Advance

มารู้จัก MailChimp บริการ E-Mail Marketing ของดีกันหน่อย

สำหรับเคล็ดลับ Social Media Marketing ฉบับจับมือทำรอบนี้ก็คงหนีไม่พ้นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย และสามารถวัดผล ROI ให้กับแคมเปญการตลาดของเรา เครื่องมือที่จะยกมาให้รู้จักกันวันนี้คือ เครื่องมือสำหรับทำการตลาด และจัดการข่าวสารให้ถึงมือสมาชิกผ่านอีเมล หรือที่เรารู้จัก E-Mail Marketing ที่มีชื่อว่า MailChimp เป็นแอพพลิเคชันหนึ่งที่เราสามารถใช้งานได้ง่ายๆ โดยสามารถค้นหาผ่าน Google และ Chrome WebStore ครับ

บริการของ MailChimp

เพราะว่า อีเมลยังคงเป็นเครื่องมือการตลาดพื้นฐาน ที่ยังไปถึงมือคนทุกกลุ่มได้อยู่เสมอ ทั้งบนหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี และสมาร์ทโฟน ยังไงผู้คนทั่วไปก็คงต้องเช็คอีเมลของตนอยู่ตลอดเวลา และ E-Mail Marketing นั้นก็ยังเป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ยังคงวัด ROI ได้เสมอ ธุรกิจ E-Mail Marketing จึงยังคงมีอยู่ และมีให้เลือกใช้มากมาย

ฟังก์ชันธุรกิจหลักๆ ของ MailChimp

แต่สิ่งที่ท้าทายที่สุดนั้น  นอกจากเนื้อหาโปรโมชันของแคมเปญจะดีจริง ก็คงหนีไม่พ้นระเด็นการติด Junk Mail ซึ่งถ้าไปลงใน Junk การตลาดของเราก็คงจะเกิดยากล่ะครับ และยิ่งเสียเงินจ้างบริษัทรับส่ง E-Mail Marketing ราคาแพง แล้วยังลง Junk อยู่ก็เป็นอันจบครับ สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ในเมื่อจะลองตลาดทั้งทีทำไมเราไม่ลอง หาอะไรฟรีๆ ทดลองใช้ดูก่อน ซึ่งผมก็เลยต้องแนะนำเจ้า Mail Chimp ครับ มันมีอัตราที่เรียกเก็บเงินตามตารางบริการของมัน แต่บริการฟรีของมันก็มีนั่นคือ โควต้าของการส่งให้ลูกค้า หรือ Subscriber ฟรีนั้นอยู่ที่ 2,000 อีเมลต่อวัน 12,000 อีเมลในการส่งต่อเดือนครับ ว่าแล้วก็เข้าไปที่เว็บไซต์กันหน่อยดีกว่าครับ http://www.mailchimp.com เมื่อเราเข้ามาที่เว็บไซต์ของ MailChimp แล้วให้ลองสมัครสมาชิกก่อนเลยครับ ที่ปุ่ม Sign Up Free แล้วก็กรอกตามที่เว็บไซต์ขอนั่นแหละครับ

เข้าสู่ระบบของ MailChimp

ต่อจากนั้นครับ ให้เราทำการ Confirm อีเมลของเราแล้วเข้าสู่ระบบหน้าเว็บไซต์ด้วย Username และ Password ที่เราสมัครไว้ครับ แล้วก็ทำการ Import Subscribe  หรือชายชื่อและอีเมล์ขึ้นไป ซึ่งอาจจะเป็นไฟล์นามสกุล .CSV หรือจะไล่กรอกก็ได้ตามที่เราถนัดครับ สำหรับไฟล์ CSV นั้นให้คั่นแต่ละช่วงข้อมูลด้วยเครื่องหมาย “,” หรือคอมม่า นะครับ เช่น

Email,FirstName,LastName

แล้วก็เคาะ Enter แล้วก็ตามด้วย

[email protected],Banyapon,Poolsawasd

อะไรทำนองนี้ครับ อีเมล และชื่อ บรรทัดละคนนะครับห้ามเกิน 2,000 ตัว(บรรทัด) เมื่อเข้ามาแล้วจะมี หน้าจอการจัดการ แคมเปญของอีเมลให้เลือก ก็แล้วแต่จะเลือกนะครับ อาจจะเป็นจดหมายเชิญชวน จดหมายเกี่ยวโปรโมชัน แต่ที่ผมชอบที่สุดคือ RSS Driver ครับ เพราะว่าเวลาที่เรากรอก RSS ของเว็บไซต์เราที่อาจจะสร้างมาจาก เว็บไซต์เราเอง, Fan Page RSS ของเรา หรือ Wordpess, Joomla แล้วมันจะสามารถตั้งให้ส่งอีเมลจาก MailChimp ได้อัตโนมัติตามเวลาที่กำหนดให้ส่ง หรือเมื่อมีบทความใหม่ได้อัพโหลดขึ้นไปครับ เพื่อนๆใน ลิสอีเมล์ของเราก็จะได้อัพเด็ตกันทันทีโดยเราไม่ต้องทำไรมาก

ตัวอย่างเลือก RSS

เมื่อทำการเลือกรูปแบบ RSS-driven แล้วก็ทำการหา URL ของ RSS Feed มากรอกแล้วตั้งค่าเบื้องต้นตามที่เว็บไซต์อธิบายครับ

บริการของ MailChimp

ทำการเลือกตั้งค่าด้านขวาที่เราต้องการ Track ตรวจจับความก้าวหน้าของอีเมลเวลาส่งไปยัง Inbox ครับ ซึ่งมีทั้ง Google Analytics  ให้ใช้ได้ด้วย

ตััวอย่างการตั้งค่าของอีเมล์

กดปุ่ม Next ครับตามขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการเลือกการจัดรูปแบบหน้าแสดงผลอีเมลของเราครับ ซึ่งแบบ RSS จะมีรูปแบบของมันอยู่แล้วครับ

ทำการเลือกแบบ Template ของอีเมลที่จะส่งไป

รูปแบบอีเมล์ที่ผมเลือก แบบ RSS-Driven

กด Next อีกครั้งจะเป็นการเข้าไปตั้งค่า Plain Text ของอีเมลครับ กรณีที่ Subscriber ของเราเค้าอยากอ่านแบบ Text ธรรมดา

ตั้งค่า Plain Text ได้

เมื่อเสร็จแล้วก็จะเข้าสู่หน้าจอการเตรียมความพร้อมก่อนส่ง อีเมลหากมีคำเตือนใดๆ จะไม่สามารถส่งอีเมลได้ จนกว่าเราจะเข้าไปแก้ไขครับ

เตรียมความพร้อมก่อนส่ง

เมื่อพร้อมแล้วเราก็ต้องทดสอบส่งก่อน การทดสอบให้เลื่อนลงมาข้างล่างครับ ทำการ Test Send ตามรูป แล้วกรอกอีเมลที่เราต้องการทดสอบลงไป

ทดสอบกันหน่อย

สามารถตั้งเวลา ให้ส่งล่วงหน้าได้ ตามรูปประกอบด้านล่าง

หน้าจอตัวอย่าง ของ MailChimp

เรื่องสุดท้ายที่น่าทึ่งคือ หลังจากที่เราทำการส่งอีเมลผ่านระบบของ MailChimp ไปแล้วเราสามารถเข้ามาดู รายงาน หรือ Report ที่ออกแบบอย่างเรียบง่าย ดูดี และวิเคราะห์ได้ว่า ส่งไปกี่อีเมล ถูกเปิดอ่านกี่คน และ ยกเลิกสมาชิกในการรับอีเมลไปกี่คน

หน้าจอของระบบรายงาน สถิติ

เป็นเครื่องมือที่เอนกประสงค์ครบถ้วนจริงๆ ใช่ไหมครับสำหรับ MailChimp แล้วผู้อ่านจะรอช้าอยู่ทำไม ถ้าเป็น SMEs แล้วประหยัดไว้ก่อน แล้วมาใช้ของฟรีกันหน่อยดีกว่า กับเครื่องมือดีๆ มีคุณภาพแบบนี้ครับ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน