Open Source Game

PC Game is Dead, Thriving up Social game ตอนที่ 1

PC Games โคม่า ได้เวลาผ่าใส่ Social Game,เกมบนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีกำลังอยู่ในช่วงตกต่ำ ในช่วงไตรมาสหลังของปี 2011 ยอดขายของเกมบนเครื่องพีซีนั้นร่วงหล่นมากกว่า 66% ในระยะเวลาไม่ถึงครึ่งปี เพราะปัจจัยสามอย่างที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจของเกม นั่นคือปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของตัวเกม ช่วงอายุความรับผิดชอบรวมถึงค่านิยมของผู้เล่นที่เปลี่ยนไปจากอดีต

PC Games โคม่า ได้เวลาผ่าใส่ Social Game ตอนที่ 1

และข้อสุดท้ายที่เป็นจุดชี้เป็นชี้ตายนั่นก็คือการเติบโตของ Social Media อย่าง Facebook และ Google+

ถึงคราวเกมพีซีเสื่อมถอย?

ตลาดเกมพีซีสมัยก่อนนั้นอาจจะไม่ต้องง้อผู้เล่นเลยก็ว่าได้ ด้วยจุดขายในเรื่องของความสวยงามของกราฟิก และระบบการเล่นที่สมจริงทำให้ผู้เล่น หรือผู้บริโภคต่างยินยอมที่จะลงทุนปรับแต่งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้นเพื่อให้รองรับเกมที่พวกเขาชื่นชม ตลาดของเอเชียนั้นไม่มีปัญหาเพราะอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์เสริมสำหรับเล่นเกมนั้นสามารถใช้สินค้าที่ผลิตในระดับรองได้ โดยเฉพาะในประเทศจีนและไต้หวัน ทำให้ตลาดเกมออนไลน์และเกมบนพีซีเป็นที่นิยม ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย ที่ตลาดของเกมนั้นยังคงได้รับความนิยมอยู่สูง ตรงกันข้ามกับประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ซึ่งกำลังเผชิญปัญหาที่ใหญ่หลวง และเห็นอนาคตที่กำลังย่ำแย่ได้ชัดกว่าหลายประเทศในทวีปเอเชีย

PC Games โคม่า ได้เวลาผ่าใส่ Social Game ตอนที่ 1

ญี่ปุ่นที่เป็นประเทศเจ้าตลาดอุตสาหกรรมเกมนั้นก็ประสบปัญหาในเรื่องนี้หนักพอควร แต่ตลาดเกมของญี่ปุ่นยังทำได้ดีในเรื่องของเครื่องเกมคอนโซลที่ยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคนทำงานและวัยผู้ใหญ่ แต่สหรัฐอเมริกานั้นตั้งแต่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ราคาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างมีต้นทุนที่สูง ยิ่งเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศแล้วยิ่งหนักหนาเข้าไปใหญ่ ขณะที่ค่ายเกมทั้งหลายกลับไม่หยุดที่จะพัฒนาระบบการประมวลผล และกราฟิกที่สวยงามเพื่อเป็นจุดขายในท้องตลาด แต่ลืมไปว่าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีนั้นสูงขึ้น

“ถ้าเราต้องการเล่นเกมราคา 200 เหรียญ แล้วทำไมเราต้องยอมเสียค่าอัพเกรดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เครื่องคอมพิวเตอร์ 600 เหรียญด้วย”

นั่นคือเหตุผลหลักจากกลุ่มนักเล่นเกม หรือเกมเมอร์ในสหรัฐฯ ที่กำลังจะเปลี่ยนวัยเข้าสู่ช่วงของวัยทำงาน พวกเขาโตขึ้นแล้วพอจะมองว่าอะไรเป็นอะไร อีกทั้งฉลาดพอจะคำนวณต้นทุนที่พวกเขาจะต้องเสียไปโดยใช่เหตุได้อย่างดีทีเดียว พวกเขายินดีที่จะเล่นเกมฆ่าเวลาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook หรือ Google+ เพราะง่ายต่อการเล่น อีกทั้งไม่ต้องปรับเปลี่ยนสเป็กเครื่องคอมพิวเตอร์มากมาย และยังสร้างสังคมออนไลน์เล่นกับเพื่อนร่วมกลุ่ม หรือเพื่อนในที่ทำงานได้ง่ายกว่า โดยไม่เสียเวลา และค่าเสียโอกาสในการทำงานอีกด้วย

PC Games โคม่า ได้เวลาผ่าใส่ Social Game ตอนที่ 1

ถอยดีกว่า?

Electronic Arts หรือ EA ยักษ์ใหญ่ในวงการเกมประสบความสำเร็จอีกครั้ง หลังจับ The Sims Social เกมออนไลน์บน Facebook ที่ดัดแปลงเกมชื่อเดียวกันที่พัฒนาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีมาเป็นเวลานาน ในตอนนี้มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมเล่นเกม The Sim Social นี้มากกว่า 22 ล้านรายแล้ว และมีท่าทีจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การยอมลดสเป็กในการพัฒนาเกมบนเครื่องพีซีของ EA แล้วมาทำเกมที่เรียบง่ายกราฟิกเบาๆ ผ่าน Facebook หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ถือว่าทาง EA อ่านความเป็นไปในตลาดได้ขาดทีเดียว เนื่องจาก EA สามารถมองสถานการณ์ในช่วงย่ำแย่ของสหรัฐฯ และแนวโน้มในตลาดของเกมออนไลน์ ที่กลุ่มผู้เล่นเกมนั้นไม่ใช่เด็กในประเทศใดประเทศหนึ่งมาเล่น แต่เป็นกลุ่มผู้เล่นทุกเพศทั่วโลก ทำให้ The Sim Social เป็นเกมยอดนิยมบน Facebook และยังเป็นเกมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ EA อีกด้วย

PC Games โคม่า ได้เวลาผ่าใส่ Social Game ตอนที่ 1

โมเดลของธุรกิจที่ EA ใช้ก็คือการเจริญรอยตามเกมรุ่นพี่อย่าง FarmVille และ CityVille ของบริษัท Zynga แม้ว่าในตอนนี้ Zynga จะยังคงกินส่วนแบ่งการตลาดที่สูงกว่า EA อยู่มากกว่า 70% แต่รูปการณ์แบบนี้ The Sim Social ของ EA อาจจะเป็นเกมที่จะทำให้เกิดภาวะ “ที่นาร้าง” ใน Facebook เร็วๆ นี้ก็เป็นได้

เกมพีซีจะสูญพันธุ์?

ในบทแรกของหัวข้อนี้ ผู้เขียนยังไม่กล้าฟันธงใดๆ กับธุรกิจที่พูดถึง เพราะปัจจัยที่อยู่ในภาวะนี้มีหลายอย่าง ซึ่งอาจจะผลักดันและสร้างที่ทางให้ตลาดเกมบนพีซียังอยู่ต่อไปได้ ทางออกที่ดีหากไม่ต้องการให้เกมบนเครื่องพีซีตายจากไป ก็คือใช้เทคนิคเดียวกับที่ทาง Civilization ที่ทำเกม CivWorld ให้เล่นบน Facebook ด้วยระบบง่ายๆ แล้วถ้าชอบจริง อยากเจอความท้าทายจริงให้ซื้อแผ่นเกมลิขสิทธิ์ในราคาที่ถูกกว่าหากซื้อผ่าน Facebook จุดนี้น่าจะเป็นโมเดลธุรกิจที่เข้าท่าที่สุดที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ของเกมพีซีให้ยังอยู่ต่อไป

ติดตามหัวข้อนี้ต่อไป ตอนที่ 2จะทยอยหา Fact มาถกกันครับ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน