Google AnalyticsGoogle StudioMarketing Strategy

วิเคราะห์ข้อมูล Data Visualization ด้วย Google Data Studio

เมื่อช่วงต้นปี 2016 ทาง Google ได้เปิดชุดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างรายงานสำหรับทำ Data Virtualization ฟรีคือ Google Data Studio 

Data Virtualization นั้นอาจจะยังไม่จำเป็นมากนักหากข้อมูลภายในองค์กรยังมีจำนวนไม่มาก แต่ถ้าเมื่อไรที่ข้อมูลองค์กรมีจำนวนมหาศาล การทำ Data Virtualization เป็นวิธีการ และเครื่องมือที่ฝ่ายบริหาร และกลยุทธ์ต้องนำมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ ข้อมูลเพื่อจะได้เลือกให้ถูกว่าควรจะใช้ Data Virtualization หรือ Big Data (ซึ่งอันที่จริงก็ใช้ได้ทั้ง 2 แบบ) แต่ถ้าในแง่ของการตลาดออนไลน์ หรือการตลาดดิจิตัล Data Virtualization อาจจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่น่าสนใจในการสร้าง Dashboard ข้อมูลให้แก่ทีมภายใน เอเจนซี หรือ ลูกค้าเว็บไซต์ของเราได้สบายๆ

screen-shot-2016-11-17-at-9-44-28-pm

Google Data Studio จึงเหมาะในการทำรายงานในรูปแบบ Data Visualization แปลผลลัพธ์สถิติข้อมูลตัวเลขที่คนทั่วไปยากจะเข้าใจให้ออกมาเป็นกราฟิกเชิง Infographic ที่นักวิเคราะห์ นักการตลาดดิจิตัล หรือผู้บริหาร สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ผ่านหน้าจอการจัดการเครื่องมือ (Tool) และ แหล่งข้อมูล (Source) แบบลากวาง ให้เราออกแบบหน้าตา Dashbord รายงานได้ตามต้องการ

โดยแนวคิดการทำงานของ Google Data Studio นั้นคือการ เชื่อมต่อ ออกแบบ และแบ่งปัน

data-studio-workflow

การเชื่อมต่อ (Connect) คือการจัดการ Source หรือแหล่งข้อมูล พื้นฐานของ Google Data Studio นั้นจะประกอบไปด้วย Google Analytics, YouTube Analytics, Google Sample Data จาก BigQuery หรือ Database ของเราเองที่มีการปล่อยข้อมูล ในรูปแบบ API หรือ Table Data

การออกแบบ (Visualize) เป็นเรื่องของการวิเคราะห์สิ่งที่เรามีแล้วหยิบออกมานำเสนอในรูปแบบภาพกราฟิกแบบ Infographic Dashboard ซึ่งจะต้องใช้ทักษะในเรื่องของ UX/UI เข้ามาผสมกับการนำเสนอข้อมูลแบบมีนัยมาประกอบกัน

การแบ่งปัน (Share) คือรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในรูปของ Data Virtualization โดยสิทธิ์ในการแบ่งปัน หรือนำเสนอข้อมูลเหมือนการแบ่งเนื้อหาทั่วไปของ แอพพลิเคชันที่อยู่ในระบบของ Google Apps

กรณีศึกษา การนำ Google Data Studio มาใช้, เว็บไซต์ Cleothailand.com

ช่วงหนึ่งบริษัทรับเป็นที่ปรึกษาในเรื่องของ Infrastructure, แคมเปญการวิเคราะห์ Online Behavior ด้าน Customer Journey จาก Data ของ Google Analytics และ Conduct Survey หน้าเว็บไซต์ของ Cleothailand.com (สิ้นสุด Nov 2016) กรณีศึกษาหนึ่งที่ทางทีมงานพบเจอเป็นประจำคือการออกรายงานวิเคราะห์พฤติกรรมออนไลน์เพื่อนำมา Consult ในส่วนของ Google Analytics ซึ่งวิธีการเดิมคือการ Export หน้า Custom Dashboard แล้วใช้วิธีการประชุมเพื่ออธิบาย และอีกกรณีหนึ่งคือการออกรายงานสถิติแบบ Custom เพื่อนำเสนอกลุ่มของเอเจนซี หรือลูกค้าที่ต้องการดูสถิติในแต่ละ Segment และ Metrics ที่เจาะจงแตกต่างกันไป บางครั้งต้องอธิบายการใช้งานให้กับ Admin ของทีม Cleothailand เกี่ยวกับการใช้งานเบื้องต้นของ Google Analytics ทีละเมนู ปัญหาคือ Admin ไม่ใช่คนที่เป็นนักวิเคราะห์แคมเปญ หรือไม่ได้ชำนาญ Google Analytics เท่าไร และบางส่วนที่ต้องสร้างจาก Custom Report Dashboard ของ Google Analytics ก็ไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการซื้อโฆษณาของเว็บไซต์

การออกแบบ Data Studio ของเว็บไซต์ Cleothailand.com จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์สำหรับการสร้าง Interactive Report ในรูปแบบ Data Virtualizatio ให้กับทีมของ Cleothailand.com และ ลูกค้าของ Cleothaialnd.com ที่ต้องการดูสถิติบางอย่างของเว็บไซต์

เริ่มต้นคือการเชื่อมต่อ Google Analytics เป็น Source ให้กับ Data Studio แล้วสร้าง Project ใหม่

สร้างรายงานใหม่
สร้างรายงานใหม่
เข้าระบบเชื่อมต่อ Google Account
เข้าระบบเชื่อมต่อ Google Account
สร้าง Data Source ใหม่จากชุดข้อมูลที่เรามี
สร้าง Data Source ใหม่จากชุดข้อมูลที่เรามี
เลือก datasource ตัวอย่างเป็น Google Analytics Account ของเว็บไซต์ที่เราดูแล
เลือก datasource ตัวอย่างเป็น Google Analytics Account ของเว็บไซต์ที่เราดูแล

ทำการออกแบบ Dashboard Template จาก Wireframe หรือ Excel ที่คิดว่ากราฟที่ปรากฏนั้นถูกต้องตามที่ลูกค้าต้องการดูสถิติ โดยวิเคราะห์ข้อมูล จับคู่ Dimension และ Metrics ให้ดูเหมาะสม เช่น Visitor ควรอยู่กับ Bource Rate, Location ควรอยู่กับ Avg Time On Site เป็นต้น ไปสอบ GAIQ ได้ครับ

Dashboard Wireframe
Dashboard Wireframe
การออกแบบ Dashbaord สำหรับ Virtualize
การออกแบบ Dashbaord สำหรับ Virtualize

เมื่อได้ Template แล้วให้ทำการ ลากวางและตั้งค่าชุดข้อมูลให้ “จำกัด”,”ชัดเจน” และ “ตรงประเด็น” บางชุดข้อมูลสามารถใช้สูตรการคำนวณได้เช่น การทำ CTR, CPA (Cost Per Action) เป็นต้น ตกแต่งให้สวยงามตามชุดสี (ขึ้นอยู่กับ CI ขององค์กรที่เราติดต่อ)

ตัวอย่าง ทีมของลูกค้าที่ต้องการลงโฆษณาได้ทำการลงโฆษณาไปแล้วอยากจะรู้ว่า บทความในวันนั้นที่ลงได้รับความนิยมแค่ไหน ก็จะทำการออกแบบ โดยการใช้ Table ตารางนำเสนอ title ของบทความที่มีคนเข้าเยอะสุดเรียงลำดับ (ซึ่งมันจะอัพเด็ต Real Time) มาทำการนำเสนอ

ออกแบบ Page Title ที่มี Visitors และ PageViews สูงสุดมานำเสนอแบบ Real Time
ออกแบบ Page Title ที่มี Visitors และ PageViews สูงสุดมานำเสนอแบบ Real Time
การออกแบบ Metric ควรเลือกให้ถูก และตรงประเด็น
การออกแบบ Metric ควรเลือกให้ถูก และตรงประเด็น

หมายเหตุ: ส่วนนี้อาจจะใช้สำหรับทีมภายใน ที่ต้องดูกระแสของประเด็นที่กำลัง “ปัง” ก็ได้

ในการออกแบบตามตัวอย่างนี้จุดประสงค์คือ Interactive Real-Time Dashboard Report สำหรับลูกค้าที่ต้องการรู้ข้อมูลบางส่วนของเว็บไซต์อยากจะทำการดูสถิติช่วงเวลาได้เอง โดยที่ ทีม Admin ไม่ต้องคอย Export ใหม่ให้ตลอดเวลาให้ใส่ Component ส่วนของ Date Filter ลงไป

screen-shot-2016-11-17-at-10-34-02-pm

ขั้นตอนสุดท้ายเมื่อออกแบบ Dash Board เสร็จเรียบร้อยแล้ว, ให้ทำการ Share สิทธิในการดูรายงานนี้ให้กับ อีเมลของลูกค้า หรือผู้ที่ต้องการจะใช้รายงานนี้ในการวิเคราะห์ และตัดสินใจ ที่ Share

ปิดโหมด Edit แล้วทำการ Share
ปิดโหมด Edit แล้วทำการ Share

 

ใส่ Email บุคคลที่ต้องการจะแชร์
ใส่ Email บุคคลที่ต้องการจะแชร์

 

เฉพาะโหมด View สำหรับลูกค้าที่ได้รับ Email Invite สามารถดูสถิติย้อนหลังได้จาก Date Filter
เฉพาะโหมด View สำหรับลูกค้าที่ได้รับ Email Invite สามารถดูสถิติย้อนหลังได้จาก Date Filter
ปรับโหมด Full Screen ได้
ปรับโหมด Full Screen ได้

จะเห็นว่า กรณีศึกษาส่วนรายงานข้อมูลประมาณหนึ่งในการทำ Data Virtualization สำหรับงานขายเว็บไซต์นั้นไม่ยาก สามารถออกรายงานแบบ Interactive Report Dashboard ให้เอเจนซี หรือ ลูกค้า ไปจนถึงผู้บริหารได้วิเคราะห์รายงานได้อย่างสะดวกผ่าน Google Account นับว่า Data Studio ของ Google เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนการขาย และการนำเสนอ Proposal ออนไลน์ทำได้สะดวก และเป็นแนวคิดการทำ ให้องค์กรที่เราอยู่เป็น Digital Transformation ได้อย่าง 100%

ไปทดลองใช้กันดูครับ : )

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน