ETCFeaturedInbound MarketingMarketing IdeasMarketing StrategyMobile TechnologySEOSEO for Marketing

App Store Optimization (ASO) ปรับแต่งแอพฯ ให้ค้นหาได้เร็ว

ไม่นานมานี้มีกลยุทธ์ปรับแต่ง App Store ให้แอพพลิเคชันเราอยู่ในอันดับ Top Download Apps และค้นหาได้รวดเร็วกระบวนการนี้เรียกว่า App Store Optimization (ASO)หากได้ติดตามในโลกอินเทอร์เน็ต หรือบทความเรื่องการตลาดออนไลน์ จะเห็นหลายสื่ออย่าง Forbes, Web Pro News และ Search Engine Watch ในต่างประเทศได้มีการออกมานำเสนอข่าวสาร บทความ และสาธิตวิธีการ ถึงกระบวนการทำ ASO หรือ App Store Optimization พร้อมแนบกรณีศึกษาอีกหลายรูปแบบขึ้นมานำเสนอ โดยกรณีศึกษาที่นำมาเสนอนั้นต่างให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วว่า การทำ ASO นั้นสามารถทำให้ได้ผลจริงๆครับ

 App-Store-Optimization

ในช่วงแรกนั้นมีการทดลองผ่าน Apple App Store ของ แพลตฟอร์ม iOS  มากกว่า  Google Play Store ของ Android โดยนักการตลาดหลายสื่อเริ่มวิเคราะห์และลงความเห็นแล้วว่า การทำ ASO หรือ App Store Optimization นั้นมีขั้นตอน และผลลัพธ์ในเชิงบวกที่ใกล้เคียงกับการทำ SEO หรือ Search Engine Optimization เลยทีเดียว เพียงแค่ในช่วงแรก (2012) นั้น อัลกอริทึ่มของการทำ ASO นั้นยังไม่ซับซ้อนเท่ากับของ Google เท่าไร

การทำ ASO กลายเป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่า App Store ของหลายๆ ค่ายอย่าง Apple App Store, Google Plays, Samsung App Store และ Black Berry App Worlds นั้นมีแผนที่จะให้นักพัฒนา และนักการตลาด ใช้เป็นพื้นที่ในการสร้างการค้นหาแอพฯ ต่างๆ ที่เป็น Eco System ของตนได้เล่นกันนานแล้ว ให้ยกตัวอย่างก็คือ ข้อบังคับมากมาย เวลาที่เราจะต้อง Submit ส่งแอพพลิเคชั่นของเราขึ้นไปบนระบบของ App Store ที่จะต้องเจอกับไอคอน ขนาดไอคอน ชื่อแอพพลิเคชั่น และ Meta Data มากมายที่ต้องกรอกเข้าไปตาม Guideline หรือข้อกฎข้อบังคับของแต่ละที่ ประกอบกับแนวโน้มของผู้ใช้ที่การันตีแล้วว่าแอพพลิเคชั่นไหน ไม่ว่าจะเป็น Free หรือ Paid Apps ถ้าติดอันดับ Top Download นั่นคือแอพพลิเคชั่นที่ประสบผลสำเร็จ และมีการดาวน์โหลดไปใช้เยอะ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องในเรื่องของการค้นหาชื่อแอพพลิเคชั่น หรือ Keywords ที่เกี่ยวข้องในการค้นหาแอพพลิเคชัน

aso-cheatsheet

การจัด Ranking หรืออันดับของ App Store Optimization (ASO) นั้น หากให้วิเคราะห์ตามหลักที่ใกล้เคียงกับ SEO แล้วการแสดงผลลัพธ์ที่เกิดจากการค้นหาคำสำคัญหรือ “Keyword” นั้นก็ไม่ต่างจากการทำงานแบบ Textual Aspect หรือ Contextual ของอัลกอริทึ่มของ Google ที่ขอให้มีคำสำคัญปรากฏบนแอพพลิเคชั่นเหล่านั้นบนชื่อแอพพลิเคชั่น และ Meta Data นั่นเอง อีกทั้งมีการวัดผลจาก Popularity จำนวนการดาวน์โหลด และ Rating ที่เกิดจากการให้คะแนนของผู้ใช้งานเกณฑ์เหล่านี้นี่เองจึงกลายเป็นอัลกอริทึ่มของการทำ ASO ให้แอพพลิเคชั่นของเราค้นหาได้ง่าย

สำหรับการวางแผนการทำ ASO หรือ App Store Optimization นั้นใช้เกณฑ์ต่อไปนี้

App Name ชื่อแอพพลิเคชั่น

ชื่อของแอพพลิเคชั่น ต้องมีความเกี่ยวเนื่องกับคำสำคัญที่ต้องการจะค้นหา หรือมีความสอดคล้อง (Relevance) โดยคำสำคัญควรปรากฏในชื่อของแอพพลิเคชั่น

App Publisher ชื่อผู้พัฒนา

อาจจะไม่เป็นข้อกำหนดที่จำเป็น แต่ก็ถือว่าอยู่ในกฎการทำ ASO อยู่ นั่นคือผู้ Publish หรือผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น เพราะบางทีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนต้องการค้นหาแอพพลิเคชั่นของเรา เขาอาจจะจำแค่ชื่อผู้พัฒนาแค่นั้น เมื่อค้นหาก็จะพบกับแอพพลิเคชั่นของ Publisher คนนั้นปรากฏขึ้นให้เลือก

Keywords และ Description

หลักการคล้ายกับการทำ On-Page SEO เพียงแค่ต้องมาใส่ใน Meta Data ของ App Store แทนเป็นอีกหนึ่งเกณฑ์ที่สำคัญ เพราะการค้นหาผลลัพธ์ของแอพพลิเคชั่นของเรานั้นก็มาจากคำสำคัญหรือ “Keyword” ที่ค้นหานั้นปรากฏอยู่ใน Keywords และ Description ของตัวแอพพลิเคชั่นของเรา ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมากกว่าการทำ ASO อีกด้วย นั่นคือการให้คะแนน Rating ของแอพพลิเคชั่นเรา จากคำอธิบายที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ และสอดคล้องกับไอคอน และภาพหน้าจอการใช้งานเบื้องต้น หรือ ScreenShort ถ้าทุกอย่างลงตัวก็จะเกิดการดาวน์โหลดมากกว่าปรกติ

Rating และ Recommended

เป็นตัวช่วยให้เกิด Index การเข้าหน้าแอพพลิเคชั่นของเรามากขึ้น เพื่อให้การเป็น Top Download ง่ายจากการรีวิวโดยผู้ใช้งาน และการรีวิวด้วยคำวิจารณ์ในแง่ต่างๆ ก็จะช่วยให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นคือ กระบวนการ ปรับให้แอพพลิเคชั่นของเราสามารถค้นหาได้รวดเร็วโดยผู้ใช้งาน ซึ่งจะทำให้โอกาสในการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของเรานั้นสูงขึ้น และเกิดเป็นรายได้ในหลายๆ ทาง ทั้งจากโฆษณาที่เราติดตั้งไว้ และจากยอดการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นตามราคาที่เรากำหนด ในขั้นตอนต่อมาคือ การเลือกใช้เครื่องมือในการทำการตลาด และสร้างรายได้ผ่านแอพพลิเคชั่นของเรา ซึ่งเป็นวิธีการสำหรับแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นเอง หรือเป็นแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นในเชิงการค้า นั่นคือการทำโฆษณาเพื่อโปรโมตแอพพลิเคชั่น และการทำเงินจากโฆษณาครับ

aso-app-store-optimization

เมื่อมีแผนการ และกลุ่มเป้าหมายชัดเจนแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการเลือกเครื่องมือโปรโมตแอพพลิเคชั่นของเราให้มีคนดาวน์โหลดมากขึ้น เครื่องมือเหล่านี้ก็คงหนีไม่พ้น Ad-Networkเป็นอะไรที่ไม่ยากมาก พัฒนาแอพฯ 200,000บาท หางบโฆษณา 50,000 มาลงโฆษณาเพื่อให้เกิดรยได้จากโหลด หรือกดโฆษณาให้ได้ 300,000 บาทกำไรล้วนๆ แต่ต้องลองทำดู ซึ่งนั่นก็คือการวางแผน Ad-Network ดีๆ ตัวอย่างเช่น สิ่งที่ต้องคำนวณนั้นคือ ROI ที่เราจะต้องเลือกใช้จาก Ad-Network เหล่านี้

App-Store-Optimization-web

ในบทความต่อไป จะนำเสนอ Factors ของการวัดผลที่เกี่ยวข้องของ ASO กับการทำการตลาดผ่าน Inbound Marketing อย่าง CPC, CPV, CPI ครับ

บทความนี้มีการอ้าง ถึงและตีพิมพ์ผ่านนิตยสาร E-Commerce Magazine  ฉบับเดือน กรกฏาคม 2013

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน