Idea for Techology

Screenagers วัฒนธรรมหน้าจอ หรือ เสพติดสื่อ!

ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นนั้นได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราไปมากมาย ทั้งเรื่องของธุรกิจ นวัตกรรม และที่เปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัดมากที่สุดเลยคือ พฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้กลุ่มคนที่เปลี่ยนไปมากที่สุด ไม่ใช่แค่เฉพาะเหล่านักเรียน นักศึกษาที่คลุกคลีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเหล่านักธุรกิจที่มองทุกสิ่งเป็นตัวเลขไปหมด แต่กลุ่มที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปนั้นกลับเป็น มนุษย์ที่พกพาอุปกรณ์สื่อสาร เกือบทุกคน หรือ “พวกเรา” โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่นั่นเองครับ เสพติด วัฒนธรรมหน้าจอ

กลายเป็นว่าพฤติกรรมการเฝ้าติดตามข่าวสารข้อมูลผ่านหน้าอุปกรณ์สื่อสาร อย่างสมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต ทั้งวัน หรือตลอดเวลาแบบนี้ก็ได้มีศัพท์บัญญัติถึงคนกลุ่มนี้ขึ้นสำหรับเรียกพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ว่า “Screenager” หรือ “วัฒนธรรมหน้าจอ” พฤติกรรมเสพติดหน้าจอ

แน่นอนว่าพฤติกรรมการเสพติดสื่อบนหน้าจอสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตที่เรียกว่า “Screenager” หรือการ “เสพติด วัฒนธรรมหน้าจอ” นั้นอาจจะฟังดูไม่ค่อยจะดีนักในสายตาของผู้ใหญ่ วัยกลางคนไปถึงช่วงปลายอายุขัย แต่สำหรับนักธุรกิจ และวงการเทคโนโลยี และสื่อดิจิตอล เกือบทั่วโลกนั้นกลับมองว่า กลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า “Screenager” หรือกลุ่มคนวัฒนธรรมหน้าจอนั้นเป็นแหล่งขุมทรัพย์มหาศาลเลยทีเดียว ด้วยเหตุผลง่ายๆ เพียงข้อเดียวที่ว่า Screenager นั้นชีวิตนี้มีเพียง อินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ที่แสดงผลมันได้ทุกที่ เบื้องต้นเพียงเท่านี้ ส่วนสิ่งอื่นอย่างการ ซื้อสินค้า การสนทนา การออกความเห็น การสนับสนุน และ หลายๆ อย่างต่อจากนี้นั้นจะเกิดขึ้นอีกทีภายหลัง

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคธรรมดาบนโลกอินเทอร์เน็ต และโลกธุรกิจต้องมากลายเป็นผู้เสพติดข่าวสารบนโลกออนไลน์ หรือ Screenager นั้นอาจจะเป็นเพราะว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตคนเรานั้น มันมีมากขึ้น ราคาถูกลง และใช้งานง่ายขึ้น

หากนึกไม่ออกลองเดินออกไปจากห้องทำงานในช่วงกลางวันดูสิครับ จะพบว่า แนวโน้มของเด็กนักเรียน และนักศึกษา ล้วนมีสมาร์ทโฟน ใช้กันเกือบทุกคน พ่อค้าแม่ค้าแผงลอยต่างก็หันมาใช้แท็บเล็ตในการช่วยทำงาน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่อายุมากแล้ว ในช่วงหลังปี 2011-2012 มานี้มีแท็บเล็ตราคาถูก และราคาแพงติดตัวไปเสมอในเวลาเข้างานราชการ เพราะว่าเทคโนโลยี มันราคาถูก ข้อมูลมีมากมาย และ การใช้งานก็ไม่ได้ยากเกินไป คราวนี้อยากจะทราบเรื่องอะไร ข้อมูลส่วนไหนก็แค่ขอให้มีหน้าจอแสดงผลและอินเทอร์เน็ตก็เรียบร้อย ประกอบกับเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Social Network นั้นก็ได้กลายเป็นช่องทางสื่อสารของโลกไปแล้ว การตัดสินใจ การแสดงความเห็น การชำระสินค้า แล้วก็ล้วนเกิดขึ้นบน Social Network เกือบทั้งหมด

ตั้งแต่ปี 2010 มาจนปัจจุบัน ทุกคน ก็ได้รู้จักกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์แบบพกพาอย่าง สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ที่มีหน้าจอทัชสกรีน ที่เข้ามาตีตลาดของโน๊ตบุ๊คจนสั่นสะเทือน ในราคาที่ถูกกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ็ค มีผลทำให้เครือข่ายผู้ให้บริการด้านการโทรคมนาคมเห็นโอกาสทองของการเติบโตของเทคโนโลยีเหล่านี้ จัดทำระบบเครือข่าย 3G, WiFi ให้ใช้กันทั่วประเทศ ในราคาที่เหมาะสม กลายเป็นว่า ข้อมูล และอุปกรณ์แสดงผลนั้นเข้าถึงได้ในราคาที่ไม่แพง และยังมีให้เลือกใช้อีกหลากหลายประเภทมากมาย ทั้ง iPad, Ultrabook, iPhone, Samsung Galaxy Note และนี่ยังไม่รวม คอนเท็นต์จากผู้ให้บริการสื่อดิจิตอลอีกเป็นหลักล้าน ในปีนี้ จะเป็นยุคของ วัยรุ่นวัฒนธรรมหน้าจอ หรือ Screenager ที่พวกเขาล้วนจะใช้เวลาอยู่กับการค้นหา หรือพูดคุย เกี่ยวกับเพื่อน เครือข่าย และสื่อดิจิตอล เกือบทั้งวันทั้งคืนผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอีกไม่นานก็คงกลับมาสู่จุดเดิมคือ หน้าจอโทรทัศน์ เพียงแค่ว่า โทรทัศน์ธรรมดา หรือ TV อาจจะไม่น่าสนใจและทำให้ติดได้เท่ากับ Smart TV ไม่ว่ามันจะเป็นยุคทองของสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมหน้าจอ “Screenager” หรือยุคตกต่ำจากการเสพติดสื่อจนไม่มีปฏิสัมพันธ์กันบนโลกจริง ยังไงเสียผู้ผลิตสินค้า และสื่อดิจิตอลทุกบริษัทก็ยังคงมองว่านี่เป็นโอกาสที่จะเข้าไปแย่งชิงฟาดฟันกันอย่างจริงจัง และน่าลงทุนอยู่ดี

พฤติกรรมการเสพติดหน้าจอ

หลายวันก่อนผู้เขียนนั่งฟังเพลงผ่าน iPod Touch อยู่ที่โซฟาตัวเก่งในห้องรับแขก นึกขึ้นได้ว่าไม่ได้โทรหา แม่ มานานกว่า สัปดาห์ เพราะภาระหน้าที่ และงานที่เยอะก็เลยกดโทรศัพท์ไปหาแม่ เพื่อทักทายและขอโทษว่า “เป็นไงบ้างครับแม่ ไม่ค่อยได้คุยกันเลยไม่รู้ว่าทำอะไรอยู่บ้าง” แม่ของผู้เขียนตอบบทสนทนาสั้นๆ ให้ได้นิ่งอยู่พักนึงก่อนผู้เขียนจะสนทนาต่อไป คำตอบของแม่ก็คือ “ก็เรื่อยๆ แต่แม่ตามลูกบน Facebook นะรู้หมดเลยว่าเราทำไรบ้างแต่ละวัน”

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน