FeaturedInbound MarketingMarketing StrategySEOSEO Case StudiesSEO for MarketingSocial for BusinessSocial MediaSocial MediaSocial Media MarketingSocial NetworkTechnologyThe Thinker

ถ้างบโฆษณาเหลือเอามาลง Digital Media เลือกสื่อแบบไหนดี?

สายงานออนไลน์ หรือโฆษณา Media จะต้องพบกับภาวะของลูกค้า หรือทีมตัวที่มีงบโฆษณาเหลือ และอยากจะลองลงโฆษณาผ่าสื่อ Digital นั้นจะต้องทำยังไง?อยู่ในสายงานโฆษณาออนไลน์ หรือ Digital Agency มานานมักจะเจอคำถามตัวใหญ่ๆ อย่างหัวข้อของบทความ อย่างน้อยๆ ถ้ามีลูกค้าในมืออยู่ 10 รายก็อย่างต่ำ 6 รายต้องถามคำถามนี้ ประมาณว่าถ้ามีงบการตลาดหรืองบโฆษณาเหลือใช้จากการจัดทำแคมเปญ หรือ อีเว็นต์ออฟไลน์ แล้วเจ้านายหรือผู้บริหารของคุณลูกค้าผู้น่ารัก ก็มักจะไปได้ไอเดียจากงานสัมมนามากมาย เกี่ยวกับ การตลาดดิจิตอล (Digital Marketing) หรือการทำโฆษณาออนไลน์ (Online Marketing) แล้วก็มักจะทิ้งโจทย์แบบกล้าๆ กลัวๆ ไม่ค่อยมั่นใจ แต่ก็อยากจะสยิว กับการลองเล่นโฆษณาบนสื่อดิจิตอลเพื่อเรียกคนไปยังแดนสนทยาที่แห่งนี้ หน้าเว็บไซต์ อย่าง Landing Page หรือ Hub Page , หน้าร้านค้า, เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่าง Fan Page บน Facebook, อีเว๊นต์ งานแสดงโชว์ต่างๆ, แอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งเนื้อหาสั้นที่มีรูปสวยๆ สักหน้าในนิตยสาร ประมาณนั้น

ถ้างบโฆษณาเหลือเอามาลงดิจิตอล เลือกสื่อแบบไหนดี? Credit Image: Rightcopywriter.com
ถ้างบโฆษณาเหลือเอามาลงดิจิตอล เลือกสื่อแบบไหนดี?  Credit Image: Rightcopywriter.com

ที่น่ากลัวคือ ผู้บริหารเหล่านั้นต้องการ ROI แบบที่มองเห็นชัดเจนเป็นตัวเลข เพราะเป็นโรคแพ้กราฟ หรือแผนภูมิ และยังอยากจะติดตามความเคลื่อนไหวว่า โฆษณาออนไลน์ที่จะเล่นผ่านสื่อต่างๆ นั้นได้ผลดีแค่ไหน เมื่อคุณลูกค้าได้โจทย์ดังกล่าวมาแบบจัดเต็ม ภาระ (แบบเต็มใจทำให้) นี้ก็ตกมาที่พวกคนโฆษณาอย่างพวกผมนั่นแหละครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องถามกลับไปหาคุณลูกค้าอีกทีก็คือ ถ้างบเหลือ อยากลงโฆษณาดิจิตอล แต่ไม่รู้จะลงสื่อไหน ผมมีความรู้เล็กน้อยๆ มาให้ลองศึกษากัน

ทุกอย่างบนโลกออนไลน์ ล้วนคือการโฆษณา

ครับ ผมพูดไม่ผิดหรอก, ทุกอย่างที่ปรากฏบนโลกออนไลน์ ล้วนเป็นสื่อโฆษณาแทบทั้งหมด ไม่เชื่อลองเข้าไปอ่าน Blog หรือ เว็บไซต์ แบบเรื่อยเปื่อยในสิ่งที่ชอบสิครับ ความชอบของคนเราล้วนโยงใยไปยังสิ่งที่สนใจ แทบทุกเรื่อง Blog เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับร้านอาหารที่รีวิวกันเป็นว่าเล่น ล้วนเป็นการโฆษณาให้กับ ร้านอาหาร ทางอ้อม หรือแบบตรงๆ แบบไม่ตั้งใจ Blog เรื่องการ์ตูน Manga จากต่างประเทศที่มีการโชว์วาด Fan Art ก็ถือว่าเป็นการโฆษณาแบบหนึ่ง

แม้แต่ใน Pantip.com สังคมออนไลน์ที่มีคนเล่นมากมาย ยังมีการโพสท์กระทู้เกี่ยวกับสถานที่กิน ที่เที่ยว ให้หลายคนได้รับรู้ตามความชอบ ซ้ำยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับร้านเหล่านั้นให้คน วิ่งไปยังหน้าร้านค้า ไม่เว้นแม้แต่ Social Media หรือสื่อสังคม อย่าง Facebook, Twitter หรือ Google+ ที่รูปภาพทั้งหลายที่เราแชร์กันมากมายรอเพื่อนมากด “Like” หรือถูกใจลองวิเคราะห์ดีๆ ร้อยละ 70 ของภาพเหล่านั้นล้วนมาจาก Fan Page ของสินค้า หรือผลิตภัณฑ์เชิงการค้าเกือบทั้งหมด โดยอาจจะมีลายเซ็นต์อย่าง Signature เล็กๆ ที่มุมขวาของภาพให้เห็นที่มาที่ไป และก็เป็นการโปรโมตสินค้า และธุรกิจไปอย่างเนียนๆ

สถานบันสอนภาษาชื่อดัง ยังเน้นป้ายโฆษณาออนไลน์บนเว็บไซต์มากมาย หรือ โฆษณาบน Facebook และ Google ที่เมื่อเราสนใจแล้วคลิกเข้าไปดูจะพบหน้าเว็บไซต์ หรือ Landing ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจเป็นลูกค้า หรือเก็บข้อมูลเบื้องต้นสำหรับ Offer โปรโมชันสิ่งใหม่ๆ ให้กับผู้ที่สนใจในภายหลัง

 

ทุกอย่างเป็นการโฆษณาแทบทั้งสิ้
ทุกอย่างเป็นการโฆษณาแทบทั้งสิ้

ทุกอย่างเป็นการโฆษณาแทบทั้งสิ้น ทำไมหรือครับลองอ่านข้างล่างสิ

  • Blog ที่เราสนใจ หรือค้นหาข้อมูลจาก Google แล้วพบ Blog เหล่านั้นจนเราติดตามอ่านมัน ก็คือกลยุทธ์การทำให้พบหรือขั้นตอน “Get Found” ในศาสตร์การตลาดแบบ Inbound Marketing
  • กระทู้รีวิวร้านอาหาร หรือภาพถ่ายตลกๆ บน Social Media ที่ Share กันก็คือ “Get Found” เช่นกันผ่าน Content Marketing
  • หน้า Landing Page ให้สมัครรับข่าวสาร หรือรับโปรโมชันไปทดลองใช้ นั่นก็คือการสร้าง “Convert” จากผู้เยี่ยมชม ให้เป็นลูกค้าในการทำ Inbound Marketing เช่นกัน ที่เรียกว่า Calls-to-Action ที่ผมเคยเขียนไว้แล้วในฉบับก่อนๆ
  • ฟอร์มที่ให้กรอกข้อมูลเก็บไว้ ล้วนมีการเก็บ Email หรือการสร้าง Application บน Facebook แล้วใช้เทคนิคการเข้าถึงข้อมูลผ่าน Graph API ก็จะได้ Email ของผู้ที่เข้าเล่นมาเก็บไว้ เพื่อเอาไปทำ Email Marketing สำหรับ Offer โปรโมชันใหม่ๆ นั่นก็คือ การสร้าง “Lead Nurturing” หรือการทำ “CRM” บน Inbound Marketing เช่นกัน

เห็นหรือยังครับว่า(เกือบ)ทุกอย่างนั้นคือการโฆษณา และธุรกิจเกือบทั้งหมด

ประเด็นที่จะบอกต่อไปนั้นไม่ใช่ว่าให้ลูกค้า ไปนั่งเขียน Blog ใหม่ พร้อมกับทำ SEO (Search Engine Optimization) ให้เครื่องมือค้นหาอย่าง Google จับ Index ของเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรก แต่จะเป็นการแนะนำให้ลองใช้พื้นที่ และองค์ประกอบเหล่านั้นมาวิเคราะห์จัดแจง และใช้มันสนับสนุนการวางแผนโฆษณาของเราครับ อย่าลืมสิว่าบทความนี้คือการวางแผนโฆษณาเมื่องบเหลือนะ ไม่ใช่การลงมือทำการตลาดแบบ Inbound เอาล่ะมารู้จักสื่อก่อนดีกว่าว่าตัวไหนเหมาะที่จะเล่น

สิ่งที่คุณต้องรู้สำหรับสื่อดิจิตอล

สื่อประเภทที่ 1: Google Adwords

เมื่องบเหลืออยากจะลองเล่นโฆษณาแบบไหนให้เกิดการคลิกโฆษณาแล้วซื้อสินค้า หรือสมัครบริการเลย ก็คงหนีไม่พ้น Google Adwords หรือเจ้าโฆษณาแถบสีเหลืองๆ ตำแหน่งบน และ ตำแหน่งขวาบนหน้าผลลัพธ์การค้นหาของ Google นั่นแหละ

Google Adwords
Google Adwords
Google Adwords
Google Adwords

เหตุผล: เพราะว่า Google Adwords นั้น มีเครื่องมือช่วยเหลือในการทำงานร่วมกับ Keyword”หรือคำสำคัญในการค้นหา โฆษณาที่เราจะเล่นให้ไปปรากฏบน Google เวลาที่มีคนหาสิ่งที่ต้องการนั้น จะมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์และประเมินราคาของ Keyword คำนั้นออกมาเป็นราคาโดยประมา ซึ่งเราสามารถใช้ เครื่องมือ Keywords Tool ในการหา Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ สินค้า หรือบริการของเรา ระบบจะบอกค่าการค้นหาต่อเดือนหรือ “Search Volume” มาให้วิเคราะห์ว่าแต่ละเดือนมีคนค้นหาคำนี้มากน้อยแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้ใช้ Keyword การค้นหาคำนี้ให้โฆษณาของเราปรากฏขึ้น ต่อจากนั้นก็ออกแบบ โฆษณาทั้งแบบ Text Ads (ตัวอักษร) ที่ต้องเน้นการเขียนข้อความเชิญชวนดีๆ น่าสนใจ, และ Image หรือ Video ได้อีกด้วย จำไว้ว่า สำหรับคนที่ค้นหาข้อมูลบน Google นั้น จะพบกับแถบผลลัพธ์สีเหลือง ที่เป็น Adwords และ ผลลัพธ์สีขาวปรกติที่เรียกว่า Organic Search ที่มาจากการทำ SEO

ให้จำไว้ว่า Adwords คือ 30% ที่คนจะคลิก และ อีก 70% คือ Organic Search แม้ว่าจะน้อยกว่าก็ตามแต่ 30% ดังกล่าวก็คือการคลิกที่มีการซื้อขาย และเกิดการ Convert Lead ที่สูง เพราะมันตรงความต้องการของผู้บริโภคมากกว่า ส่วน 70% นั้นคือพื้นที่สำหรับการตัดสินใจก่อนเลือกซื้อ ที่ทาง Google เรียกว่า Zero Moment of Truth หรือ ZMOT นั่นเอง หากเรามีเวลามากพอจะทำ SEO ก็แนะนำให้ทำดู แต่ถ้าไม่ก็แนะนำให้ลองทำ Digital Asset Optimizationที่เคยไว้ในฉบับที่แล้ว เช่นการว่าจ้างให้เขียน Blog หรือ Review เพื่อเกิดการเชื่อมโยงความรู้สึกของผู้บริโภค และไขข้อข้องใจให้กับสินค้า หรือบริการบางตัว

ข้อเสนอแนะ:ลองสร้างหน้า Landing Page ที่มีโปรโมชันที่น่าสนใจ รูปภาพที่โดดเด่น และ Calls-to-Action อย่างปุ่มที่มองเห็นชัดเจนเชิญชวนให้คนที่สนใจสมัคร จะทำให้แคมเปญ Google Adwords ทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อระวัง: หาก Keyword ที่เราเลือกมีการค้นหาต่อเดือน หรือ Search Volume ที่มากเกินไปก็อาจจะพบการแข่งขันที่สูง คู่แข่งจะเยอะ ซึ่งตำแหน่งบนสุดในแถบสีเหลืองนั้นจะขึ้นอยู่กับการ Bid (ประมูล) ราคาของ Keywordให้อยู่ตำแหน่งบนสุด กรณีถ้าเรามีงบน้อย หรือเป็นงบเหลือใช้แต่อยากเล่นแคมเปญให้นาน และได้ประสิทธิภาพ อย่าบ้าจี้ไปสู้ราคา โดยการ Bid ราคาที่สูงขึ้นอีกเด็ดขาด เพราะจะทำให้  Budget หมดเร็วโดยใช่เหตุ และถ้า Search Volume น้อยเกินไป ก็อาจจะทำให้การมองเห็นโฆษณาของเราเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ควรทดลองแต่น้อยเบื้องต้น แล้ววิเคราะห์กลุ้มเป้าหมายคนที่จะเห็น และคลิกโฆษณาของเรานั้นคือคนกลุ่มไหน และช่วงเวลาใดที่จะออนไลน์มากที่สุด และเปลี่ยนข้อความโฆษณาให้บ่อยเพื่อดูการโต้ตอบของผู้บริโภคต่อข้อความ

สื่อประเภทที่ 2: Facebook Advertising

เครือข่ายสังคมออนไลน์สมัยนี้ก็คงหนีไม่พ้นที่นี่ Facebook ใครจะไปรู้ว่า พื้นที่ตรงนี้ แม้ช่วงหลังจะมีความเกรียน และดราม่าทะเลาะเบาะแว้งกัดกัน แต่ก็ยังเป็นพื้นที่สำหรับ ทำการตลาดได้ผลอีกพื้นที่หนึ่ง โดยเฉพาะ Viral Marketing หรือการตลาดแบบไฟลามทุ่ง ส่วนการทำโฆษณาบน Facebook นั้น เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี เทียบเท่ากับการวางบนสื่ออื่นๆ เพราะว่าโฆษณาของ Facebook นั้นมีความฉลาดในตัวของมันเองในตัว จากการใช้งาน Facebook ทุกๆ วันของเรานี่แหละครับ ลองคิดดูว่าวันหนึ่งๆ คุณเข้า Facebook แล้วทำอะไรบ้าง

Facebook Advertising
Facebook Advertising
  • หาเพื่อนเก่า, หาเพื่อนใหม่, หาเพื่อนของเพื่อน
  • Check-in สถานที่ที่ไป หรือไม่ได้ไป
  • แชร์รูปของกิน, แชร์รูปของเล่น, แชร์รูปตัวเอง
  • กดไลค์รูปสาว, Message คุยกับคนที่ไม่ใช่แฟนเรา
  • เล่นเกมออนไลน์ ส่ง Alert ไปให้เพื่อน
  • กดไลค์ Page ที่สนใจ และไม่สนใจ
  • คุยกัน ซุบซิบกันใน Group
  • แชร์ วีดีโอ หรือ MV ที่ชอบ หรือ ที่เพื่อนชอบ
  • บ่นระบายบน Wall ของเรา, บางทีก็ Mention ถึง Page ที่กด Like ไว้
  • เกรียนไปเรื่อย

เหตุผล: รู้หรือไม่ว่าพื้นฐานของ Facebook นั้นมีการเชื่อมโยงบัญชีของเรากับทุกสิ่งที่สนใจ หรือที่เราชอบ อย่าง ภาพที่เราแชร์ ข้อความที่เราโพสท์ วีดีโอที่เราอัพขึ้น หรือกด Share ต่อจาก Page ไปจนถึงประเภทของ Page ที่เรากด Like เป็นสมาชิก ทุกสิ่งถูกจับเชื่อมโยงกันตามทฤษฏีที่เรียกว่า Graph Theory หรือทฤษฎีกราฟ ในทางคณิตศาสตร์

ดังนั้นการวางแผนการทำโฆษณาบนFacebookจึงสามาระกำหนดเป้าหมายได้ตรงกลุ่มมากกว่าพร้อมทั้งยังสามารถ Simulationให้เราได้ว่า ต้องการคนที่จะเห็นโฆษณาของเราเป็นแบบไหน ชาย หรือหญิง อยู่จังหวัดอะไร ทำงานที่ไหน อายุเท่าไร หรือชอบอะไร อย่างหลังชอบอะไร” นี่แหละครับที่ถือว่าเป็นไม้เด็ดของ Facebook เลยทีเดียว เพราะโฆษณาที่ปรากฏนั้น มันจะยึดตามความสนใจหรือความชอบของเราตามปริมาณการ Interact หรือปฏิสัมพันธ์กับประเภทของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ถ้าผมชอบอ่านหนังสือกด Like ตาม Fan Page ของนักเขียนชื่อดัง ซ้ำยังอัพโหลดภาพปกหนังสือบน Wall ผมบ่อยๆ ระบบของ Facebook จะรู้แล้วว่าผมชอบในเรื่องหนังสือพอมีคนที่เขียนหนังสือใหม่เสร็จอยากขายหนังสือผ่านการทำโฆษณาบน Facebook พอทำการกรองกลุ่มเป้าหมายแล้ว โฆษณาก็จะโผล่เฉพาะคนที่ชอบอ่านหนังสือ แน่นอนว่านั่นก็คือผม กลายเป็นว่าผมจะเห็นโฆษณานี้ปรากฏขึ้นทันที

ข้อเสนอแนะ:นอกจากจะสามารถจำลอง และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคของเราได้แล้วว่าจะมีจำนวนเท่าไร ยังสามารถเอาเครื่องมือการทำโฆษณา Facebook Advertising ตัวนี้เป็นเครื่องมือในการหา KPI ให้กับคุณลูกค้า ที่มีโจทย์อยากได้จำนวน Like บนหน้า Fan Page แบบโอเวอร์เช่น “อยากได้ล้าน Like” เป็นต้น ซึ่งเราสามารถใช้เครื่องมือตัวนี้วิเคราะห์โดยอ้างอิงจากประเภทข้อมูลของสินค้า และบริการจากลูกค้า เช่น อายุ สถานที่ เพศ หรืออาชีพ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วเราจะได้ ค่าสูงสุดออกมาเป็นจำนวนคนที่สามารถจะกด Like ได้เป็น KPI จริงๆ อาจจะไม่ถึงล้านก็ได้ แต่อย่างน้อยๆ นั่นคือ ค่า Maximum สูงสุดของ Like ที่จะได้ เพื่อที่เราจะใช้เป็นเกณฑ์วัดผลในการเสนอ KPI ให้กับลูกค้าได้อีกที

KPI ของ Like ในการรับทำการตลาดผ่าน Fan Page
KPI ของ Like ในการรับทำการตลาดผ่าน Fan Page

ข้อระวัง: อย่าเล่นโฆษณาบน Facebook โดยไม่มีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพราะการคลิกของโฆษณาบน Facebook เกิดได้สูง และอาจจะเสียเปล่า อย่างน้อยๆ ถ้าไม่แน่ใจให้ลองใช้ Feature Promote Post ลองเชิงไปก่อน หากต้องการ  KPI เป็นจำนวน Like และข้อระวังอีกอย่างคือ โฆษณาด้านข้างบนFacebook มันจะแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราชอบ ดังนั้นถ้าเราไป Like พวก Page สาวๆ 18+ ก็อาจจะเจอโฆษณาดังกล่าวปรากฏขึ้น มันบ่งบอกได้ว่าพฤติกรรมของคุณนั้นเป็นคนยังไงนะ (เพราะฉนั้นอยากรู้ว่าเพื่อนเราเป็นคนแบบไหนให้สังเกตโฆษณาบน Facebookซะ)

สื่อประเภทที่ 3: Display Network และการ Re-Targeting

Display Network นั้นมีอยู่หลายบริการให้เลือกใช้ ในไทยก็ไม่พ้น Addoer, AdYim, BumQ ส่วนแบบที่รู้จักกันดีก็คือ Google Display Network, Komli (Admax), Media Mind, Innity และช่วงหลังๆ ก็มีให้เลือกใช้มากมาย ที่เจอล่าสุดก็ Adroll ครับ ลูกค้าหลายคนที่เคยใช้ เจ้า Display Network มักเกิดข้อกังขา และมักจะพบกับความยากของมันที่จะส่งผลไปถึงความไม่แน่ใจว่ามันใช้ได้จริงหรือเปล่ากับสื่อตัวนี้ คำตอบที่ผมสามารถตอบให้ได้ในมุมมองของผมคือ มันใช้ได้ดีครับ ตามเครือข่าย และประเภทของมัน ซึ่งความยากของการใช้งาน Display Network นั้นอยู่ที่สิ่งต่อไปนี้

  • เว็บไซต์เครือข่ายที่จะให้โฆษณาของเราไปปรากฏ เนื้อหาเกี่ยวข้องหรือไม่
  • ประเภทของเว็บไซต์เหล่านั้นตรงตามประเด็นหรือเปล่า
  • การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตรงตามกลุ่มจริงไหม

สำหรับตัวที่แนะนำให้ลองใช้ (ในช่วงเริ่มต้นก่อนนั้นก็คงหนีไม่พ้น Google Display Network

การ Target โฆษณาบน Google Display Networkนั้นจะประกอบไปด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • Contextual Targeting: การเข้าถึงกลุมเป้าหมาย ด้วย Keywords Terms สามาระทำได้โดยการกำหนดเป้าหมายตาม Content บน เว็บไซต์, Blog, Hub pages, Landing Page วิธีการกำหนด Target แบบนี้กำหนดได้กว้าง เหมาะกับการทำแคมเปญจำพวก Consumer Products เป็นต้นครับ จะเป็นการอาศัยการค้นหา Keywords ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเราบนเว็บไซต์นั้นๆ ถ้าตรวจจับว่าเกี่ยวข้องโฆษณาจะปรากฏขึ้น
  • Placement: การค้นหา Target Audience หรือกลุ่มผู้บริโภคของเราผ่านการเจาะลึกให้แคบลงระดับหนึ่ง จะเหมาะกับการทำแคมเปญโฆษณาประเภทที่ว่าเรานั้นรู้จักลูกค้าเราดีว่าอยู่ที่ไหน เช่นนักธุรกิจก็ต้องอยู่ตามเว็บไซต์การเงิน เว็บไซต์ข่าวธุรกิจเป็นต้น ซึ่งเราต้องรู้ว่าเรานั้นจะวางโฆษณาของเราในเว็บไซต์ไหนที่จะเหมาะสมกับโฆษณาสินค้าของเรา ในรายการ Placement จะมีเว็บไซต์มากมายที่อยู่ในเครือข่ายเราก็สามารถทำการเลือกลงโฆษณาได้เลย
  • Topic Targeting:เป็นการวิเคราะห์ผ่านการดูที่ Partner เครือข่ายของ Display Network ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวนั้นเป็นเว็บไซต์ประเภทอะไรหัวข้ออะไร เช่น การเงิน ก็สามารถเลือก Finance ได้เลย
  • Interest Categories Targeting: การเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบพิเศษ มองที่ตัวผู้ใช้เป็นหลัก ใช้เทคนิคในเชิงเทคโนโลยีของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์เก็บค่า Cookies หรือประวัติข้อมูลการเข้าเว็บไซต์ของคนที่เข้าอินเทอร์เน็ตของแต่ละคนในแต่ละบราวเซอร์ไว้ แล้วทำการกรองข้อมูลตามพฤติกรรมความสนใจ ความชอบของผู้ใช้กับธุรกิจของเราได้ ถือว่าเป็นการเจาะลึกข้อมูลของผู้บริโภคที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

เหตุผล: ในกรณีที่สินค้า และบริการของเรานั้น ยังไม่มี Awareness หรือกลุ่มบริโภคที่ยังไม่รู้จักแบรนด์ของเรา ถ้าหากว่าเราไปลงทุนกับ Google Adwords  และ SEO  อย่างเดียวอาจจะใช้เวลาที่นาน และงบอาจจะบานปลายได้หากวิเคราะห์ผิดพลาด แต่ถ้าเราลองใช้ Display Network ตัวอย่างเช่นGoogle Display Network มาช่วยในการทำโฆษณาจะได้ผลดีสำหรับการสร้าง Brand Awarenessให้สูงขึ้นมากกว่า 35% ที่ผู้บริโภคจะมองเห็นโฆษณาแบรนด์ของเรา อีกทั้งยังสามาระเพิ่ม Traffic หรือสถิติการเข้าชมหน้าเว็บไซต์ หรือ Landing Page ได้สูงถึง 40% ก็เพราะว่า Display Networkทั้งหลายนั้นสามารถเลือกที่จะไปโผล่ในเว็บไซต์ที่ลงทะเบียนเป็นเครือข่ายกับผู้ให้บริการ Display Network ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Community ชื่อดังหลายเว็บ หรือเว็บไซต์ข่าวที่มีคนอ่านเป็นหลักหมื่นต่อวันในประเทศไทย หลายๆ เว็บลงทะเบียนกับผู้ให้บริการDisplay Network ซึ่งเป็นข้อดีกว่าการไปจ้าง เอเจนซี หรือติดต่อซื้อ Media โฆษณาในราคาที่แพงเล่นไปเรื่อยๆ ตามกำหนด ลองคิดดูว่าถ้าลงโฆษณาไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย งบมหาศาล หรืองบที่เหลือใช้ที่เจียดมาเล่นก็จะหมดไปในระยะเวลาอันสั้นกับผลลัพธ์ที่เรียกว่า เสียเปล่า

ข้อเสนอแนะ: หากลองใช้ Display Network ไม่ว่าจะตัวใดๆ ร่วมกับการเล่น Google AdWordsหรือSearch Marketing ในระยะเวลาเดียวกันโดยแบ่งงบเป็น 2 ส่วนแล้วเล่นควบคู่กัน จะสามารถเพิ่มยอดขายให้กับสินค้า และบริการได้ 8% โดยประมาณ (ขึ้นอยู่กับงบประมาณหรือ Budget ที่เหลือใช้)

ข้อควรระวัง: หากมีหลายแคมเปญ จะเกิดความสับสนได้ง่าย ถ้าตัวเลือก Targeting ของลูกค้าหลายเจ้าใกล้เคียงกัน วิธีการป้องกันความสับสนให้ใช้วิธีการแยกแคมเปญ

Display Ads Network ยังมีรูปแบบที่ปรากฏบนแอพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน

แนะนำว่า ถ้าหากต้องเอางบไปลงในการทำโฆษณาบนสมาร์ทโฟน อาจจะต้องมีการคำนวณ ROI ให้ดี เพราะในปัจจุบันตอนนี้นั้น ถ้าเล่นการโฆษณาแบบ CPC (Cost Per Click) อาจจะไม่คุ้มค่ากับพฤติกรรมเปลี่ยนผ่านของผู้บริโภคเท่าไรนัก อาจจะเปลี่ยนเป็น CPI ที่กำลังมาในต่างประเทศ หรือที่เรียกว่า Cost Per Install ที่จะจ่ายเงินเมื่อมีการติดตั้งครับ ไว้มีโอกาสจะกลับมาอธิบายเรื่องนี้

Display Ads Network
Display Ads Network

โฆษณาบน Facebook และโฆษณาบน Google (AdWords, Display Network) ต่างกันยังไง และอะไรดีกว่ากัน

ถ้าคำถามนี้เกิดขึ้นมา และยิงมาที่คุณตรงๆ ให้จำไว้ว่าเป้าหมายของโฆษณาทั้ง 2 ตัวนี้มันต่างกัน อย่างน้อยๆ ถ้าคุณจะทำ โฆษณาบน Facebook หรือ Display Network นั่นคือคุณต้องมีกลุ่มเป้าหมายในมืออยู่แล้ว ต่อจากนั้นก็ทำการเล่นโฆษณาแบบเนียนๆ ปล่อยขึ้นไปสร้างการรับรู้ผ่าน Content ที่เกี่ยวเนื่องกับโฆษณาของเรา ประกอบกับความสนใจของผู้บริโภค หากว่าผมสนใจในเรื่องกีฬา เมื่อเล่น Facebook จะพบโฆษณาเกี่ยวกับกีฬาปรากฏขึ้นหากว่าผมสนใจก็จะเข้าไปดูรายละเอียด เข้าไปคลิกดู แล้วค่อยทำ Remarketing อีกทีก็ค่อยว่ากัน

ตรงกันข้าม Google Adwords นั้นคือการที่เราเล่นโฆษณาที่ขึ้นตรงกับ ความคาดหวังหรือ Context ของผู้บริโภค ในความต้องการบางสิ่งในขณะนั้น ก็จะพบกับโฆษณาที่ตรงความต้องกร ถูกที่ถูกเวลาปรากฏขึ้นมาทันที

สรุปความแตกต่างระหว่าง โฆษณา 2 ตัวอาจจะต้องยืมประโยคของคุณ สุธีรพันธ์ สักรวัตร ที่ผมได้พูดคุยเรื่องนี้ในงาน Digital Markeitng Summit 2013 ที่ผ่านมาว่า

การโฆษณาบน Facebook นั้นเป็นการโฆษณาแบบ Passive สร้าง Awareness กระตุ้นความสนใจ ส่วน Google AdWords นั้นเป็นการทำโฆษณาแบบ Active แบบรุกฆาตตรงๆ เพื่อเพิ่มยอดขายและ Convert Lead นั่นเองครับ

ที่นี้ก็คงจะพอเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่า ถ้าหากเรามีงบเหลือ หรือ แคมเปญของเรานั้นมีการแบ่ง 10% การตลาดมาลองเล่นโฆษณาบนดิจิตอลดู งบประมาณน้อยนิดอาจจะสร้างยอดขายได้มาก และให้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจกับผู้บริการของคุณได้อย่างแน่นอน เพียงแค่ต้องรู้จักมันก่อนว่า เนื้อแท้ของโฆษณาแต่ละตัวนั้นมันเหมาะ และใช้มันยังไงให้ได้ประสิทธิภาพ

บทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยาร E-Commerce Magazine

 

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน