสงสัยว่า “ทำไมภาษาเกาหลีมันเยอะจัง” ก็เป็นไปได้ครับว่า Blue Ocean แน่ๆ หากว่าคุณต้องการเล่นแคมเปญกับลูกค้าต่างชาติอย่างประเทศเกาหลี กันมันที่นี่ดีกว่าไปหว่านแห หาคนเกาหลีจาก Pinterest และก็ทำให้เราได้มุมมอง แนวคิดอีกเรื่องเกี่ยวกับการทำ Social Media Marketing แบบชาตินิยม ไม่ได้มีแค่ประเทศจีน และญี่ปุ่น ในเอเชียแล้วล่ะครับ

อีกหนึ่งบริการที่ยึดหลักของการแชร์สิ่งที่สนใจ ที่ใกล้เคียงกับ Pinterest ครับ

เกาหลีเองก็ใช่ย่อยหลังจากไปเอาดีกับเรื่องศิลปิน และเกมออนไลน์มาครึ่งชาติเพื่อหลอกหลอนเด็กไทยเสียเงินเสียทอง และได้เงินได้ทองกับกีฬา E-Sport มานานนม (ต้องขออภัย นี่เป็นความเห็นส่วนตัวที่ผมเองก็คลุกคลีกับธุรกิจนี้ ผมว่าธุรกิจอื่นที่พาดพิง ส่วนตัวแล้วผมว่าอาชีพ Gamer ไม่ใช่อาชีพที่น่ารับภูมิใจนักสำหรับผม รวมทั้ง Game Planer ด้วยเพราะในประเทศไทย Game Planner คือคนติดต่อประสานงาน ไม่ใช่คนคิด Strategy ของเกมในการขั้นตอนการพัฒนาเกมจริงๆ เกมคือความบันเทิง มันไม่ใช่กีฬา! แม้ Gamer ทั่วโลกจะว่าเป็นกีฬาก็เถอะ! และจะน่าภูมิใจถ้าเด็กไทยม่ชื่อในการพัฒนาที่เก่งมากกว่า การเป็นแค่ผู้เล่นที่เก่ง) อ่ะเข้าเรื่องต่อ ยาวไปนิด… ก็ลองไปสัมผัสกันดูครับ Pinterest เวอร์ชันเกาหลี ที่ Garretz

i am trend

i am trend คนไทยเล่นเยอะแล้วครับ

บริการที่ไม่ได้เหมือนกับ Pinterest ในแง่ของ UI ครับแต่สำหรับฟังก์ชันการใช้งานที่ เหมาะสำหรับเราเข้าไปแชร์ สิ่งที่สนใจ ทั้ง สถานที่ที่เราชอบไปเช่น ร้านอาหาร สถานที่ที่วิวสวยๆ รูปถ่าย ก็หนีไม่พ้นภาพถ่ายเหมือนที่เราเล่น Instagram แชร์ภาพยนตร์จาก YouTube และรีวิวเหมือนให้ Rating กับภาพยนตร์ที่เข้าโรง และสุดท้ายคือแชร์เพลงที่เราชอบให้เพื่อนๆ ฟัง และแชร์บอกต่อกัน

แชร์สิ่งที่เราสนใจครับ แชร์ไปให้เต็มที่

ผมเองก็เล่นไป ระดับหนึ่ง

อีกทั้งมีระบบ Badges ให้สะสมและมี Interface ภาษาไทย เพราะนักพัฒนาคือฝรั่ง ที่อยู่เมืองไทย (หรือเปล่า? อันนี้ไว้ใครรู้ก็ค่อยบอกนะ) ซึ่งคะแนนการบอกต่อ และการแชร์จะบ่งบอกความเป็น Influencer ทำให้กระแสที่เราสร้างจะไม่ตกยุคได้ง่ายๆ (หากว่าเราขยันพอ) ใครที่อยากลองไปเล่นก็ไปที่ i am trend ครับ เพื่อนๆคนไทยเล่นกันเยอะดี

Via.me โดย PeerPerks

เครือข่ายของ PeerPerks

แน่นอนว่าบริการของ Via.me นั้นก็คงหนีไม่พ้นเรื่องที่สนใจ แล้วเราก็แชร์ออกไป ให้กลายเป็นกระแสซึ่งก็อยู่ที่ว่าเรามีเพื่อนมากแค่ไหน ซึ่งเจ้า Via.me นี้เป็นบริการที่ถูกแชร์เรื่องของภาพ และวีดีโอ ซึ่งมีโครงการนำร่องในการแนะนำหลักๆ คือ PeerPerks เว็บไซต์ PeerPerks ซึ่งก็มีการแชร์สถานที่ Exclusive น่าเที่ยวและหลายๆ เรื่องราวให้เราได้รู้กัน แต่ตอนนี้ขอเน้นไปที่ Via.me ครับ

ลองไปเล่น Via.me กันดูครับ

สำหรับ Via.me ก็มีความหมาย ตรงตามชื่อเลยครับ นั่นก็คือ About Me หรือ “โดยกูนี่แหละ” ให้เพื่อนๆ ของเราในเครือข่ายได้เข้ามาดูว่าเราสนใจ อะไร แชร์อะไรถ้าโดนใจเพื่อนของเราที่มี รสนิยมเหมือนกันก็เป้นอันกอดคอพากันแชร์มากขึ้น เพื่อหาเครือข่ายคนที่นิยมชมชอบรสนิยมเดียวกันครับ กับเว็บไซต์ Via.me

จุใจเลยไหมล่ะครับ เอามาให้เป็นตัวอย่างแค่นี้ก่อน จริงๆ เว็บไซต์ประเภท Pinterest หรือ Interest and Share พวกนี้มีเยอะครับ และ UI ก็ไปแนวทางเดียวกันหมดคือ เน้นให้เหมือนการปักหมุด และขยุ้มภาพทั้งหมดมาอยู่บนบอร์ดหรือกระดาน เพื่อให้เกิดภาวะของการกวาดสายตา และสะดุดตาซึ่งก็จะอยู่ที่ความเด่นของภาพใดภาพหนึ่ง และที่สำคัญมันทำการตลาดได้ผลครับ และตอนนี้ก็คงต้องยอมรับว่าการแชร์สิ่งที่สนใจ ของเรามากขึ้นให้เพื่อนหรือคนที่ติดตามเราได้รู้ ได้เห็น ให้เข้ามาชอบได้กลายเป็นเทรนด์ที่สะท้อนให้เห็นว่า ใครก็ตามที่อยู่บน Social Media นี้สามารถเป็นผู้นำเทรนด์ได้ง่ายๆ อย่างน้อยๆก็เริ่มต้นที่รสนิยมของคุณในสิ่งใดสิ่งหนึ่งครับ 🙂

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน