Article for Gamer

Digital Branding กับ เกม ทางลัดของความสำเร็จ

การสร้างเอกลักษณ์จนเป็นที่น่าจดจำแก่ผู้บริโภค นั้นหลายสื่อ หลายบริการจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการสร้างความน่าจดจำต่อแบรนด์สินค้า ซ้ำต้องวัดผลการรับรู้แบรนด์สินค้าหลังจากได้ทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ไประยะหนึ่งแล้วมานั่งลุ้นกัน แต่ใครจะทราบบ้างว่าเทคนิคหนึ่งที่นักการตลาดทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยยกให้เป็นสะพานที่ตัดผ่านระยะเวลา และปัญหาต่างๆ หรืออาจจะเป็นทางลัดสู่ความสำเร็จหรือ Goal ที่ชัดเจนของแต่ละแคมเปญนั่นคือ เกม หรือ Social Game นั่นเอง

Social Game มาแรงทุกแพลตฟอร์ม

Social Game มาแรงทุกแพลตฟอร์ม

จากเดิม Social Game หรือเกมบนเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นเป็นอะไรที่วัด ROI ได้ชัดเจนมากที่สุดมาตลอดปี 2011 ที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้รับรู้ และจดจำแบรนด์ของสินค้าที่สร้างสรรออกมาในรูปแบบของเกมไปแล้ว ในตอนนี้ Social Game พร้อมจะพุ่งออกจากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์หรือ Social Network มาสู่อุปกรณ์พกพาอย่างพวกแท็บเล็ตแล้ว เพราะอุปกรณ์แท็บเล็ตอย่าง iPad หรือ Samsung Galaxy Tab ไปจนถึงรุ่นอื่นๆ หลายๆ ตัวกลายเป็นอุปกรณ์ที่มาเป็นตัวเชื่อมระหว่างคอนเท็นต์ เนื้อหาของสื่อที่ต้องการปรากฏสู่สายตาของผู้บริโภคผ่านแอพพลิเคชัน ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการต่างๆ ที่ผู้บริโภคสามารถพกพาไปที่ไหนก็ได้ ทั้งห้องน้ำ ห้องนอน หรือ ร้านอาหาร ทำให้แท็บเล็ตได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่ใครๆ ก็อยากได้เป็นของส่วนตัว ซึ่งไม่น่าเชื่ออีกว่า 48% ของผู้ใช้แท็บเล็ตนั้นคือกลุ่มที่ใช้แท็บเล็ตในการเล่นเกมเป็นหลัก ซ้ำร้ายเกมที่เหล่าผู้บริโภคเล่นผ่าน แท็บเล็ตนั้นผู้บริโภคใช้เวลาจดจ่อในการเล่นเกม และจดจำรายละเอียดของเกมได้อย่างละเอียดอีกด้วย

แบรนด์ดังมายัดของลงเกม สร้าง Digital Branding

ในเมื่อเกมบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และแอพพลิเคชันเกมต่างๆ บนแท็บเล็ตนั้นได้กินสัดส่วนของผู้บริโภคไปแล้ว 48% เหล่าแบรนด์ชื่อดังหลายค่ายก็เลยหันมาวิเคราะห์ เพื่อใช้โอกาสจากเกมทั้งบนเว็บ และ แท็บเล็ต มากขึ้นซึ่งผลที่ได้รับนั้นการรับรู้แบรนด์ของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า บริการผ่านเกมนั้น ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะรับรู้จากเกมที่มีการนำเสนอในรูปแบบ Casual หรือเกมง่ายๆ ไว้เล่นฆ่าเวลาเวลาเดินทางบนรถไฟฟ้า หรือ รถประจำทาง

เมนูการซื้อสินค้าในเกม

ซึ่งเจ้าเกมประเภท Casual นี้แหละที่การันตีให้เราได้เห็นภาพชัดเจนว่า ผู้บริโภคที่เป็นพนักงานออฟฟิศ หรือนักศึกษา นิยมเล่นเกมประเภทนี้ผ่านแท็บเล็ต และเว็บไซต์เป็นจำนวนมากกว่าเกมในประเภทอื่นๆ แบรนด์ทั้งหลายจึงพร้อมใจสร้างสินค้าเสมือน หรือแบรนด์เสมือนสอดแทรกลงไปในเกม

เกมกับการทำ Online Marketing

แน่นอนว่าหลักในการทำการตลาดออนไลน์ หรือ Online Marketing ผ่านเกม หรือ Social Game นั้นนักการตลาดจำเป็นต้องสร้างความผูกพันระหว่างผู้บริโภคกับเกม และแบรนด์ ที่เรียกว่าหลักในการทำ Brand Engagement เพราะเมื่อผู้บริโภคที่เล่นเกมเริ่มผูกพันธ์กับเนื้อหาภายในเกมแล้ว ความน่าจะเป็นที่ผู้บริโภคจะซึมซับถึงประโยชน์ และข้อเสนอแนะที่ถูกนำเสนอผ่านสินค้าเสมือน  Virtual Goods หรือ แบรนด์เสมือน Brand Content ในเกมได้สูงนั้นจะมีความเป็นไปได้ในเกณฑ์ที่ดีทีเดียว นึกถึง Facebook Credit ของ Facebook ก่อนได้เลย ถ้าไม่เกิด Brand Engagement กับผู้บริโภค ก็จะไม่มีการซื้อขายธุรกิจ Facebook Credit นี้อย่างจริงจังเลย กับการขาย Virtual Goods เลย

เกมกับการทำ Online Marketing

สิ่งที่วัดผล ROI ของการทำ Digital Branding

ในเมื่อมีการสร้าง Branding ในเกมผ่านการทำ Brand Engagement ไปบ้างแล้วสิ่งที่วัด ROI หรือความสำเร็จจากการทำการตลาดผ่านเกมได้นั้นก็คงหนีไม่พ้นในเรื่องของจำนวนผู้เล่นต่อเดือน (หรือบางที่ก็ต่อวัน) ระยะเวลาที่เล่นแคมเปญ และมีผู้เล่นปฏิสัมพันธ์กับเกมตลอดเวลา (ต้องวิเคราะห์ในเรื่องของความถี่ในการเข้ามาเล่น) และสุดท้ายคือยอดเงินที่เกิดจากผู้บริโภคซื้อสินค้า Virtual Goods ผ่านเกม

เกมกับการทำ Online Marketing

กลายเป็นว่าการทำ Digital Branding ผ่านเกมนั้นยังคงได้ผลที่ดีทั้งในระบะเวลาที่สั้น แต่หากขาด ในเรื่องของ การสร้างความผูกพันธ์ระหว่างเกมกับผู้เล่น Engagement กับ Promotion Offers หรือโปรโมชันรางวัล ในเงื่อนไขของการเล่นเกมในระยะยาว แล้วล่ะก็เกมที่มีแต่ Virtual Goods สินค้าเสมือน  และ In-Game Advertising หรือโฆษณาในเกม มากมายก็อาจจะเหมือนคลื่นลูกใหญ่ที่สาดเข้าฝั่งครั้งเดียวแล้วก็แตกตัวกลับสู่ท้องทะเลก็เป็นได้ ดังนั้นนักการตลาดออนไลน์ที่ต้องการสร้าง Digital Branding ของตัวเองผ่านเกม และแบรนด์ภายในเกมนั้น จำเป็นต้องอาศํยทักษะ พื้นฐานของการทำการตลาดในเรื่องของการดูแลลูกค้าเก่าอยู่วันยังค่ำ นอกนั้นประเด็นยิบย่อยที่น่าสนใจคือ สำหรับเจ้าของแบรนด์หากจะลงทุนพัฒนาเกม แล้วแทรก In-Game Advertising หรือ Brand Content ลงในเกมแล้วล่ะก็ ลองหันไปวิเคราะห์ทำการบ้านเกี่ยวกับตลาดของ แท็บเล็ต และแอพพลิเคชันประเภทเกมก่อนก็คงจะดี เพราะรู้สึกว่าอุปกรณ์ส่วนทั้งหมดนี้มีโอกาสที่จะไปได้สวย และน่านำแบรนด์สินค้ายัดลงในแอพพลิเคชันเกม ซะเหลือเกินครับ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน