Android DeveloperAndroid Kotlin

พัฒนาแอพพลิเคชัน Android ด้วยภาษา Kotlin

เมื่อวันที่ 17 พค.ที่ผ่านมาในงาน Google I/O ทาง Jetbrain ผู้พัฒนา IDE เจ๋งๆได้เปิดตัว Class Support ด้วยภาษาใหม่คือ Kotlin เรามาเริ่มต้นเรียนรู้กันดีกว่า

สำหรับคนที่สนใจการพัฒนา แอพพลิเคชัน Android ด้วยภาษา Java สามารถทบทวนบทเรียนการพัฒนาได้ที่นี่: http://www.daydev.com/category/developer/android-developer

ภาษา Kotlin นั้นต้องมีการตั้งค่าผ่าน Android Studio เวอร์ชันล่าสุดครับ โครงสร้างภาษา Kotlin นั้นเหมือน Swift และ Python ที่รู้สึกว่าจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของ Syntax ทั่วโลกไปเสียแล้วมั้ง? เพราะ ภาษา Go ก็คล้ายๆ กัน

เริ่มต้นพัฒนาแอพพลิเคชันด้วยภาษา Kotlin;

เราจำเป็นต้องตั้งค่าการพัฒนาโดยการไปปลุกเจ้า Kotlin ให้ตื่นจากการหลับไหลก่อน ให้เปิด Android Studio ขึ้นมาไปที่เมนู ด้านขวาล่างเลือก Configure -> Plugins

เมื่อเข้าไปที่หน้า Plugin แล้วให้เลือก Browse repositories บริเวณปุ่มตรงกลางด้านล่างหน้าต่าง

ทำการค้นหา Kotlin ให้เรากด Install แล้ว restart โปรแกรม Android Studio ใหม่เสีย

ระบบจะทำการ Restart

สร้างโปรเจ็ค Basic Activity ขึ้นมาตามปกติครับ

เมื่อพร้อมเขียนโปรแกรมเราจะได้ MainActivity ของเราเป็น Java อยู่ให้ไปที่ Tool Bar เลือก Code-> Convert Java File to Kotlin File เสีย หรือกด CTRL + ALT + SHIFT + K

ระบบจะใช้เวลาแปลง Syntax ของเราจาก Java เดิมไปเป็นไฟล์นามสกุล .kt ซึ่ง MainActivity.kt ของเราจะเป็นดังนี้

ดู Syntax คล้าย Python + Swift ครับ ลดรูปแบบการประกาศ final และ new ไปเยอะ ให้เรากดที่ หน้าจอ Editor ตรง Code ส่วนว่างๆ ตรงไหนก็ได้ ให้กดปุ่ม Shift 2 ครั้งครับ

ไปที่ Actions เลือก Configure Kotlin in Project ครับ

กดปุ่ม OK หลังจากนั้นระบบจะเปิดไฟล์ app ส่วนของ Gradle ขึ้นมาให้, ให้เราเพิ่มบรรทัดนี้ลงไปใน Gradle ส่วนของ app module ครับ ใน dependencies ครับ

ดังนั้นไฟล์ build.gradle(Module: app) จะเป็นดังนี้ครับ

หลังจากนั้นทำการ Sync ตัว Gradle แล้วไปเขียนโปรแกรมกัน ให้เราไปเพิ่ม ID ให้กับ TextView ในหน้า content_main.xml ก่อนครับ

เวลาประกาศ Widget บน MainActivity.kt ก็เป็นดังนี้;

หลังจากนั้นให้เราไปเพิ่ม Action ใน Floating Action Button ตามนี้

ทดสอบซะ

แตะเจ้าปุ่มสีชมพูดูสักนิด TextView จะเปลี่ยนเป็น Kotlin Start!, เรามาดู Action เบื้องต้นกับ Button Widget กันหน่อยครับ;

พอจัดผูกเรียบร้อยก็ตั้ง ID ว่า btnAction ครับ ไฟล์ content_activity.xml จะเป็นดังนี้:

ส่วน MainActivity.kt นั้นก็ทำการเขียนคำสั่งของปุ่มดังนี้ครับ;

การประกาศ Widget Button คือ

ส่วนการทำงานก็คือ

รอช้าทำไมรีบทดสอบดีกว่า!

จะเห็นว่าการเขียนโปรกรมในปัจจุบันเริ่มมี Syntax ที่เอื้อต่อการทำความเข้าใจและลดขั้นตอนการจัดการชุดคำสั่งแล้วครับ ก็เอาเป็นว่าเป็นอีกภาษาหนึ่งที่น่าสนใจแล้วกัน ลองทำกันดูครับ

Tags

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Back to top button
Close
Close

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน