Marketing to mobile

ทำไมแอพพลิเคชันบน สมาร์ทโฟนต้องพัฒนาลง iOS ก่อนจะไป Android และแพลตฟอร์มอื่นๆ

คำถามที่ตั้งขึ้นเป็นประเด็นข้างนั้นปรากฏในหัวของผู้เขียน และคิดว่าหลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟน 2 เครื่องขึ้นไป ในตัวอย่างนี้ขอยกตัวอย่างระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟน 2 ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากผู้ใช้งาน คือ iOS ของ Apple และ Android ของ Google

ทำไมแอพพลิเคชันบน สมาร์ทโฟนต้องพัฒนาลง iOS ก่อนจะไป Android และแพลตฟอร์มอื่นๆ

บางครั้งพกทั้ง iPhone และ Android Tablet หรือไม่ก็พกสมาร์ทโฟนของ Android แล้วพกแท็บเล็ต iPad ไม่ก็พกสมาร์ทโฟน 2 เครื่อง 2 ค่ายเพราะรักพี่เสียดายน้องทั้ง iOS ของ Apple และ Android ของ Google ซึ่งน่าจะมีข้อสงสัยว่า หลายแอพพลิเคชัน ที่ใช้งานดี และได้รับความนิยมหลายตัวต้องโผล่ไปลงในแพลตฟอร์ม iOS ของ Apple บน App Store ก่อนจะไปปรากฏบน App Market บน Android

อาจจะเป็นเพราะว่า แอพพลิเคชันชื่อดังมากมายในช่วงนี้ที่เคยปรากฏในแพลตฟอร์มของ iOS นั้นเริ่มมาประกาศขยายพื้นที่ และเปิดตัวลงบนระบบปฏิบัติการตัวอื่น เช่น Android เป็นต้น ก่อนหน้าที่จะเห็นชัดมากก็จะเป็นแอพพลิเคชันจำพวกเกม ที่มีหลายเกมให้ได้ลองเล่นผ่าน iOS บน App Store ก่อนแล้วพอภายหลังก็มาบน Android อย่าง Angry Birds หรือตระกูลเกมจำลองการวางแผนยอดนิยมของบริษัท Kairosoft Co., Ltd. อย่าง Game Dev Story, Mega Mall, Grand Prix Story เป็นต้น จนกระทั่งแอพพลิเคชันด้านการใช้งาน และเครือข่ายสังคมออนไลน์มากมาย อย่างที่เห็นชัดที่สุดคือ Instagram แอพพลิเคชันที่ได้รับรางวัลแอพพลิเคชันยอดเยี่ยมบน App Store ก็ได้ประกาศขยายพื้นที่ลงสู่แพลตฟอร์ม Android แล้ว

ปัจจัยการตลาด และ ระบบ Ecosystem ที่มาเร็วกว่า ดีกว่า ลงตัวกว่า

บริษัทที่ให้บริการด้านวิเคราะห์การตลาด อย่าง Flurry ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลด้านการตลาดของสมาร์ทโฟน และสัดส่วนของแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่ แบ่งตามแพลตฟอร์มของระบบปฏิบัติการ ได้ผลวิเคราะห์ว่าแอพพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2011 มากกว่า 50,000 แอพพลิเคชันนั้น หากให้แบ่งสัดส่วนของแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android จะอยู่ที่สัดส่วน 3:1 โดยวัดจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2011 ตัวเลขนี้เองที่เป็นข้อสันนิษฐานว่านักพัฒนาแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนนั้นนิยมพัฒนาแอพพลิเคชันบนแพลตฟอร์ม iOS ของ Apple มากกว่าแพลตฟอร์มระบบปฏิบัติการ Android ของ Google ซึ่งหากมีการเปรียบเทียบย้อนหลังไปในปี 2010 ที่ตลาดแอพพลิเคชันเริ่มได้รับนิยมนั้น สัดส่วนของ แอพพลิเคชันบน iOS และ Android นั้นอยู่ที่ 2:1 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกและตรงกับคำถามบนประเด็นจากหัวข้อที่ตั้งขึ้นว่าทำไม แอพพลิเคชันส่วนใหญ่จึงถูกพัฒนาบน iOS ก่อนจะไปลง Android และทำไมตลาดสมาร์ทโฟนโตขึ้น แต่แอพพลิเคชันที่ถูกพัฒนาบน iOS กับเริ่มมีจำนวนมากและทิ้งห่างระบบปฏิบัติการ Android มากขึ้น

ในแง่ของด้านธุรกิจ นั้นคาดว่าบริษัท Apple มีการพัฒนาสมาร์ทโฟน และระบบปฏิบัติการการสำหรับสมาร์ทโฟนได้ดีกว่า Android อีกทั้งยอดขาย iPhone และ iPad ยังคงสูงกว่า สมาร์ทโฟนค่ายอื่น อีกทั้งลูกเล่น และการใช้งานนั้น iOS ยังคงตอบสนอง และง่ายต่อผู้ใช้ที่ไม่มีพื้นฐานการใช้งานสมาร์ทโฟนสามารถปรับตัว ใช้งานได้คล่องกว่า ผู้ใช้งานธรรมดาที่ต้องปรับแต่งฟังก์ชันมากมายบนระบบปฏิบัติการการ Android ในสมัยนั้น นอกจากการตลาดที่ยอดเยี่ยมของบริษัท Apple ที่ทำให้ยอดขายสมาร์ทโฟน iPhone และ แท็บเล็ต iPad ขายดีแล้ว ระบบ Eco System หรือระบบเศรษฐกิจ และการทำธุรกิจผ่าน บริการ App Store บนแพลตฟอร์มใดแฟลตฟอร์มหนึ่ง หรือการซื้อขายแอพพลิเคชันนั้น บริษัท Apple ทำสิ่งทั้งหลายใน Ecosystem นี้ได้ดีก่อนที่บริษัทอื่น จะทำตาม ซึ่งบริษัทที่เดินตามรอยระบบ Ecosystem ให้ดี ให้ถูกทาง นี้ก็ได้แก่ Google, Microsoft และ Nokia นั่นเอง ซึ่งมาถึงตรงนี้ใครจะรู้ว่า ระบบ Ecosystem บนตลาดสมาร์ทโฟนนั้น Microsoft และ Nokia เป็นบริษัทที่เริ่มต้นบริษัทแรกๆ แต่ที่ไม่ได้รับความนิยม หรือระบบ Ecosystem ไม่เติบโตพัฒนามากนัก อาจจะเพราะว่า ช่วงเวลาที่นำระบบนี้มาใช้นั้นเร็วเกินไป เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง การชำระเงิน ระบบสนับสนุน บริการเสริมหลังการขาย และแอพพลิเคชันส่วนใหญ่ที่ปรากฏบนสมาร์ทโฟน ในยุค Ecosystem ของ Microsoft และ Nokia นั้นก็เป็นเพียงแอพพลิเคชันพื้นฐานของเครื่องอย่างพวก Utility ธรรมดาเท่านั้น

แน่นอนว่า Ecosystem ที่เติบโตและแตกต่างนั้นเกิดขึ้นมาพร้อมกับสมาร์ทโฟน iPhone จากบริษัท Apple แอพพลิเคชันที่สามารถทำงานได้บนสมาร์ทโฟนนั้น มีหลากหลายประเภทมากขึ้น กลายเป็นที่การดาวน์โหลดแอพพลิเคชันกลายเป็น ปัจจัย พื้นฐานติดตัวผู้ใช้สมาร์ทโฟนไปในยุคนั้น จนถึงปัจจุบันบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ ก็เริ่มเห็นหนทางหันมาพัฒนาแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนกันมากขึ้น ทำให้เกิดระบบ Ecosystem ที่สมบูรณ์ขึ้น ทำให้บริษัท Apple กลายเป็นเจ้าพ่อในระบบ Ecosystem ของตลาดสมาร์ทโฟนไปโดยปริยาย จนหลายบริษัท ต่างเริ่มหันมาจับ หรือบางบริษัทก็เริ่มพิจารณาเส้นทาง และกำหนดทิศทางกันใหม่

อุปกรณ์ Hardware และ Environment ของการพัฒนาแอพพลิเคชัน

ปัญหาเรื่องของ Resource ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ที่แม้ว่า Android จะมีสมาร์ทโฟนหลายรุ่นหลายราคาที่แตกต่างกันไป แต่ก็สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชันเดียวกันมาลงได้ แต่กลับกันหากผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android กันจริงจังแล้วจะทราบว่า ตัวเครื่องที่จะทำงาน และรันแอพพลิเคชันได้ดีที่สุด และมีความลื่นไหลกับ iPhone นั้นต้องเป็นสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android ราคาสูงเท่านั้น ซึ่งกลายเป็นว่าแอพพลิเคชันจำพวกเกม หรือแอพพลิเคชันที่ต้องการระบบ UI หรือ User Interface สูงที่ทำงานได้อย่างลื่นไหลนั้น ใช้งานได้ไม่ดีเท่า นักพัฒนาหลายคนหันไปพัฒนาแอพพลิเคชันเหล่านั้นบนมาตรฐานที่สูงกว่า ทำงานได้ดีกว่าบนระบบปฏิบัติการ iOS เมื่อออกสู่ตลาดไปแล้วจึงค่อย นำรูปแบบและเอกสารมาพัฒนาใหม่ ซึ่งอาจจะมีทั้งการลดการประมวลผล หรือการแสดงผลกราฟิกลงเพื่อให้ทำงานได้กับ ระบบปฏิบัติการ Android ในตัวสมาร์ทโฟนที่ราคาปานกลาง ถึงต่ำลงมาด้วย

ทำไมแอพพลิเคชันบน สมาร์ทโฟนต้องพัฒนาลง iOS ก่อนจะไป Android และแพลตฟอร์มอื่นๆ

ทำไมแอพพลิเคชันบน สมาร์ทโฟนต้องพัฒนาลง iOS ก่อนจะไป Android และแพลตฟอร์มอื่นๆ

แต่ข้อดีบางอย่างที่นักพัฒนาแอพพลิเคชันจะได้เมื่อถึงคราวที่ต้องพัฒนาแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ Android คือในบางครั้งการพัฒนาแอพพลิเคชันบน iOS แล้วทำเงินก็จะได้ขยายตลาดแอพพลิเคชันมาลงบน Android หากไม่ทำเงินก็จะไม่พัฒนามาลง เป็นการทดลองตลาด และอาศัยการเฝ้ามองเพื่อขยายพื้นที่ไปในตัว

ปัจจัยอีกด้านที่ถือว่าสำคัญมากที่สุดกับคำถามนี้ คือปัจจัยของนักพัฒนาที่มีต่อขั้นตอนการพัฒนา นักพัฒนาแอพพลิเคชันต่างรู้ดีว่า การพัฒนาแอพพลิเคชันนั้น แอพพลิเคชันที่พัฒนาง่ายว่า เพราะเครื่องมือรองรับในการสร้างนั้นสะดวกสบายคือ Xcode สำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการ iOS บนเครื่อง Mac OSX ด้วยหน้าตาส่วนต่อประสาน การจัดการโครงสร้าง ของตัว IDE หรือตัว Framework นั้นใช้งานง่าย เป็นขั้นเป็นตอน มากับเครื่องมือ Control ที่ทำงานแบบลากและวางทำให้การพัฒนาแอพพลิเคชันบน iOS นั้นทำได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งส่วนเสริมใด นอกจาก XCode และ iPhone SDK ที่มีการปรับรุ่นไม่บ่อยนัก

กลับกันหากมองไปที่การพัฒนาแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งน่าจะดูพัฒนาง่ายกว่าเพราะว่า ไม่จำเป็นต้องรัน IDE หรือตัว Framework บนเครื่อง Mac OSX อย่างเดียว สามารถใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows บนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีธรรมดาก็สามารถพัฒนาได้ แต่ใครจะรู้ว่าสำหรับ นักพัฒนาผู้เริ่มต้น ที่ เพิ่งจะเริ่มต้นจริงๆ (ต้องไม่นับพวกเหล่า Android Fan club และนักพัฒนาที่ Anti Apple) จะทราบว่าการติดตั้ง Framework และสร้าง Environment สำหรับชุดพัฒนานั้นมันยุ่งยาก และเสียเวลาแค่ไหน อย่างการที่ต้องดาวน์โหลด Eclipse มาเป็นเครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรม แต่ต้องไปติดตั้งส่วนเสริมจาก Android SDK บน Google Source หรือ Github และอะไรหลายๆ อย่าง การติดตั้งมันสำหรับนักพัฒนาจริงๆ แม้ว่าจะการพัฒนานั้นก็ไม่ต่างกันนัก แต่ขอยืนยันว่าสำหรับนักพัฒนามือใหม่ ก่อนจะชำนาญนั้นต้องรู้ดี แต่แกล้งเนียนทำเป็นลืมว่า การติดตั้ง Framework และ SDK ของ Android นั้นมันยุ่งยากวุ่นวายจริงๆ ถึงจะฟรีก็เถอะ

ทำไมแอพพลิเคชันบน สมาร์ทโฟนต้องพัฒนาลง iOS ก่อนจะไป Android และแพลตฟอร์มอื่นๆ

ทำไมแอพพลิเคชันบน สมาร์ทโฟนต้องพัฒนาลง iOS ก่อนจะไป Android และแพลตฟอร์มอื่นๆ

เอาเป็นว่าปัจจัยที่ยกมาทั้งด้านของธุรกิจ ระบบ Ecosystem และ Environment ของการพัฒนาแล้ว จะเห็นว่า iOS นั้นยังคงได้เปรียบกว่า Android อยู่แน่นอน

ทำไมแอพพลิเคชันบน สมาร์ทโฟนต้องพัฒนาลง iOS ก่อนจะไป Android และแพลตฟอร์มอื่นๆ

อาจจะเป็นไปได้ว่าเกมธุรกิจด้านนี้จะพลิกได้นั้น สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android ต้องเปลี่ยนคุณสมบัติให้กลายเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ ผู้ใช้งานทั่วไป หรือ เสถียรก่อน เวลานั้นจะทำให้ตลาดแอพพลิเคชันจะหันมาพัฒนาลง Android แล้วค่อยย้ายไป iOS ทันที เพราะตอนนี้คุณยอมรับกันเถอะกลุ่มผู้ใช้ Android ทั้งหลาย ว่า Android ตอนนี้มันยังเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับนักพัฒนาอยู่ แม้จะมี Feature มากมายที่รองรับการใช้งานทั่วไปก็ตาม

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน